ความแตกต่างของ VGA Card notebook หรือ VGA On board แตกต่างกันอย่างไรครับ

  • สวัสดีครับเพื่อนๆ ชาว Repair-Notebook ทุกท่าน  วันนี้ ตอนนี้(วันเสาร์ที่ 14 พ.ย 52 ตอนเวลา 14.53 น.) ผมกำลังเขียนบทความท่ามกลางฝนที่กำลังตกอย่างเพลิดเพลิน  ไม่สนใจกับใครทั้งสิ้น(ก็เรื่องของฝนเขานะ ) แต่ในส่วนผมนั้นก็ได้อากาศเย็นๆ ดีๆอย่างนี้เข้ามานั่งอัพเดรท บทความให้เพื่อนๆได้อ่านกันในครั้งนี้ครับ
  • ผมขึ้นหัวเรื่องว่า VGA Card หรือ VGA On Board เพื่อนๆเข้าใจกันว่าอย่างไร
  • สำหรับผมแล้ววันนี้ผมจะมาพูดคุยเป็นแนวทางให้เพื่อนๆ ได้เห็นภาพ และจะได้เข้าใจกันอย่างชัดเจนนะครับ

VGA On board เป็นอย่างไร ?

  • เพื่อนๆดูจากรูปด้านล่างนี้นะครับ  จะเห็นว่า ข้างๆ ซีพียูนั้นจะมี Chip อยู่ตัวหนึ่ง  Chip ตัวนี้เราเรียกมันว่า North bridge หรือภาษาไทยเขาเรียกกันว่า ชิพส่วนเหนือครับ  ในสมัยต้นๆของการออกแบบสร้างโน๊ตบุ๊ค  ซึ่งไม่ได้เน้นในเรื่อง graphic มากนัก  และต้องการเน้นให้โน๊ตบุ๊ค หรือ lap top นั้นทำงานในลักษณะของการเป็นเครื่องมือนำเสนอ เช่น Present งานต่างๆ  นำเสนองานให้ลูกค้าดูใกล้ๆ แบบมีมาตรฐาน  ดูดี(ว่างั้น) ก็เลยนำส่วนการแสดงผลฝังเข้าไว้ในตัวของ North bridge เสียเลยครับ  และก็ใช่หน่วยความจำร่วมกับ RAM ที่เราติดตั้งไว้ในเครื่องนั่นเอง  ซึ่งจะมีผลทำให้ ความจุของ RAM ที่เราติดตั้งไว้ในเครื่อง ลดน้อย หายลงไป  แต่เพื่อนๆ ก็ต้องเข้าใจนะครับว่า มันหายไปไหน…เช่น  ส่วนการแสดงผลต้องการใช้ RAM มาทำหน้าที่เป็น VRAM (Video RAM)  16 MB. ในขณะที่เพื่อนๆใส่ RAM ไว้ในเครื่อง 256 MB. ดังนั้น RAM  ของเครื่องที่เหลือสำหรับตัวระบบวินโดว์ใช้งานจะเท่ากับ 256 – 16 =240 MB. เท่านั้นครับ ยิ่งเราเซ็ทให้ VRAM มีความจุสูงขึ้น  RAM ที่เราติดตั้งไว้ก็จะลดน้อยลงไปเรื่อยๆครับ(แต่ก็อยู่กับใน BIOS ว่ามีการอนุญาติให้นำ VRAM นำ RAM ไปใช้ได้สูงสุดเท่าไหร่ด้วยนะครับ

VGA on baord แบบมี GPU และ VRAM ของตัวเอง

  • ส่วนการแสดงผลที่เราเรียกมันว่า VGA on board แบบแยกตัวอิสระ ที่มี GPU และ VRAM เป็นของตัวเอง แบบนี้ก็ยังไม่เรียกว่า VGA Card นะครับ เพราะว่ามันยังคงอยู่บนแผงวงจร เมนบอร์ดเหมือนเดิม  เพียงแต่แยกตัวออกมาทำหน้าที่ในส่วนการแสดงผล  โดยไม่ต้องพึ่งพา CPU , RAM ของเครื่อง  นั่นก็หมายความว่า มันจะต้องทำงานได้ดีกว่าแบบ Onbard อย่างแน่นอน

