ซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ควรอ่านวงจร (schematic) ให้เป็นนะครับ..

  • สวัสดีครับเพื่อนๆชาว repair-notebook.com ทุกท่าน ห่างเหินกันไปนานมากเลย ที่ทางผมไม่ค่อยได้มาเขียนบทความให้เพื่อนๆและผู้สนใจได้รับทราบกัน แต่ในวันนี้ผมได้มีบทความดีๆอีกเช่นเคยที่จะนำเสนอต่อเพื่อนสมาชิกทุกท่านให้รับทราบเป็นความรู้และแนวทางกัน ดังหัวเรื่อง “ซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ควรอ่านวงจร (schematic) ให้เป็นนะครับ”
  • มีเรื่องเปรียบเปยให้ฟังเล่นๆ อย่าซีเรียสกันนะครับ…”เขาบอกว่า ช่างที่อยู่ในแหล่งการซ่อมที่มีเครื่องเข้ามาจำนวนมากๆ เขาจะไม่ค่อยจะสนใจในเรื่องของการอ่าน หรือไล่ทางไฟ ทางสัญญาณกันในวงจรกันหรอกครับ เพราะเขาจะถือว่าไร้สาระ… มัวแต่มานั่งไล่ทางไฟ ก็วันหนึ่งคงได้ไม่ถึงสองเครื่องหรอก    ท่านเหล่านั้น เมื่อได้รับเครื่องเข้ามา  เขาก็จะดูจากอาการ แล้วก็ตีสรุปวัดดวงด้วยประสบการณ์ที่สะสมมาอย่างโชคโชนในชีวิตการซ่อม  …เช่น อาการไฟจ่ายปรกติ  แต่ภาพไม่ขึ้น  เขาก็ไม่สนใจจะไล่ดูว่าไฟมาครบหรือไม่ครบหรอก…เขาก็นำไปอบ Southbridge พออบแล้วไม่เกิด…เขาก็ถอดออกไป Reball ตะกั่วกันใหม่  …พอไม่เกิด …เขาก็เอาชิพตัวนั้นอกไปลองวางที่เครื่องอื่น(คือเขาอาจมีเครื่องต้นแบบเยอะ) แล้วปรากฏว่าวางเครื่องอื่นผ่าน  ก็ทำให้ท่านเหล่านั้น หันเหความสนใจ ไปมุ่งที่ชิพตัวอื่นแทน แล้วก็ทำแบบเดิมอีก…ไปเรื่อยๆ  พอไม่ผ่านจริงๆ แล้ว ก็บอกว่าซ่อมไม่ได้ ส่งคืนลูกค้า”
  • ซึ่งในความเป็นจริงของหลักการซ่อมแล้วนั้น  เมื่อเครื่องที่ได้รับซ่อมเข้ามา ลูกค้าจะแจ้งอาการเสีย ผู้ซ่อมก็จะต้องทำการเปิดทดลองดูว่าเป็นจริงตามแจ้งหรือไม่  และควรดูเรื่องการแตกหักเสียหาย ไหม้ ฯลฯ มีการวัดแรงไฟในจุดต่างๆ ของบอร์ด เพื่อดูความพร้อมของระบบไฟ จะได้ไม่ผิดพลาด
  • เรื่องก็จะมีอยู่ว่าช่างใหม่ช่างเก่าที่จะเป็นช่างซ่อมเมนบอร์ดที่ดีมีความเข้าใจในส่วนโครงสร้างการทำงานขเมนบอร์ดในภาคการทำงานต่างๆให้ดีด้วย อาจดีในระดับหนึ่ง หรือไม่ต้องมากก็ได้ แต่ต้องดูแล้วให้เข้าใจ ว่า สัญญาลักษณ์นั้นๆคือตัวอุปกรณ์ใด มีการต่อจากจุดไหน ไปจุดไหน ผ่านอะไรบ้าง  มีแรงไฟในแต่ละจุดกีโวลท์  มีสัญญาณ(signal) กีเฮิร์ท ในแต่ละจุดมันทำงานได้เลยไม๊ หรือว่าต้องมีคำสั่งจากที่ไหนมาสั่งให้มันทำงาน  และหรือว่าหลักการทำงานของมันนั้นจะเกิดขึ้นได้มันมีขั้น มีตอนอย่างไร ฯลฯ  และความสำคัญอีกหลายๆ เรื่องที่ผมอาจไม่ได้นำมาแจงตรงนี้  แต่ก็โดยสรุปแล้ว มันมีประโยชน์อย่างมากๆ ครับ

