วิธีการถอดเปลี่ยนซี (ตอนที่ 2)

  • สวัสดีครับเพื่อนๆ เป็นยังไงบ้างครับ สำหรับการสังเกตุกรณีซีบวมในบทความ วิธีการถอดเปลี่ยนซีี(คอนเด็นเซอร์) ตอนที่ 1 ที่ผมได้นำเสนอไปแล้ว? ทำให้เพื่อนๆได้รับรู้ว่ากรณีที่ซีบวมเป็นยังไง? และมีผลอย่างไรกับการทำงานของระบบคอมพิวเตอรืบ้างนะครับ?? สำหรับในบทความงวดนี้? ผมก็จะแนะนำวิธีการที่เราจะทำการถอดเปลี่ยนตัวซี หรือคอนเดนเซอร์ที่อยู่บนเมนบอร์ดกันนะครับ? เพื่อที่เพื่อนๆจะได้รับความรู้? และสามารถนำไปปฏิบัติเองได้นะครับ

รู้ว่าซีบวม และรู้ว่าจะถอดอย่างไร? แต่ไม่รู้จะหาซีได้ที่ไหน?

  • ครับเพื่อนๆ? แน่นอนครับ? เมือช่วงยุคเริ่มต้นที่มีการซ่อมในลายวงจร หรือบนฮาร์ดแวร์กันใหม่ๆ? ก็จะหาซีในสเป็คที่ต้องการบนเมนบอร์ดกันยากครับ? เพราะว่าเป็นซีค่าความจุสูง แต่ โวลท์ต่ำ? นั่นหมายความว่า การหาซื้อนั้นจะได้แต่ซีตัวใหญ่ๆ โดยเพื่อนๆไปหาซื้อที่บ้านหม้อนะครับ? โดยที่ร้าน ณัฐพงษ์ และอมร? ณ วันนี้มี ซีเหล่านี้ไว้บริการแล้วครับ? ไม่ต้องไปกลัวว่าจะหาไม่ได้? เป็นซีมือหนึ่งครับ 105 องศา? มีหลักสังเกตุนะครับว่า? เวลาเราไปเลือกซื้อนั้นขอให้เพื่อนๆ นำซีเดิมไปด้วย เพื่ออาจเทียบขนาด อย่าให้ใหญ่กว่าเดิมมากนัก เพราะเวลาใส่ลงจะเบียดกันไม่ได้ หรือระดับความสูงอาจไปชนกับซิ้งค์ของ CPU ในบริเวณนั้น บางรุ่นจะเป็นปัญหานะครับ? หาความจุที่เท่าเดิมจะดีที่สุด? ส่วนโวลท์นั้นให้สูงกว่าได้ เช่น ตัวเดิมใช้ 6.3 โวลท์ แต่ที่ร้านไม่มีก็ให้ใช้ 10 หรือ 16 โวลท์แทนก็ได้เลยครับ? ขออย่างเดียว ให้มีขนาดไม่ใหญ่กว่าเดิมมากเกินไป? ตอนนี้ผมไม่กลัวแล้ว เพราะผมจะไปซื้อที่ร้านเหล่านี้ ในราคาตัวละ 4 บาท เท่านั้นเอง? แต่ผมสามารถทำเงินได้ครั้งละ 500 – 700 บาท แล้วแต่ลูกค้าครับ

เจอซีบวม 2 ตัว ก็ควรต้องเปลี่ยนรวมทั้งหมด ให้กับตัวที่มีความจุเดียวกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะประมาณ 8 – 10 ตัว

