ตัวต้านทาน ที่ใช้ในโน๊ตบุ๊ค (Resistor)

  • สวัสดีครับเพื่อนๆ สำหรับในวันนี้ ผมจะขอนำไปรู้จักอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ชิ้นเ็ล็กๆที่ใช้ในเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค และวงจรอิเล็คทรอนิคส์ต่าง ๆ นะครับ? ชิ้นอุปกรณ์นี้ถูกเรียกแบบไทยๆ ว่า ตัวต้านทาน หรือชื่อที่เรียกอย่างเป็นทางการก็คือ? Resistor ซึ่งหมายถึงอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ที่ใช้ในวงจร เพื่อทำการต้านการไหลของกระแสไฟฟ้า เพื่อให้ลดแทอนแรงเคลื่อน และกระแสไฟในวงจรได้นะครับ

 

ชนิดของตัวต้านทาน

ตัวต้านทานชนิดต่าง ๆ

อาจจำแนกชนิดของตัวต้านทานได้หลายวิธี อาทิ

  • แบ่งตามความสามารถในการปรับค่า จำแนกได้ออกเป็น
    • ตัวต้านทานที่มีค่าคงที่
    • ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ (อาจจำแนกย่อยลงไปอีกว่า ปรับค่าได้โดยผู้ปรับ หรือ ปรับค่าได้ตามแสงสว่าง อุณหภูมิ ฯลฯ)
  • แบ่งตามชนิดของวัสดุที่นำมาใช้ผลิตตัวต้านทาน เช่น ตัวต้านทานประเภทเซรามิก

ตัวต้านทานแบบมีค่าคงที่

  • ตัวต้านทานทั่วไปอาจมีรูปร่างเป็นทรงกระบอก โดยที่มีสารตัวต้านทานอยู่ที่แกนกลาง หรือ เป็นฟิลม์อยู่ที่ผิว และมีแกนโลหะตัวนำออกมาจากปลายทั้งสองข้าง ตัวต้านทานที่มีรูปร่างนี้เรียกว่า ตัวต้านทานรูปร่างแบบ แอกเซียล ดังในรูปด้านขวามือ ตัวต้านทานใช้สำหรับกำลังสูงจะถูกออกแบบให้มีรูปร่างที่สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดี โดยมักจะเป็น ตัวต้านทานแบบขดลวด ตัวต้านทานที่มักจะพบเห็นบนแผงวงจร เช่นคอมพิวเตอร์นั้น โดยปกติจะมีลักษณะเป็น ตัวต้านทานแบบประกบผิวหน้า (surface-mount|) ขนาดเล็ก และไม่มีขาโลหะตัวนำยื่นออกมา นอกจากนั้นตัวต้านทานอาจจะถูกรวมอยู่ภายใน อุปกรณ์วงจรรวม (IC – integrated circuit) โดยตัวต้านทานจะถูกสร้างขึ้นในระหว่างกระบวนการผลิต และแต่ละ IC อาจมีตัวต้านทานถึงหลายล้านตัวอยู่ภายใน

ตัวต้านทานปรับค่าได้

  • ตัวต้านทานปรับค่าได้ เป็นตัวต้านทาน ที่ค่าความต้านทานสามารถปรับเปลี่ยนได้ โดยอาจมีปุ่มสำหรับ หมุน หรือ เลื่อน เพื่อปรับค่าความต้านทาน และบางครั้งก็เรียก โพเทนติโอมิเตอร์ (potentiometers) หรือ รีโอสแตต (rheostats)
  • ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ มีทั้งแบบที่หมุนได้เพียงรอบเดียว จนถึง แบบที่หมุนแบบเป็นเกลียวได้หลายรอบ บางชนิดมีอุปกรณ์แสดงนับรอบที่หมุน เนื่องจากตัวต้านทานปรับค่าได้นี้ มีส่วนของโลหะที่ขัดสีสึกกร่อน บางครั้งจึงอาจขาดความน่าเชื่อถือ ในตัวต้านทานปรับค่าได้รุ่นใหม่ จะใช้วัสดุซึ่งทำจากพลาสติกที่ทนทานต่อการสึกกร่อนจากการขัดสี และ กัดกร่อน
  • รีโอสแตต (rheostat) : เป็นตัวต้านทานปรับค่าได้มี 2 ขา โดยที่ขาหนึ่งถูกยึดตายตัว ส่วนขาที่เหลือเลื่อนไปมาได้ ปกติใช้สำหรับส่วนที่มีปริมาณกระแสผ่านสูง
  • โพเทนติโอมิเตอร์ (potentiometer) : เป็นตัวต้านทานปรับค่าได้ ที่พบเห็นได้ทั่วไป โดยเป็นปุ่มปรับความดัง สำหรับเครื่องขยายเสียง