 

  • จากตัวอย่างวงจรของ ด้านบนนี้  เราจะเห็นถึง การนำสัญญาลักษณ์ของอุปกรณ์อิเล็คมาเชื่อมต่อกันให้เป็นขั้นตอนการทำงาน ตามคุณสมบัติ และหน้าที่ของอุปกรณ์นั้นๆครับ  เช่นตำแหน่ง J_RTC1 จะเป็นขั้วคอนเน็คเตอร์สำหรับเสียบถ่าน CMOS Backup เราจะเห็นว่ามีสองขั้ว ขั้วตำแหน่งที่ 1 เป็นไฟบวก ซึ่งจะมีไฟเลี้ยงอยู่ 3 โวลท์(ข้อมูลของ Litium CR2032) จ่ายกระแสผ่าน R528  และผ่าน ไดโอดตัวนึง ฯลฯ ประมาณ นั้น  และอย่างเช่น ขาที่สองของขั้วถ่าน จะถูกต่อลงกราวด์ ฯ อย่างนี้เป็นต้นครับ
  • เวลาที่เกิดอาการเสียเกิดขึ้น  เราไปมองในวงจร เราก็ต้องอึ้ง เพราะบางที ขาแต่ละขา มันไม่ได้ลากโยงกันให้เห็นบนเมนบอร์ด แต่มันจะดำดิ่งหายไป และโผ่ลด้านหลังบ้าง ….ไปโผล่กันไกลๆบ้าง ,,ทำให้เราไม่สามารถที่จะหาตัวเสียได้อย่างเร็ว  แต่พอได้มาไล่ทาง schematic กันดู เราก็จะร้องอ๋อ ได้ทันที เพราะเห็นว่า ตัวนั้น ตัวนั้น ต่อกันอย่างไร  ทั้งๆที่บนบอร์ดจริง ลายวงจรมันดิ่งหายไป  อย่างนี้เป็นต้นนะครับ…
  • สรุปก็คือ  การเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊คที่ดี และเก่ง นอกจากประสบการณ์ส่วนตัวของแต่ละท่านแล้ว  ก็ยังต้องอาศัยวงจร เป็นส่วนของการช่วยในการวิเคราะห์เส้นทาง และการทำงาน รวมถึงหาอุปกรณ์ที่เราอาจมองไม่เห็นได้จากตำแหน่งจริงได้  ดังนั้น ผมจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เพื่อนสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านคงให้ความสำคัญต่อการอ่านวงจรกันให้มากขึ้นนะครับ…เพราะว่ามันเป็นของคู่กันของช่างซ่อมอย่างเราๆครับผม…

คลิ๊กที่นี่ เพื่อ download schematic notebook all brand 1 GB.

 

อาการเสียของโน๊ตบุ๊คแบ่งออกเป็น 3 อาการใหญ่ๆ

  • วันนี้ผมได้เขียนบทความนี้ขึ้นมาในช่วงที่กรุงเทพฯกำลังเผชิญกับปัญหาอุทกภัยที่ค่อยๆลามเข้าสู่ใจกลางเมืองอยู่ตลอดเวลา  แต่เนื่องจากชีวิตต้องดำเนินต่อไป  เราจึงต้องนำเสนอความรู้ความเข้าใจในเรื่องของความรู้ด้านการซ่อมโน๊ตบุ๊คให้แก่เพื่อนสมาชิกทุกท่านได้ทราบกันต่อครับ
  • หัวเรื่องที่ผมเขียนขึ้นในวันนี้ “อาการเสียของโน๊ตบุ๊คแบ่งออกเป็นสองอาการใหญ่ๆ” หลายท่านอาจมองว่า อาการที่ได้พบเจอในแต่ละวันๆนั้น มีมากมายหลายเรื่องจุกจิกมากกว่า 3 อาการที่บอกด้วยซ้ำ

