• สวัสดีครับเพื่อนๆ สำหรับในวันนี้ ผมได้นำเรื่องของระบบปฏิบัติการวินโดว์เอ็กซ์พี มาคั่นรายการสักหนึ่งเรื่องก่อนนะครับ? เนื่องจากว่ามีเพื่อนๆ หลายท่านได้สอบถามกันเข้ามา? จริงแล้วเรื่องของวินโดว์เอ็กซ์พี ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการนั้น ก็เป็นปัญหาจุกจิกสำหรับคนใช้คอมพิวเตอร์ทั้ง PC , Notebook กันมาพอควรแล้วครับ?? เนื่องจากมีการนำเทคโนโลยีของ Serial ATA (S-ATA) มาใช้ เพื่อให้ ฮาร์ดดิสก์มีความสามารถในการทำงาน ส่งผ่านข้อมูลได้มากขึ้น (Data Transfer rate 150 – 300 MB/Sec)
  • นั่นแหละครับคือปัญหา? เพราะว่า ส่วนใหญ่แล้ว ชิพเซ็ทคอนโทรล ของ S-ATA ที่ออกมาใหม่ ๆกันนั้น เขาได้เตรียมสิ่งที่เรียกว่า ไดร์วเวอร์( driver ) ไว้ให้ในแผ่นซีดีของเมนบอร์ดที่เราซื่อมาแล้ว? แต่ผู้ใช้จะไม่เข้าใจในเรื่องนี้มากนัก? ก็ทำการติดตั้งวินโดว์ XP เข้าสู่ฮาร์ดดิสก์ในทันทีที่ต้องการจะติดตั้งเลย?? แล้วปัญหาก็เกิดขึุ้น? นั่นก็คือ การที่วินโดว์ไม่สามารถมองเห็นฮาร์ดดิสก์ในขั้นตอนการติดตั้ง (หน้าจอสีน้ำเงิน) ได้? แล้วจะให้ทำการกดปุ่ม F3 เพื่อยุติการติดตั้ง? หรือบางคอมพิวเตอร์ที่เป็นรุ่นใหม่ๆ ทั้ง พีซี ทั้งโน๊ตบุ๊ค? ก็เกิดเป็นหน้าจอสีน้ำเงิน แล้วมีตัวหนังสือเยอะแยะเต็มหน้าจอ ที่เขาเรียกอาการว่า Blue Screen

แล้วจะทำยังไงเพื่อให้การติดตั้งสามารถผ่านได้

  • การจะแก้ไขในปัญหาของการติดตั้งวินโดว์XP สำหรับ เครื่องพีซี หรือโน๊ตบุ๊คนั้น มีหลักวิธีการเดียวกันคือ? จะต้องหาไดร์วเวอร์ของชิฟ S-ATA มาทำการอ้างอิงในขั้นตอนการติดตั้งวินโดว์นั้นๆ ครับ? โดยขั้นตอนต่างๆ นั้นผมจะนำมาแนะนำให้ทราบเป็นรูปภาพอีกครั้งหนึ่งนะครับ? ครั้งนี้ขอเป็นคำพูดก่อนนะครับ

การตรวจความพร้อมของฮาร์ดดิสก์ในไบออส ( HardDisk Detect)

  • ให้เพื่อนๆเข้าไปที่หน้าจอของไบออส แล้วหาหัวข้อของ Boot จะเห็นรายการของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งแสดงเป็นรุ่นอยู่ตามรูปนะครับ


รูปด้านบนนี้แสดงรายละเอียดที่สมบูรณ์ของการ Detect? HardDisk และ Optical Drive ซึ่งจะถูกมองเป็นรุ่นของอุปกรณ์นั้นๆ

รูปด้านบนนี้ แสดงให้ว่าการ Detect HardDisk ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะมองไม่เห็นรุ่นของฮาร์ดดิสก์ แต่กลับมองเป็นคำว่า Hard Drive ซึ่งเพื่อนๆต้องทำการปิดเครื่อง และตรวจสอบในเรื่องของขั้วไฟที่จ่ายให้ฮาร์ดดิสก์? รวมถึงสายสัญญาณที่ต่อระหว่างชุดควบคุมกับตัวฮาร์ดดิสก์ด้วยนะครับ? อาจหลุดหลวม หรือเสีย อยู่นะครับ