ตัวต้านทานชนิดพิเศษอื่น ๆ

  • วาริสเตอร์โลหะออกไซด์ (metal oxide varistorMOV) เป็นตัวต้านทานที่มีคุณสมบัติพิเศษคือ มีค่าความต้านทาน 2 สถานะ คือ ค่าความต้านทานสูงมากที่ ความต่างศักย์ต่ำ (ต่ำกว่าค่าความต่างศักย์กระตุ้น) และ ค่าความต้านทานต่ำมากที่ ความต่างศักย์สูง (สูงกว่าความต่างศักย์กระตุ้น) ใช้ประโยชน์ในการป้องกันวงจร เช่น ใช้ในการป้องกันความเสียหายจากฟ้าผ่าลงเสาไฟฟ้า หรือใช้เป็น สนับเบอร์ ในวงจรตัวเหนี่ยวนำ
  • เทอร์มิสเตอร์ (thermistor) เป็นตัวต้านทานที่มีค่าความต้านทานเปลี่ยนแปลงตามระดับอุณหภูมิ แบ่งเป็นสองประเภท คือ
    • ตัวต้านทานที่มีค่าสัมประสิทธิ์ของความต้านทานต่ออุณหภูมิเป็นบวก (PTC – Positive Temperature Coefficient) เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ค่าความต้านทานมีค่าสูงขึ้นตาม มีพบใช้ในวงจรเครื่องรับโทรทัศน์ โดยต่ออนุกรมกับ ขดลวดลบสนามแม่เหล็ก (demagnetizing coil) เพื่อป้อนกระแสในช่วงเวลาสั้น ๆ ให้กับขดลวดในขณะเปิดโทรทัศน์ นอกจากนั้นแล้ว ตัวต้านทานประเภทนี้ยังมีการออกแบบเฉพาะเพื่อใช้เป็น ฟิวส์ (fuse) ที่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ เรียกว่า โพลีสวิตช์ (polyswitch)
    • ตัวต้านทานที่มีค่าสัมประสิทธิ์ของความต้านทานต่ออุณหภูมิเป็นลบ (NTC – Negative Temperature Coefficient) เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ค่าความต้านทานมีค่าลดลง ปกติใช้เป็นอุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิ
  • เซนซิสเตอร์ (sensistor) เป็นตัวต้านทานที่สร้างจากสารกึ่งตัวนำ มีค่าสัมประสิทธิ์ของความต้านทานต่ออุณหภูมิเป็นลบ ใช้ในการชดเชยผลของอุณหภูมิ ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์
  • แอลดีอาร์ (LDR : Light Dependent Resistor) ตัวต้านทานปรับค่าตามแสงตกกระทบ ยิ่งมีแสงตกกระทบมากยิ่งมีความต้านทานต่ำ
  • ลวดตัวนำ ลวดตัวนำทุกชนิด ยกเว้น ซุปเปอร์คอนดักเตอร์(superconductor) จะมีความต้านทานซึ่งเกิดจากเนื้อวัสดุที่ใช้ทำลวดนั้น โดยจะขึ้นกับ ภาคตัดขวางของลวด และ ค่าความนำไฟฟ้าของเนื้อสาร