แต่สำหรับในความคิดเห็นที่ผมได้เขียนตรงนี้  ก็จะพอบอกได้ว่า ยังไงก็ยังอยู่ในสองอาการหลักๆ ครับ อาการที่ว่า ได้แก่

  1. ไฟไม่จ่ายเข้าเครื่อง กล่าวคือไม่ว่าจะใช้แบต หรืออะแดปเตอร์ก็จะไม่เห็นไฟสถานะใดๆเกิดขึ้นให้ปรากฏำ รวมไปถึงการที่จะกดปุ่มเปิดให้เครื่องทำงานตามปรกติ ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆให้ปรากฏเลยนะครับ “ในกรณีของช่างซ่อมก็จะใช้การวัดไฟในตำแหน่งต่างๆ บนเมนบอร์ด ก็จะไม่สามารถวัดได้เช่นกัน” อย่างนี้แหละครับที่ผมเรียกว่า ไฟไม่จ่ายครับ  จัดเป็นอาการในประเภทที่ 1 ครับ
  2. ไฟจ่ายเข้าเครื่องแต่กดปุ่มเปิดเครื่องแล้ว ไม่มีภาพปรากฏที่่จอภาพ นั่นก็หมายความว่า มีไฟเข้ามารอ หรือมีไฟสถานะที่เคยเห็นปรากฏแล้ว เมื่อกดปุ่มเปิดตามปรกติ  ก็มีการเปลี่ยนสถานะ  แต่ผลก็คือ  ไม่มีภาพปรากฏให้เห็นทั้งจอในเครื่อง และหรือต่อออกจอด้านนอก ก็ไม่มีภาพให้เห็นเลย “ในกรณีของช่างซ่อมก็จะทำการวัดไฟในตำแหน่งต่างๆ เพื่อดูไฟเลี้ยงที่ไปยังส่วนภาคต่างๆ ทั้งก่อนกด Power On , และหลังกด Power On ช่างก็จะทราบว่ามีปัญหาในเรื่องของระบบไฟในจุดไหนๆบ้างนะครับ” สำหรับกรณีอย่างนี้ผมก็จัดเขาเข้าไปอยู่ในประเภทที่สองนี่เอง
  3. ไฟจ่ายเข้าเครื่องแล้ว และสามารถกดปุ่ม Power On ได้ ไฟสถานทุกจุดทำงาน และที่สำคัญมีภาพปรากฏที่หน้าจอให้แล้วด้วย  แต่ปัญหาของอาการในประเภทที่สามนี้ก็คือ  ไม่สามารถเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ (วินโดว์) ได้นั่นเอง  ไม่ว่าด้วยอาการใด ๆ ที่มีภาพ แต่ไม่สามารถเข้าสู่หน้าจอของวินโดว์ได้ แบบคล่องตัวตามปรกติ  ผมขอจัดให้อาการเหล่านั้นอยู่ในประเภทที่ 3 นี้ครับ  “ซึ่งในส่วนของช่างซ่อม ก็อาจจะทำการทดลองโดยการสลับเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ดูก่อน หรืออาจให้มีการบูตจากแผ่น Hirent  ,Mini XP หรือสื่ออื่นที่บูตระบบได้ เพื่อทดสอบการทำงาน และหาข้อสรุปของปัญหาที่เกิดอาการนั้นๆ ครับ

Continue reading

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการดูแล หากโน๊ตบุ๊คของเพื่อนสมาชิกท่านใดตกน้ำ หรือน้ำเข้า

  • ในสถานะการณ์ปัจจุบันนี้ เราจะอยู่กับน้ำตลอด เพื่อนๆหลายท่านได้อพยศ เคลื่อนย้ายตัวเอง สิ่งของต่างๆ เพื่อไปยังที่ปลอดภัย และมีความสะดวกสบายกว่า อาจพบกับปัญหาข้าวของที่ขนย้ายหล่นน้ำ หรือน้ำกระเด็นจากคลื่นของน้ำที่พัดเข้ามากระทบพาหนะที่เราใช้ในการเคลื่อนย้ายสิ่งของ และสมมุติว่าหนึ่งในนั้นคือ โน๊ตบุ๊คตัวเก่งของเรา แบบว่าโดนน้ำเข้าไปเต็มๆ…ทีมงาน Repair-Notebook ขอให้คำแนะนำดังนี้นะครับ

