RAM ที่นำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นแบบ PC หรือ Notebook นั้นก็มีโครงสร้างและชนิดที่ไม่ต่างกันมากนัก? ในโครงสร้างหลักๆภายใน แล้วจะเหมือนกัน? แต่ลักษณะโครงสร้างภายนอกจะแตกต่างกัน แรมของโน๊ตบุ๊ค จะถูกเรียกว่าเป็น SODIMM
เป็นแรมที่มีโครงสร้างภายในเป็นทรานซิสเตอร์ มีคุณสมบัติในเรื่องของความเร็วสูงมาก แต่ก็มีความร้อนสูงมากเช่นกัน? ราคานั้นแพงมากๆครับ??นิยมนำมาทำเป็น L1,L2 cache Memory ใน CPU เพื่อช่วยให้ CPU ประมวลผลได้เร็วมากกขึ้น
DRAM เป็นแรมชนิดที่มีโครงสร้างภายในเป็นตัวเก็บประจุไฟฟ้า หรือถูกเรียกได้ว่า Capacitor ซึ่งจะมีการเก็บและคายประจุภายในตัว? จึงต้องมีการเติมประจุไฟให้เต็มอยู่เสมอ (refresh) ?มิฉะนั้นแล้ว จะทำให้ข้อมูลมีการสูญหายเกิดขึ้น?? ในช่วงเวลาที่มีการเติมประจุนั้นจะมีผลทำให้มีการหน่วยของเวลาเกิดขึ้น ก็เรียกได้ว่า เสียเวลาในการประจุเข้าไปใหม่ ทำให้แรมชนิดนี้มีความช้ากว่า SRAM อย่างมาก? นิยมนำมาทำเป็นแรมที่ใช้เก็บข้อมูลชั่วคราวที่อยู่บนเมนบอร์ดนั่นเองครับ
ชนิดของ DRAM ที่มีกันมาตั้งแต่อดีต พอที่จะนำมาแนะนำกันตรงนี้ ก็จะมีดังนี้ครับ
ครับแต่นอนว่า แรมแต่ละชนิดที่ผมได้ระบุไว้ข้างต้นนั้น หลายๆท่านอาจไม่รู้จักกันเลย โดยเฉพาะน้องๆรุ่นใหม่ๆ? เอาเป็นว่า ผมจะขออธิบายเป็นแนวทางให้ทราบดังนี้ก็แล้วกันนะ
แรมรุ่นี้ที่นำออกมาใช้กันในคอมพิวเตอร์ยุคแรกๆ ประมาณ?80386 80486?มีลักษณะเป็นแรมชนิดแผงแล้วนะครับ เราเรียกว่า SIMM (Single inline Memory Module) หรือเรียกว่เป็นแรมหน้าเดียว มีขนาด 8 บิต หมายความว่า จะต้องใส่ร่วมกับ CPU 80386(32บิต)?,80486?(32บิต)รวม 4 แผง (บิตของ CPU หารด้วยบิตของ RAM) ครับ
แรมรุ่นนี้ถูกออกแบบมาใช้ในยุคสมัยของโปรเซสเซอร์ Intel Pentium ซึ่งรองรับความเร็วบัสที่ 66 MHz ขึ้น จัดได้ว่าเหมาะสมกับ Pentium ณ วันนั้น มีออกมาเป็น SIMM 72 Pin 32 Bit เวลาติดตั้งใช้งานจะต้องใส่สองแผง จึงจะทำให้เครื่องเปิดติด ทำงานได้นะครับ
แรมประเภทนี้ ถูกออกแบบมาเป็นชนิดแผง DIMM (Dual Inline Memory Module) หมายถึงเป็นแรมแบบสองหน้าครับ? คำว่าแรมสองหน้าหมายถึง ว่า แรมเหล่านี้จะมีขาจำนวนมาก เช่นขาของ SDRAM จะมี 168 ขา ดังนั้นขาที่ 1-168 นั้นไม่ได้อยู่ในหน้าเดียวกัน แต่จะถูกจัดขาเป็น 1-96 และกลับหน้าแรมไปอีกด้านจะนับต่อเป็น 97 – 168? นั่นเองครับ มิฉะนั้น แรมจะสภาพที่ตัวยาวเป็นสองเท่าของสภาพปรกติที่เราเห็นนั่นเองครับ มีความเร็วอยู่ที่ 66 ,100 และ 133 MHz? แรงดันไฟ 3.3 V.? ออกแบบใช้ร่วมกับ CPU Intel Pentium II,III,Celeron? ที่ใช้ร่วมกับฐานแบบ Slot 1 และ Socket 370