การอ่านค่าความต้านทาน

  • ตัวต้านทานแบบแอกเซียล ส่วนใหญ่จะระบุค่าความต้านทานด้วยแถบสี ส่วนแบบประกบผิวหน้านั้นจะระบุค่าด้วยตัวเลข

ตัวต้านทานแบบมี 4 แถบสี

  • ตัวต้านทานแบบมี 4 แถบสีนั้นเป็นแบบที่นิยมใช้มากที่สุด โดยจะมีแถบสีระบายเป็นเส้น 4 เส้นรอบตัวต้านทาน โดยค่าตัวเลขของ 2 แถบแรกจะเป็น ค่าสองหลักแรกของความต้านทาน แถบที่ 3 เป็นตัวคูณ และ แถบที่ 4 เป็นค่าขอบเขตความเบี่ยงเบน ซึ่งมีค่าเป็น 5%, 10%, หรือ 20%

ค่าของรหัสสีตามมาตรฐาน EIA EIA-RS-279

สี แถบ 1 แถบ 2 แถบ 3 (ตัวคูณ) แถบ 4 (ขอบเขตความเบี่ยงเบน) สัมประสิทธิ์ของอุณหภูมิ
ดำ 0 0 ×100
น้ำตาล 1 1 ×101 ±1% (F) 100 ppm
แดง 2 2 ×102 ±2% (G) 50 ppm
ส้ม 3 3 ×103 15 ppm
เหลือง 4 4 ×104 25 ppm
เขียว 5 5 ×105 ±0.5% (D)
น้ำเงิน 6 6 ×106 ±0.25% (C)
ม่วง 7 7 ×107 ±0.1% (B)
เทา 8 8 ×108 ±0.05% (A)
ขาว 9 9 ×109
ทอง ×0.1 ±5% (J)
เงิน ×0.01 ±10% (K)
ไม่มีสี ±20% (M)

หมายเหตุ: สีแดง ถึง ม่วง เป็นสีรุ้ง โดยที่สีแดงเป็นสีพลังงานต่ำ และ สีม่วงเป็นสีพลังงานสูง

ค่าความคลาดเคลื่อน

  • ตัวต้านทานมาตรฐานที่ผลิต มีค่าตั้งแต่มิลลิโอห์ม จนถึง จิกะโอห์ม ซึ่งในช่วงนี้ จะมีเพียงบางค่าที่เรียกว่า ค่าที่พึงประสงค์ เท่านั้นที่ถูกผลิต และตัวทรานซิสเตอร์ที่เป็นอุปกรณ์แยกในท้องตลาดเหล่านี้นั้น ในทางปฏิบัติแล้วไม่ได้มีค่าตามอุดมคติ ดังนั้นจึงมีการระบุของเขตของการเบี่ยงเบนจากค่าที่ระบุไว้ โดยการใช้แถบสีแถบสุดท้าย:
เงิน 10%
ทอง 5%
แดง 2%
น้ำตาล 1%

นอกจากนี้แล้ว ตัวต้านทานที่มีความแม่นยำมากกว่าปกติ ก็มีขายในท้องตลาด 66

ตัวต้านทานแบบมี 5 แถบสี

  • 5 แถบสีนั้นปกติใช้สำหรับตัวต้านทานที่มีความแม่นยำสูง (โดยมีค่าขอบเขตของความเบี่ยงเบน 1%, 0.5%, 0.25%, 0.1%) แถบสี 3 แถบแรกนั้นใช้ระบุค่าความต้านทาน แถบที่ 4 ใช้ระบุค่าตัวคูณ และ แถบที่ 5 ใช้ระบุขอบเขตของความเบี่ยงเบน ส่วนตัวต้านทานแบบ 5 แถบสีที่มีความแม่นยำปกติ มีพบได้ในตัวต้านทานรุ่นเก่า หรือ ตัวต้านทานแบบพิเศษ ซึ่งค่าขอบเขตของความเบี่ยงเบน จะอยู่ในตำแหน่งปกติคือ แถบที่ 4 ส่วนแถบที่ 5 นั้นใช้บอกค่าสัมประสิทธิ์ของอุณหภูมิ