ข้อปฏิบัติแรกเลย

  • ให้ถอดแบตเตอรี่แพ็คของโน๊ตบุ๊คออกทันที
  • ห้ามเสียบปลั๊กไฟเพื่อทำการทดสอบว่าเครื่องยังทำงานได้อยู่หรือไม่
  • ให้หาไขควงสี่แฉกเล็ก เพื่อไขเอา ฮาร์ดดิสก์ของโน๊ตบุ๊คออกก่อน (อาจไม่ยากเกินไปนะครับ)
  • กรณีที่โน๊ตบุ๊คโดนน้ำเข้า ไม่ว่าจะมากน้อยขนาดใด  หากเราเห็นตำแหน่งที่น้กเข้าโดยตรง ก็ให้เราดูแลในส่วนนั้นได้เลย เช่น แค่ฝากแด้านขนของตัวเครื่อง กรณีนี้ ก็ให้ทำการเช็ดทำความสะอาดตามปรกติได้เลยครับ
  • กรณีน้ำกระเด็นเข้าเยอะหน่อยแบบว่า โดนเข้าตัวเครื่องเต็มๆ และเมื่อยกฝาเจอของโน๊ตบุ๊ค เหมือนใช้งานตามปรกติแล้วพบว่ามีคราบน้ำที่ตำแหน่งของ หน้ากากจอ (ซึมเข้าด้านกรอบด้านข้างของจอ)  ก็ให้ทำการซับในส่วนที่มีน้ำให้แห้งที่สุด เท่าที่มองเห็นได้ และให้ลองจับจอ หมุนซ้าย หมุนขวา คว่าหน้า เอียงข้าง…ยังไงก็ได้ เพื่อจะได้สังเกตุว่ายังพอจะมีน้ำอยู่ในฝาจออีกหรือไม่นะครับ หากมีก็ใช้วิธีการซับน้ำเหล่านั้นให้แห้งตามวิธีเดิมครับ  และหากมีไดร์เป่าผม ก็ให้ทำการเป่าให้ความร้อนอ่อนๆ ลมแรงๆ แล้วเป่าให้ลมความร้อนเข้าในซอกของขอบจอ  อย่าให้ความร้อนของไดร์เป่าผมอยู่ในตำแหน่งเดียวเป็นเวลานานๆนะครับ  พยายามที่จะเลื่อนไปเลื่อนมา เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้จากความร้อนครับ
  • กรณีน้ำเข้าในส่วนคีย์บอร์ดก็ให้ใช้วิธีการ คว่ำหน้าของคีย์บอร์ดลงพื้น เพื่อให้น้ำออกให้มากที่สุด  จากนั้นใช้ไดร์เป่าผม ทำการเป่าไล่ความชื้น หรือหยุดน้ำที่อาจมีตกค้าง ก็จะช่วยบรรเทาได้ระดับหนึ่งครับ
  • กรณีน้ำเข้าสู่ตัวเครื่องด้านใด  ก็ให้ทำการคว่ำตัวโน๊ตบุ๊คเพื่อให้ทางน้ำออกจากตัวเครื่องได้มากที่สุด แล้วค่อยยกไปให้ช่างทันที ห้ามทำการเปิดเครื่องโดยเด็ดขาดครับ

สรุปก็คือ  หากเป็นกรณีน้ำเลอะ เปอะเปื้อนเล็กๆน้อยๆ ก็จัดการไปตามที่เห็นให้เรียบร้อยครับ

  • แต่ถ้ากรณีน้ำเข้ามากๆ ทีมงานคิดว่า ส่งไปให้ร้าน ให้ช่างเขาช่วยดูแลเลย  ก็จะช่วยทำให้โน๊ตบุ๊คของเพื่อนสมาชิกที่ไม่ใช่ช่างๆ อย่างเรา ยังคงมีชีวิตชีวา สามารถใช้งานได้ต่อๆไปนะครับ