VGA CArd ที่เป็น Card จริง ๆตามรูปด้านล่างนี้ครับ

  • ตัว VGA Card ที่ถูกเรียกว่าเป็น Card อย่างเต็มตัว  นั้น จะมี GPU และ VRAM แยกตัวออกมาติดตั้งไว้บนแผ่นวงจรโดยเฉพาะของตัวเอง  มีความสามารถด้านการทำงาน Graphic ที่ดีกว่าในส่วนของ VGA Onboard  สามารถทำงานด้านรูป  งานตัดต่อวีดีโอที่ดีกว่าแบบ onboard  มีวามจุของ VRAM ที่สูงกว่าแบบ Onboard และคุณสมบัติอื่นๆ ที่ดีกว่าอีกหลายประการนะครับ

ข้อดี และ ข้อเสีย

  • ก็คือประหยัดพื้นที่ในการที่จะติดตั้งวงจรในส่วนการแสดงผลเพิ่มเติมซึ่งจะทำให้เปลืองเนื้อที่บนแผง PCB นั้นๆ
  • ประหยัดต้นทุนในการผลิต เพราะไม่ต้องเพิ่มชุดวงจรแยกต่างหาก เพียงแต่อาศัย Chip Set หลักๆ(ชิพส่วนเหนือ North Bridge) ก็ประหยัด GPU (Gharpic Processing Unit) ซึ่งทำหน้าที่เป็น Porcessor ของด้านการแสดงผลโดยตรงไปตั้งหนึ่งตัว  ซึ่งมันก็มีขนาดเทียบเท่ากับชิพเหนือนั่นเองครับ (ขนาดใกล้เคียงกัน)
  • ประหยัด VRAM (Video RAM) หน่วยความจำสำหรับการแสดงผลด้านภาพ  ก็อาศัยในส่วนของ RAM ที่ติดตั้งลงไว้ที่แผงบอร์ด โดยอาศัยหลักการแชร์ RAM มาใช้เพื่อการแสดงผลส่วนหนึ่ง ผลก็คือหากแชร์มามาก (ถ้าBIOS กำหนดไว้มาก)ก็จะทำให้ระบบทำงานช้า (หากว่าติดตั้ง RAM ไว้ในเครื่องไว้น้อย)   แต่หากว่าแชร์ไว้น้อย ก็จะทำให้การทำงานของด้านการแสดงผลไม่ค่้อยจะสู้ดี  ทำงานด้านกราฟิคบางโปรแกรมไม่ทันใจ   หรืออาจเล่นเกมส์บางเกมส์ไม่ได้ เป็นต้น
admin

View Comments

  • จอเป็นเส้นยาวตลอดใช้NOTEBOOK COMPAC ต้องเปลี่ยนจอใหม่หรือไม่มีสอนการถอดจอให้ดูหรือไม่

Share
Published by
admin

Recent Posts

SPI Flash ROM ที่เครื่องFlash PCB50 สามารถเขียนได้

เบอร์ของ SPI Flash ROM ที่มีใช้ๆกัน ในทุกๆ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็คทรอนิคส์ รวมถึงโน๊ตบุ๊ค tablet ,Desktop PC , Mobile SPI…

12 years ago

โน๊ตบุ๊คเปิดแล้วดับเอง #ตอนที่ 2 (วิธีการตรวจวัดความร้อนโน๊ตบุ๊คตัวเก่งของเรา)