ตัวต้านทานแบบประกบผิวหน้า ระบุค่าความต้านทานด้วยรหัสตัวเลข โดยตัวต้านทาน SMT ความแม่นยำปกติ จะระบุด้วยรหัสเลข 3 หลัก สองตัวแรกบอกค่าสองหลักแรกของความต้านทาน และ หลักที่ 3 คือค่าเลขยกกำลังของ 10 ตัวอย่างเช่น “472” ใช้หมายถึง “47” เป็นค่าสองหลักแรกของค่าความต้านทาน คูณด้วย 10 ยกกำลังสอง โอห์ม ส่วนตัวต้านทาน SMT ความแม่นยำสูง จะใช้รหัสเลข 4 หลัก โดยที่ 3 หลักแรกบอกค่าสามหลักแรกของความต้านทาน และ หลักที่ 4 คือค่าเลขยกกำลังของ 10..

การระบุค่าในเชิงอุตสาหกรรม

  • ในทางอุตสาหกรรม จะระบุค่าความต้านทานด้วยเลข 3 หลัก สองหลักแรกเป็นตัวเลขค่าความต้านทาน และ หลักที่ 3 ระบุจำนวนเลข 0 ตามหลังเลขค่าความต้านทานสองหลักแรก
  • สำหรับค่าความต้านทานที่น้อยกว่า 10 ตัวอักษร (G) ซึ่งใช้แทนในตำแหน่งตัวเลขหลักที่ 3 ใช้หมายถึงคูณค่าสองหลักแรกด้วย 0.1

ตัวอย่าง: 27G หมายถึงค่าความต้านทาน 2.7

  • ตัวเลขหลักที่ 4 ที่ตามหลังเลขระบุค่าความต้านทาน คือ ค่าเปอร์เซนต์ขอบเขตของความเบี่ยงเบน
  • ตัวเลขแทนค่าขอบเขตของความเบี่ยงเบน 5%, 10% and 20% คือ 5, 1 และ 2 ตามลำดับ
  • ค่าอัตรากำลังระบุเป็นตัวอักษร 2 ตัว นำหน้าตัวเลขรหัสระบุค่าความต้านทาน คือ BB, CB, EB, GB, HB, GM และ HM สำหรับ , 1, 2, 3 และ 4 วัตต์ ตามลำดับ

สิ่งที่แตกต่างระหว่าง อุปกรณ์ระดับคุณภาพ เชิงพาณิชย์ และ เชิงอุตสาหกรรม คือ ช่วงอุณหภูมิของการใช้งาน

อุปกรณ์ในเชิงพาณิชย์ : C to C
อุปกรณ์ในเชิงอุตสาหกรรม : C to C

แหล่งที่มา..วิกิพีเดีย ไทย

admin

View Comments

  • ไม่อธิบายวิธีการตรวจเช็คหรือครับว่าเสียหรือไม่

  • ตรวจเชค ก็ใช้มิเตอร์วัดไดเลยครับ ขาด ช้อต ยืดค่า

Recent Posts

SPI Flash ROM ที่เครื่องFlash PCB50 สามารถเขียนได้

เบอร์ของ SPI Flash ROM ที่มีใช้ๆกัน ในทุกๆ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็คทรอนิคส์ รวมถึงโน๊ตบุ๊ค tablet ,Desktop PC , Mobile SPI…

12 years ago

โน๊ตบุ๊คเปิดแล้วดับเอง #ตอนที่ 2 (วิธีการตรวจวัดความร้อนโน๊ตบุ๊คตัวเก่งของเรา)