แรมรุ่นนี้ถูกออกแบบมาแทน SDRAM ที่ทำงานเพียงจังหวะขาขึ้นของสัญญาณนาฬิกาเท่านั้น ดังนั้น DDR ออกแบบเพื่อใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกันนั้นให้การทำงานของการอ่านเขียนข้อมูลในตัวแรมทำได้มากกว่าจังหวะขาขึ้น นั่นก็คือ ทำได้ทั้งขาขึ้น และขาลงของสัญญาณนาฬิกา ทำให้ได้ปริมาณข้อมูลมากกว่า SDRAM 1 เท่าตัว?? มีจำนวนขา 184 ขา แรงไฟที่ใช้ 2.5 โวลท์ มีบัสถูกเรียกเป็น DDR-200 ,DDR-266 ,DDR-333 Mhz ใช้ร่วมกับ CPU? Athlon ของ AMD Socket 462 เป็นต้นมา และ Intel Pentium 4 , Celeron ฯลฯ ได้จับมาใช้ในยุคของ Socket 478
เบอร์ของ SPI Flash ROM ที่มีใช้ๆกัน ในทุกๆ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็คทรอนิคส์ รวมถึงโน๊ตบุ๊ค tablet ,Desktop PC , Mobile SPI…
สวัสดีครับเพื่อนสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่านครับ เคยตั้งคำถามกันใช่ไม๊ครับว่า "ทำไมเครื่องโน๊ตบุ๊คของเราเวลาที่ถูกใช้ไปนานๆ หรือเวลาที่เล่นเกมส์ที่ใช้กราฟฟิคสูงๆ บางทีเครื่องก็ดับไปเองเลย..." สาเหตุหลักๆเลยครับ... คือเรื่องของการระบายความร้อนของเครื่องโน๊ตบุ๊คของเรา ดังที่ผมได้เคยเขียนบทความเกี่ยวกับ โน๊ตบุ๊คเปิดแล้วดับเอง ตอนที่ 1 (ปัญหาจากความร้อน) สำหรับในตอนที่…
สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่า วันนี้ผมได้ update ความรู้ในเรื่องของการใช้เครื่องมือสักเรื่องนะครับ อุปกรณ์ชิ้นนี้คือ Regulator Atten APS3005S ในฐานะที่เราเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊ค เมื่อเราต้องการจะจ่ายกระแสไฟเข้าสู่เมนบอร์ดของโน๊ตบุ๊คเพื่อทดสอบการทำงาน แต่ปรากฏว่าเมื่อทำการเสียบสายของ อะแดปเตอร์เข้าไปแล้ว…
สวัสดีครับเพื่อนๆชาว repair-notebook.com ทุกท่าน เช้าวันเสาร์ที่ 12/05/2555 ผมได้นำความรู้มาแนะนำกันอย่างเช่นเคยครับ บทความในวันนี้เป็นเรื่องของ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์เล็กตัวหนึ่งที่อยู่บนบอร์ดของโน๊ตบุ๊ค ซึ่งเพื่อนสมาชิกช่างใหม่ ช่างเก่า หรือท่านผู้สนใจทุกท่านอาจจะไม่ได้ให้ความสนใจกับเจ้าตัวนี้กันซะเท่าไหร่ แต่วันนี้ต้องขอนำมากล่าวตรงนี้เพราะว่า อาการที่เกิดขึ้นกับโน๊ตบุ๊คของเพื่อนๆนั้นก็คือ "USB…
เราทราบกันดีอยู่แล้วครับว่า ระบบปฏิทินวันที่ และค่าความจำพื้นฐานที่เราได้ทำการตั้งค่าใน BIOS นั้น จะถูกเก็บไว้ในส่วนของหน่วยความจำของชิพ ซึ่งมี CMOS Battery จ่ายกระแสเลี้ยงตลอดเวลา ซึ่งรวมถึงในขณะที่เครื่องไม่ได้ถูกใช้งานด้วย ซึ่งจะทำให้ระบบความจำ หรือการโปรแกรมตารางนัดหมาย การจัดการในระบบ เพื่อให้เป็นไปตามช่วงเวลาในแต่ละช่วงๆ…
สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่าน วันนี้นั่งทำงานซ่อมอยู่ก็เลยนึกจะเขียนบทความขึ้นมาให้เป็นความรู้แก่ทุกท่านสักบทความนึง...ตามองไปเห็นบอร์ด DV2000 ซึ่งคิดอยู่ว่าเดี๋ยวจะนำขึ้นมาทดสอบการทำงาน เปิดเครื่องดูว่ายัง"เปิดติดมีภาพอยู่หรือเปล่า" ก็สังเกตุเห็นว่าถ่าน Cmos ของบอร์ดหายไป ก็คิดจะหยิบถ่าน CMOS ก้อนอื่นมาใส่ ก็ต้องหยุดคิดอยู่นิดนึงว่า"แล้วทำไมขั้วของ DV2000…
View Comments
สุดยอดครับ ขอบคุณมากๆครับ
สุดยอดครับ ขอบคุณมากๆครับ
thank you kub