สวัสดีครับเพื่อนสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่านครับ  เคยตั้งคำถามกันใช่ไม๊ครับว่า "ทำไมเครื่องโน๊ตบุ๊คของเราเวลาที่ถูกใช้ไปนานๆ หรือเวลาที่เล่นเกมส์ที่ใช้กราฟฟิคสูงๆ  บางทีเครื่องก็ดับไปเองเลย..." สาเหตุหลักๆเลยครับ... คือเรื่องของการระบายความร้อนของเครื่องโน๊ตบุ๊คของเรา ดังที่ผมได้เคยเขียนบทความเกี่ยวกับ โน๊ตบุ๊คเปิดแล้วดับเอง ตอนที่ 1 (ปัญหาจากความร้อน) สำหรับในตอนที่…

12 years ago

เมื่อวงจรภาคไฟแหล่งจ่ายมีการช้อตเกิดขึ้น

สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่า   วันนี้ผมได้ update ความรู้ในเรื่องของการใช้เครื่องมือสักเรื่องนะครับ  อุปกรณ์ชิ้นนี้คือ Regulator Atten APS3005S ในฐานะที่เราเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊ค  เมื่อเราต้องการจะจ่ายกระแสไฟเข้าสู่เมนบอร์ดของโน๊ตบุ๊คเพื่อทดสอบการทำงาน  แต่ปรากฏว่าเมื่อทำการเสียบสายของ อะแดปเตอร์เข้าไปแล้ว…

12 years ago

USB notebook เสียใช้ไม่ได้ เสียบาง port เสียทุก port จะซ่อมกันยังไง(ตอนที่ 2) RT9711 Power switches

สวัสดีครับเพื่อนๆชาว repair-notebook.com ทุกท่าน เช้าวันเสาร์ที่ 12/05/2555 ผมได้นำความรู้มาแนะนำกันอย่างเช่นเคยครับ  บทความในวันนี้เป็นเรื่องของ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์เล็กตัวหนึ่งที่อยู่บนบอร์ดของโน๊ตบุ๊ค  ซึ่งเพื่อนสมาชิกช่างใหม่ ช่างเก่า หรือท่านผู้สนใจทุกท่านอาจจะไม่ได้ให้ความสนใจกับเจ้าตัวนี้กันซะเท่าไหร่   แต่วันนี้ต้องขอนำมากล่าวตรงนี้เพราะว่า อาการที่เกิดขึ้นกับโน๊ตบุ๊คของเพื่อนๆนั้นก็คือ "USB…

12 years ago

CMOS Battery รูปแบบต่างๆที่อยู่ในโน๊ตบุ๊ค

เราทราบกันดีอยู่แล้วครับว่า ระบบปฏิทินวันที่ และค่าความจำพื้นฐานที่เราได้ทำการตั้งค่าใน BIOS นั้น จะถูกเก็บไว้ในส่วนของหน่วยความจำของชิพ ซึ่งมี CMOS Battery จ่ายกระแสเลี้ยงตลอดเวลา ซึ่งรวมถึงในขณะที่เครื่องไม่ได้ถูกใช้งานด้วย ซึ่งจะทำให้ระบบความจำ หรือการโปรแกรมตารางนัดหมาย การจัดการในระบบ เพื่อให้เป็นไปตามช่วงเวลาในแต่ละช่วงๆ…

12 years ago

ขั้วถ่าน CMOS Battery โน๊ตบุ๊ค ตระกูล DV2000

สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่าน วันนี้นั่งทำงานซ่อมอยู่ก็เลยนึกจะเขียนบทความขึ้นมาให้เป็นความรู้แก่ทุกท่านสักบทความนึง...ตามองไปเห็นบอร์ด DV2000 ซึ่งคิดอยู่ว่าเดี๋ยวจะนำขึ้นมาทดสอบการทำงาน เปิดเครื่องดูว่ายัง"เปิดติดมีภาพอยู่หรือเปล่า" ก็สังเกตุเห็นว่าถ่าน Cmos ของบอร์ดหายไป  ก็คิดจะหยิบถ่าน CMOS ก้อนอื่นมาใส่ ก็ต้องหยุดคิดอยู่นิดนึงว่า"แล้วทำไมขั้วของ DV2000…

12 years ago