สวัสดีครับเพื่อนสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่านครับ  เคยตั้งคำถามกันใช่ไม๊ครับว่า "ทำไมเครื่องโน๊ตบุ๊คของเราเวลาที่ถูกใช้ไปนานๆ หรือเวลาที่เล่นเกมส์ที่ใช้กราฟฟิคสูงๆ  บางทีเครื่องก็ดับไปเองเลย..." สาเหตุหลักๆเลยครับ... คือเรื่องของการระบายความร้อนของเครื่องโน๊ตบุ๊คของเรา ดังที่ผมได้เคยเขียนบทความเกี่ยวกับ โน๊ตบุ๊คเปิดแล้วดับเอง ตอนที่ 1 (ปัญหาจากความร้อน) สำหรับในตอนที่…

12 years ago

เมื่อวงจรภาคไฟแหล่งจ่ายมีการช้อตเกิดขึ้น

สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่า   วันนี้ผมได้ update ความรู้ในเรื่องของการใช้เครื่องมือสักเรื่องนะครับ  อุปกรณ์ชิ้นนี้คือ Regulator Atten APS3005S ในฐานะที่เราเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊ค  เมื่อเราต้องการจะจ่ายกระแสไฟเข้าสู่เมนบอร์ดของโน๊ตบุ๊คเพื่อทดสอบการทำงาน  แต่ปรากฏว่าเมื่อทำการเสียบสายของ อะแดปเตอร์เข้าไปแล้ว…

13 years ago

USB notebook เสียใช้ไม่ได้ เสียบาง port เสียทุก port จะซ่อมกันยังไง(ตอนที่ 2) RT9711 Power switches

สวัสดีครับเพื่อนๆชาว repair-notebook.com ทุกท่าน เช้าวันเสาร์ที่ 12/05/2555 ผมได้นำความรู้มาแนะนำกันอย่างเช่นเคยครับ  บทความในวันนี้เป็นเรื่องของ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์เล็กตัวหนึ่งที่อยู่บนบอร์ดของโน๊ตบุ๊ค  ซึ่งเพื่อนสมาชิกช่างใหม่ ช่างเก่า หรือท่านผู้สนใจทุกท่านอาจจะไม่ได้ให้ความสนใจกับเจ้าตัวนี้กันซะเท่าไหร่   แต่วันนี้ต้องขอนำมากล่าวตรงนี้เพราะว่า อาการที่เกิดขึ้นกับโน๊ตบุ๊คของเพื่อนๆนั้นก็คือ "USB…

13 years ago

CMOS Battery รูปแบบต่างๆที่อยู่ในโน๊ตบุ๊ค

เราทราบกันดีอยู่แล้วครับว่า ระบบปฏิทินวันที่ และค่าความจำพื้นฐานที่เราได้ทำการตั้งค่าใน BIOS นั้น จะถูกเก็บไว้ในส่วนของหน่วยความจำของชิพ ซึ่งมี CMOS Battery จ่ายกระแสเลี้ยงตลอดเวลา ซึ่งรวมถึงในขณะที่เครื่องไม่ได้ถูกใช้งานด้วย ซึ่งจะทำให้ระบบความจำ หรือการโปรแกรมตารางนัดหมาย การจัดการในระบบ เพื่อให้เป็นไปตามช่วงเวลาในแต่ละช่วงๆ…

13 years ago

ขั้วถ่าน CMOS Battery โน๊ตบุ๊ค ตระกูล DV2000

สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่าน วันนี้นั่งทำงานซ่อมอยู่ก็เลยนึกจะเขียนบทความขึ้นมาให้เป็นความรู้แก่ทุกท่านสักบทความนึง...ตามองไปเห็นบอร์ด DV2000 ซึ่งคิดอยู่ว่าเดี๋ยวจะนำขึ้นมาทดสอบการทำงาน เปิดเครื่องดูว่ายัง"เปิดติดมีภาพอยู่หรือเปล่า" ก็สังเกตุเห็นว่าถ่าน Cmos ของบอร์ดหายไป  ก็คิดจะหยิบถ่าน CMOS ก้อนอื่นมาใส่ ก็ต้องหยุดคิดอยู่นิดนึงว่า"แล้วทำไมขั้วของ DV2000…

13 years ago