กรณีที่ติดตั้งวินโดว์ XP ไม่ผ่าน อาจมีสาเหตุมาจาก? Raid Mode

  • กรณีนี้นะครับ? เราจะสังเกตุได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้ง พีซี หรือ โน๊ตบุ๊ค ที่เป็นรุ่นใหม่ๆ ทั้งหมด? จะมีปัญหาในการติดตั้งวินโดว์ XP แทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อ Compaq ,HP , SVOA ,Toshiba และอื่นๆอีกหลายๆ ยี่ห้อ??? การเกิดปัญหานี้ หลายๆ ค่ายผู้ผลิต? ได้ทำการเตรียมวิธีการให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เอง? โดยเข้าไปที่ B IOS แล้ว หาหัวข้อที่เกี่ยวกับ? IDE Configuration หรือ บาง ฺBIOS อาจอยู่ในหัวข้อ On Chip S-ATA? หรือใบบางเครื่อง ก็จะมีความแตกต่างกันไปนะครับ? ซึ่งเพื่อน ๆ ต้องใช้ทักษะส่วนตัวผสมเข้าไปด้วยหละ
  • เมื่อเข้าไปในหน้าจอ Configuration ของชุดควบคุมแล้ว? ก็ให้หาหัวข้อที่เกี่ยวกับ Raid Mode? ซึ่งจะมีรายการเลือกเป็น Native Mode , หรือ บางเครื่อง จะเป็น IDE Mode? ก็ให้เลือกเป็น Native Mode หรือ IDE Mode นะครับ แล้วทำการติดตั้งใหม่อีกครั้ง
  • หรือ Notebook บางยี่ห้อ จะมีหัวข้อให้เลือกเป็น? Windows Vistra , กับ Windows XP เลยก็มี? ก็ให้เพื่อนๆ เลือกเป็น Windows XP นะครับ (หากต้องการติดตั้ง? Windows XP)

ทราบไม๊ครับว่า? ระหว่างการเลือกโหมดที่เป็น Raid กับ Mode อื่นๆ ตามที่ผมได้ว่าไปแล้วนั้นมีความแตกต่างยังไงบ้าง ?

  • ตอบกันตรง ๆ ก็คือในเรื่องของอัตราการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างชุดควบคุมกับตัวฮาร์ดดิสก์ไงครับ?? เพื่อนๆ อย่าลืมนะครับว่า ฮาร์ดดิสก์แบบ S-ATA นั้นมีอัตราถ่ายโอนข้อมูลอยู่ถึง 300 MB/Sec เลยทีเดียว? แต่ในขณะที่เราไม่สามารถหาไดร์วเวอร์ Raid Control ของชุดควบคุมแบบ S-ATA นั้นได้? และเราตั้งค่าเลือกเป็น Native Mode หรืออาจเป็น IDE Mode? หรือ อาจเป็น XP Mode นั่นก็หมายถึงว่า เราจะสูญเสียความเร็วในการรับส่งข้อมูลระหว่างชุดควบคุมกับฮาร์ดดิสก์ ไป พอควรเลยทีเดียวนะครับ (IDE ส่งข้อมูลในอัตรา 66 – 133? MB,/Sec, แต่ S-ATA ส่งในอัตรา 150 – 300 MB/Sec)? ตรงนี้ก็อยู่ที่ดุลพินิจของเพื่อนๆก็แล้วกันนะครับ


  • เอายังไงได้หละครับ? เมื่อเหตุการณ์เฉพาะหน้านั้น? เราไม่สามารถจะจบงานได้? เลยต้องใช้ทักษะส่วนตัว โดยเข้าไปปรับแต่งใน BIOS เพื่อให้การติดตั้ง XP สำเร็จได้?? จริงๆ แล้วเราแทบไม่ทราบเลยว่า ความเร็วที่เราทราบตามทฤฎษฎีนั้น มันได้ตามนั้นหรือเปล่า? ในขณะที่เราก็ยังคงใช้เครื่องทำงานตามปรกติ เหมือนไม่มีความอืดช้าเกิดขึ้นเลย? (ถ้าเราไม่รู้ทฤษฎีอุปกรณ์)

  • เป็นยังไงบ้างครับ? สำหรับบทความนี้? พอจะเป้นแนวทาง และข้อคิดไม่มากก็น้อยนะครับ? เอาเป็นว่า ยังไงแล้วถ้าบทความยังไม่สมบูรณ์? และเพื่อนๆต้องการเพิ่มเติมข้อความหละก้อ? แจ้งมาใน Comment ด้านล่างนี้นะครับ เราจะได้มาทำให้บทความต่างๆ ของเราทุกคนมีความสมบูรณ์ครับ
admin

View Comments

  • เก่งมากเลยครับ....อ่านแล้วได้ความรู้มาก ๆ

    แตมป์
    มือใหม่(กำลังศึกษา)

  • ขอบคุณครับที่ให้ความกระจ่าง ติดปัญหานี้พอดีเชียว
    Thanks a lot ครับ

  • ขอบคุณสำหรับความรู้ที่เพื่อแพร่ นะครับ ขอบคุณมากๆๆ อ่านแล้วรู้สึกดีครับเหมือนมีเพื่อนอยู่ข้างๆเลย thank you.

  • เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ตรงจุดมาก ๆ ครับ ขอบคุณมากครับ

  • ขอบพระคุณ อย่างสูง ครับ
    ขอบคุณ ที่มีเว็บนี้

Share
Published by
admin

Recent Posts

SPI Flash ROM ที่เครื่องFlash PCB50 สามารถเขียนได้

เบอร์ของ SPI Flash ROM ที่มีใช้ๆกัน ในทุกๆ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็คทรอนิคส์ รวมถึงโน๊ตบุ๊ค tablet ,Desktop PC , Mobile SPI…

12 years ago

โน๊ตบุ๊คเปิดแล้วดับเอง #ตอนที่ 2 (วิธีการตรวจวัดความร้อนโน๊ตบุ๊คตัวเก่งของเรา)

สวัสดีครับเพื่อนสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่านครับ  เคยตั้งคำถามกันใช่ไม๊ครับว่า "ทำไมเครื่องโน๊ตบุ๊คของเราเวลาที่ถูกใช้ไปนานๆ หรือเวลาที่เล่นเกมส์ที่ใช้กราฟฟิคสูงๆ  บางทีเครื่องก็ดับไปเองเลย..." สาเหตุหลักๆเลยครับ... คือเรื่องของการระบายความร้อนของเครื่องโน๊ตบุ๊คของเรา ดังที่ผมได้เคยเขียนบทความเกี่ยวกับ โน๊ตบุ๊คเปิดแล้วดับเอง ตอนที่ 1 (ปัญหาจากความร้อน) สำหรับในตอนที่…

12 years ago

เมื่อวงจรภาคไฟแหล่งจ่ายมีการช้อตเกิดขึ้น

สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่า   วันนี้ผมได้ update ความรู้ในเรื่องของการใช้เครื่องมือสักเรื่องนะครับ  อุปกรณ์ชิ้นนี้คือ Regulator Atten APS3005S ในฐานะที่เราเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊ค  เมื่อเราต้องการจะจ่ายกระแสไฟเข้าสู่เมนบอร์ดของโน๊ตบุ๊คเพื่อทดสอบการทำงาน  แต่ปรากฏว่าเมื่อทำการเสียบสายของ อะแดปเตอร์เข้าไปแล้ว…

12 years ago

USB notebook เสียใช้ไม่ได้ เสียบาง port เสียทุก port จะซ่อมกันยังไง(ตอนที่ 2) RT9711 Power switches

สวัสดีครับเพื่อนๆชาว repair-notebook.com ทุกท่าน เช้าวันเสาร์ที่ 12/05/2555 ผมได้นำความรู้มาแนะนำกันอย่างเช่นเคยครับ  บทความในวันนี้เป็นเรื่องของ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์เล็กตัวหนึ่งที่อยู่บนบอร์ดของโน๊ตบุ๊ค  ซึ่งเพื่อนสมาชิกช่างใหม่ ช่างเก่า หรือท่านผู้สนใจทุกท่านอาจจะไม่ได้ให้ความสนใจกับเจ้าตัวนี้กันซะเท่าไหร่   แต่วันนี้ต้องขอนำมากล่าวตรงนี้เพราะว่า อาการที่เกิดขึ้นกับโน๊ตบุ๊คของเพื่อนๆนั้นก็คือ "USB…

12 years ago

CMOS Battery รูปแบบต่างๆที่อยู่ในโน๊ตบุ๊ค

เราทราบกันดีอยู่แล้วครับว่า ระบบปฏิทินวันที่ และค่าความจำพื้นฐานที่เราได้ทำการตั้งค่าใน BIOS นั้น จะถูกเก็บไว้ในส่วนของหน่วยความจำของชิพ ซึ่งมี CMOS Battery จ่ายกระแสเลี้ยงตลอดเวลา ซึ่งรวมถึงในขณะที่เครื่องไม่ได้ถูกใช้งานด้วย ซึ่งจะทำให้ระบบความจำ หรือการโปรแกรมตารางนัดหมาย การจัดการในระบบ เพื่อให้เป็นไปตามช่วงเวลาในแต่ละช่วงๆ…

12 years ago

ขั้วถ่าน CMOS Battery โน๊ตบุ๊ค ตระกูล DV2000

สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่าน วันนี้นั่งทำงานซ่อมอยู่ก็เลยนึกจะเขียนบทความขึ้นมาให้เป็นความรู้แก่ทุกท่านสักบทความนึง...ตามองไปเห็นบอร์ด DV2000 ซึ่งคิดอยู่ว่าเดี๋ยวจะนำขึ้นมาทดสอบการทำงาน เปิดเครื่องดูว่ายัง"เปิดติดมีภาพอยู่หรือเปล่า" ก็สังเกตุเห็นว่าถ่าน Cmos ของบอร์ดหายไป  ก็คิดจะหยิบถ่าน CMOS ก้อนอื่นมาใส่ ก็ต้องหยุดคิดอยู่นิดนึงว่า"แล้วทำไมขั้วของ DV2000…

12 years ago