ข้อมูลแรมโน๊ตบุ๊ค (Notebook RAM)

ก่อนการพูดถึงแรมที่เป็นของโน๊ตบุ๊ค? ผมขอนำข้อมูลทั่วๆไปเกี่ยวกับแรมโดยรวมนำเสนอก่อนนะครับ ถือเป็นข้อมูลของแรมทั่วๆไปram-note1

RAM ที่นำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นแบบ PC หรือ Notebook นั้นก็มีโครงสร้างและชนิดที่ไม่ต่างกันมากนัก? ในโครงสร้างหลักๆภายใน แล้วจะเหมือนกัน? แต่ลักษณะโครงสร้างภายนอกจะแตกต่างกัน แรมของโน๊ตบุ๊ค จะถูกเรียกว่าเป็น SODIMM

ประเภทRAM แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่

SRAM

เป็นแรมที่มีโครงสร้างภายในเป็นทรานซิสเตอร์ มีคุณสมบัติในเรื่องของความเร็วสูงมาก แต่ก็มีความร้อนสูงมากเช่นกัน? ราคานั้นแพงมากๆครับ??นิยมนำมาทำเป็น L1,L2 cache Memory ใน CPU เพื่อช่วยให้ CPU ประมวลผลได้เร็วมากกขึ้น

DRAM

DRAM เป็นแรมชนิดที่มีโครงสร้างภายในเป็นตัวเก็บประจุไฟฟ้า หรือถูกเรียกได้ว่า Capacitor ซึ่งจะมีการเก็บและคายประจุภายในตัว? จึงต้องมีการเติมประจุไฟให้เต็มอยู่เสมอ (refresh) ?มิฉะนั้นแล้ว จะทำให้ข้อมูลมีการสูญหายเกิดขึ้น?? ในช่วงเวลาที่มีการเติมประจุนั้นจะมีผลทำให้มีการหน่วยของเวลาเกิดขึ้น ก็เรียกได้ว่า เสียเวลาในการประจุเข้าไปใหม่ ทำให้แรมชนิดนี้มีความช้ากว่า SRAM อย่างมาก? นิยมนำมาทำเป็นแรมที่ใช้เก็บข้อมูลชั่วคราวที่อยู่บนเมนบอร์ดนั่นเองครับ

คราวนี้มาดูชนิดของ DRAM กันครับ

ชนิดของ DRAM ที่มีกันมาตั้งแต่อดีต พอที่จะนำมาแนะนำกันตรงนี้ ก็จะมีดังนี้ครับ

  1. FPM (Fast Page Mode)
  2. EDO RAM (Extended Data Out)
  3. SDRAM
  4. DDR SDRAM
  5. DDR2 SDRAM
  6. DDR3 SDRAM

ครับแต่นอนว่า แรมแต่ละชนิดที่ผมได้ระบุไว้ข้างต้นนั้น หลายๆท่านอาจไม่รู้จักกันเลย โดยเฉพาะน้องๆรุ่นใหม่ๆ? เอาเป็นว่า ผมจะขออธิบายเป็นแนวทางให้ทราบดังนี้ก็แล้วกันนะ

FPM (Fast Page Mode)

แรมรุ่นี้ที่นำออกมาใช้กันในคอมพิวเตอร์ยุคแรกๆ ประมาณ?80386 80486?มีลักษณะเป็นแรมชนิดแผงแล้วนะครับ เราเรียกว่า SIMM (Single inline Memory Module) หรือเรียกว่เป็นแรมหน้าเดียว มีขนาด 8 บิต หมายความว่า จะต้องใส่ร่วมกับ CPU 80386(32บิต)?,80486?(32บิต)รวม 4 แผง (บิตของ CPU หารด้วยบิตของ RAM) ครับ

EDO?(Extended Data Out)

แรมรุ่นนี้ถูกออกแบบมาใช้ในยุคสมัยของโปรเซสเซอร์ Intel Pentium ซึ่งรองรับความเร็วบัสที่ 66 MHz ขึ้น จัดได้ว่าเหมาะสมกับ Pentium ณ วันนั้น มีออกมาเป็น SIMM 72 Pin 32 Bit เวลาติดตั้งใช้งานจะต้องใส่สองแผง จึงจะทำให้เครื่องเปิดติด ทำงานได้นะครับ

SDRAM

แรมประเภทนี้ ถูกออกแบบมาเป็นชนิดแผง DIMM (Dual Inline Memory Module) หมายถึงเป็นแรมแบบสองหน้าครับ? คำว่าแรมสองหน้าหมายถึง ว่า แรมเหล่านี้จะมีขาจำนวนมาก เช่นขาของ SDRAM จะมี 168 ขา ดังนั้นขาที่ 1-168 นั้นไม่ได้อยู่ในหน้าเดียวกัน แต่จะถูกจัดขาเป็น 1-96 และกลับหน้าแรมไปอีกด้านจะนับต่อเป็น 97 – 168? นั่นเองครับ มิฉะนั้น แรมจะสภาพที่ตัวยาวเป็นสองเท่าของสภาพปรกติที่เราเห็นนั่นเองครับ มีความเร็วอยู่ที่ 66 ,100 และ 133 MHz? แรงดันไฟ 3.3 V.? ออกแบบใช้ร่วมกับ CPU Intel Pentium II,III,Celeron? ที่ใช้ร่วมกับฐานแบบ Slot 1 และ Socket 370

DDR SDRAM (Double Data Rate)

แรมรุ่นนี้ถูกออกแบบมาแทน SDRAM ที่ทำงานเพียงจังหวะขาขึ้นของสัญญาณนาฬิกาเท่านั้น ดังนั้น DDR ออกแบบเพื่อใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกันนั้นให้การทำงานของการอ่านเขียนข้อมูลในตัวแรมทำได้มากกว่าจังหวะขาขึ้น นั่นก็คือ ทำได้ทั้งขาขึ้น และขาลงของสัญญาณนาฬิกา ทำให้ได้ปริมาณข้อมูลมากกว่า SDRAM 1 เท่าตัว?? มีจำนวนขา 184 ขา แรงไฟที่ใช้ 2.5 โวลท์ มีบัสถูกเรียกเป็น DDR-200 ,DDR-266 ,DDR-333 Mhz ใช้ร่วมกับ CPU? Athlon ของ AMD Socket 462 เป็นต้นมา และ Intel Pentium 4 , Celeron ฯลฯ ได้จับมาใช้ในยุคของ Socket 478

3 comments

    • chaiang on August 16, 2009 at 4:31 am
    • Reply

    สุดยอดครับ ขอบคุณมากๆครับ

    • zybilian on September 7, 2009 at 7:01 pm
    • Reply

    สุดยอดครับ ขอบคุณมากๆครับ

    • adul on October 19, 2009 at 8:40 am
    • Reply

    thank you kub

Leave a Reply

Your email address will not be published.