อาการช้อตที่เกิดได้บ่อยครั้งใน Mainboard Notebook

เพื่อนๆสมาชิกทุกท่าน วันนี้ผมได้อัพเดรทบทความหนึ่งบทความครับ  เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในงานซ่อมรายวัน  แต่เผอิญว่าในส่วนที่ผมซ่อมอยู่นั้นอะไหล่มันเยอะนะครับ  ดังนั้น  บางครั้งผมอยากจะเผามันเล่น อยากจะถอดโน่น ถอดนี่ หรือทำให้มันช้อต มันไหม้ ก็ไม่ถือว่าซีเรียสครับ  ดังนั้นพอนึกขึ้นได้ก็เลยเก็บ clips ที่อาจจะหาดูได้ยากมาฝากเพื่อนๆ ถึงในช่วงนี้อาจจะไม่มีบทความเด่นๆ มากนัก  ก็อย่าเพิ่งว่ากันนะครับ  เอาหละ ดู clips กันเลยครับ

 

PCB-50 + SOIC-8Adaptor(209mm) สำหรับงานซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค

  • สวัดีครับเพื่อนๆชาว Repair-Notebook วันนี้ขออนุญาต แนะนำสินค้าหน่อยนะ. ปรกติเราจะซื้อ PCB-50 เครื่องโปรแกรมรอมกันไปใช้กันครับ แต่ผมอยากจะแนะนำว่า ในวันนี้สำหรับช่างซ่อมโน๊ตบุ๊ค  เวลาเราจะโปรแกรมรอม  ตัวรอมที่เราเจอในโน๊ตบุ๊คส่วนใหญ่จะเป็น SPI Flash และมีตัวถังเป็นแบบ SOIC-8 ขนาด 209 mm ครับ  ดังนั้น หลายคนที่ใช้เครื่องโปรแกรมรุ่นนี้ เวลาจะ Flash BIOS Notebok ก็จะทำให้เกิดความไม่ค่อยคล่องตัวในการ Flash

Atten APS3005 โครงสร้างภายในของเขาใช้ได้นะ


 

Rated Output      Voltage 0-30V ( Adjustable  )
Rated Output    Current
APS3005S-3D: 0-5 A            (Dual Channel and Adjustable)
AC Input Voltage AC110V/220V,             60Hz/50Hz
Display Precision ±0.5%rdg + 2digit
Ripple and Noise ≤1mVrms
Load Stability ≤0.01% + 3mV
Display Resolution Voltage 0.1V, Current 0.01A
AuxiliaryPower Voltage 5V
AuxiliaryPower    Current 3A
Protection Method Current-Limited                                          Lower Voltage Protection, Short-Circuit                                          Protection, Over-Temperature Protection
Working Method Constant Current                                          and Constant Voltage
Working Method     Cooling Mode Strong wind        cooling   Synchronouserror      :      <0.5%     + 10mV (dual channels)
Series Parallel      Working Method series adjustable   rate:     <300mVRipple and Noise:        <2mVrms       5Hz -1MHz

 

BIOS ตัวถังแบบ ต่างๆ ตอนที่สอง

  • BIOS ตัวถังชนิดนี้เราเรียกกันว่า TSOP ซึ่งมีใช้ในโน๊ตบุ๊คควบคู่กันกับ ROM ตัวถังแบบ PLCC 32 ซึ่ง ณ วันนี้เราจะถือว่าเป็นเรา BIOS แบบเก่าไปแล้วนะครับ  เพราะในปัจจุบัน เขาจะนิยมใช้ ROM ชนิด SPI Flash  ซึ่งมีตัวถังเป็นแบบ SO-IC 8  (8ขา)
  • Advanced Eprom Programmer & Adapters Low Cost

BIOS ROM ตัวถัง TSOP ที่มีขา 48 ขา ตอนนี้เลิกใช้แล้วนะครับ

BIOS ROM ตัวถัง SOIC-8 ที่มีขา 8 ขา ใช้กันในปัจจุบัน


 

 

รูปแบบขั้วไฟจากอะแดปเตอร์ ของ HP DV9700

รูปแบบขั้วไฟจากอะแดปเตอร์ของ Notebook HP NC-6400


รูปแบบขั้วไฟจากอะแดปเตอร์ ของ Notebook HP DV2000,DV3000