remove-c-2


remove-c



แล้ววิธีการถอดหละทำยังไง

  • แน่นอนครับ…ผมเคยให้นักเรียนทำการถอดซีก่อนที่จะสอนเขา? เขาก็พยายามที่จะถอดซีให้ออก? แต่เขาก็ไม่รู้วิธีการ? เพราะตะกั่วที่อยู่บนเมนบอร์ดนั้นจะมีสภาพที่แข็งและต้องใช้ความร้อนสูงมากๆ ครับ จึงจะถอดได้? การใช้ลมร้อนก็ต้องมีการควบคุมระดับความร้อนและอุณภูมิให้เป็น? มิฉะนั้นก็ไม่ออกเช่นกัน?? สำหรับผมแล้ว การถอดซี 10 ตัวใช้เวลา ไม่ถึง 1 นาที? และใส่เข้าไป รวม 10 ตัว? รวมถึงการตรวจสอบและเปิดเครื่องใช้เวลารวมประมาณ 20 นาทีครับ ซึ่งตรงนี้ ก็ไม่ได้บอกว่าเร็วไม๊? แต่ก็ทำมาอย่างนี้ตลอดครัรบ

หัวแร้งและตะกั่วที่ใช้

  • ควรใช้หัวแร้งที่เป็นแท่งเซนามิค เช่น Hakko แบบปืน หรือ แบบปากกา ก็ได้? หัวแบบมาตรฐานก็ได้ครับ ไม่ต้องใช้หัวเล็กจิ๋ว

harko

เริ่มขั้นตอนการถอดซีกันเลยครับ

  • ครับสำหรับ เพื่อนคนไหนที่กำลังเปิดบทความนี้อ่านพอดี แล้วไม่มีรูปภาพประกอบ? ผมต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ก่อนครับ เพราะ รูปอยู่ในกล้อง sony ตอนที่ผมเขียนบทความนี้ไม่มีเครื่องอ่าน เมมฯครับ เอาไว้จะใส่ให้ดูนะครับไม่เกิน จากนี้ 1 วัน ครับ จะมีรูปให้ดูตรับ

remove-c-3

remove-c1

  • จากรุปที่ 1 ขั้นตอนเริ่มต้นนั้น? ให้เพื่อนๆใช้หัวแร้งที่ทำการกดเร่งความร้อนให้สูงๆ พอประมาณ แล้ว นำตะกั่วไปบัดกรีเพิ่มให้ยังตำแหน่งขาของ ซี ที่จะถอดทุกขาทุกตัวให้ทั่วครับ? เพื่อเป็นการให้เป็นตะกั่วใหม่เข้าไปผสมกับตะกั่วเก่า จะทำให้จุดเดือดต่ำกว่าเดิมครับ? ซึ่งเราจะถอดออกได้ง่ายๆ
  • จากรูปที่ 2 ใช้หัวแร้งที่ความร้อนสูงพอแล้ว จี้ไปที่ขาของซี? ขาใดขาหนึ่งก่อนครับ
  • จากรูปที่ 3 ในขณะที่หัวแร้งจี้ที่ขาซีในด้านหนึ่งของเมนบอร์ดนั้น? อีกด้านหนึ่งก็ให้เพื่อนๆนำนิ้วมือไปจับที่ตัวซี หรือคอนเด็นเซอร์ที่จะถอด ทำการโยกเอียงให้คอนเด็นเซอร์เอียงไปทางด้านตรงข้ามกับขาที่ถอด? ซีก็จะเอียงเหมือนในรูปครับ? และให้ทำการใช้หัวแร้งจี้สลับไปยังอีกขาที่เหลือ? แล้วก็โยกเอียงซี? สลับไปมา
  • ให้ทำการดึงซี ออก? ถ้ายังไม่ได้? ก็ให้ทการแซ่ปลายหัวแร้งไปที่ขาของซีสลับไปมา พร้อมกับดึงซีให้หลุด
  • ครับแค่นี้ก็จะสามารถถอซีออกจากบอร์ดได้แล้วครับ ใช้เวลาจริงๆ ไม่เกิน 15 วินาที ด้วยซ้ำต่อหนึ่งตัว? ครั้งต่อไป ผมจะนำทิปวิธีการดูดตะกั่วออก รูที่ใส่ซี นะครับ ว่าจะทำยังไง ให้ง่ายที่สุด

1 comments

    • dreamshop on July 4, 2009 at 7:48 pm
    • Reply

    ขอบคุณทริปดีๆๆที่ไม่มีที่ใดเปิดเผยมาก่อน

Leave a Reply

Your email address will not be published.