Adaptor แบบต่างๆ สำหรับใช้กับเครื่อง Flash BIOS

  • สวัสดีครับเพื่อนๆที่รักทุกท่าน  สำหรับในวันนี้ ผมได้นำเรื่องของอะแดปเตอร์สำหรับแปลงขาของ ROM Memory แบบต่างๆเข้ามาแนะนำกันเพื่อให้เพื่อนๆ ได้รู้จักและสามารถบอกได้ว่าเป็นแบบใด  เพื่อที่เวลาเพื่อนๆ ได้เห็นเจ้า ROM BIOS ในเครื่อง ว่าเป็นแบบใด ก็จะได้มาจับคู่ใ้ช้อะแดปเตอร์ที่ถูกต้องตามชนิดของ ROM นั้นๆ  และนำไปทำการ Flash BIOS ได้อย่างถูกต้องครับ
  • เนื่องจาก ROM BIOS มีวิวัฒนาการทางตัวถังกันมาหลากหลายรุ่น  ดังรูปด้านล่างนะครับ  การพัฒนาการจาก DIP 32  เป็น PLCC 32  จากนั้นไปเป็น DIP-8  และ SO-8 และ ก็ TSOP ครับ จริงๆ ในยุคปัจจุบัน  เราจะเห็นไบออส ที่มีตัวถังเป็นแบบ PLCC (สำหรับ เครื่อง PC) กันมากที่สุด  ลองลงมาก็เป็นแบบ DIP-8 ส่วน SO-8 นั้นเครื่อง PC จะยังไม่ค่อยนำไปใช้ครับ
  • แต่สำหรับเครื่องโน๊ตบุ๊คนั้น มีการนำ ROM แบบ PLCC32 บัดกรีติดที่ปริ้นเลย  (ไม่ได้ใส่ Socket แบบเครื่อง PC)  และพัฒนาต่อมาเป็นแบบ SO-8 และ TSOP เลยครับ
  • ในปัจจุบันเราแกะโน๊ตบุ๊คออกมา เราจะสังเกตุเห็นไบออส เป็นแบบตัวถัง SO-IC 8  หรือไม่ก็เป็นแบบ TSOP กันแทบทั้งนั้นเลยครับ
  • ในความรู้ที่ผมได้เคยนำเสนอไปแล้ว เกี่ยวกับเรื่องของเครื่อง Flash BIOS ตัวที่ผมได้แนะนำในหน้าการขายสินค้านั้น  จำเป็นที่จะต้องหาอะแดปเตอร์สำหรับแปลงขา ROM มาใช้ร่วมด้วย ในบางชนิด  โดยเฉพาะ เช่น แบบ TSOP ซึ่งในเครื่องโปรแกรมรอมของผมนั้นไม่มีฐานอะแดปเตอร์แบบ TSOP  ดังนั้นจึงต้องจัดหาเพิ่มเติมครับ
  • TSOP ตัวถังแบบนี้  มีในเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค หลากหลายยี่ห้อ  ดังนั้นจึงจำเป็นต้้องมีติดตัวไว้ครับ   เช่นแบบตัวความยาว 14 มม. 20 มม. และแต่ละแบบก็มีขาต่างกันเช่น แบบ 32,40,48 ขา  ซึ่งก็ต้องเลือกอะแดปเตอร์ให้ตรงชนิดนะครับ
  • The adapter set can be used for 14 mm. and 20 mm. TSOP 32,TSOP 40, TSOP 48 and the VSOP 40 package chips
    The adapter support all version of Willem EPROM Programmer
    The adapters can change to top adapters
    1. TSOP 32, 40, 48 (with socket) Top Adapter
    2. TSOP 32, 40, 48 (14 mm,20 mm) TOP Adapter
    3. VSOP 40 Top Adapter
    And chang to base adapters
    1. TSOP32 Base Adapter
    2. TSOP40A Base Adapter
    3. TSOP40B Base Adapter
    4. TSOP48 (16bit) Base Adapter
    5. TSOP48 (8/16bit) Base Adapter

     

  • ตัวถังแบบ SO-IC8 เป็นอะแดปเตอร์ที่ออกแบบมาลองรับ ROM ที่มีตัวถังแบบ SO-IC8  โดยจะถูกแปลงขาให้สามารถเสียบในช่องโปรแกรมแบบ DIP 8 ได้ ครับ

This adapter can support : This adapter can support the devices : Willem EPROM version PCBxxx, Standard, Enhanced, True-USB / TOPxxx : Top2003, TOP2004, TOP2005 etc. / EasyPro80B / Xeltek, / Labtoolxxx : Labtool48xp, Labtool48uxp etc. / Universal Programmer.
(Top / Bottom) Adapter : Converting SOIC 8 pins package 150 mil (with socket ) on the top to DIP 8 pins on the bottom
Support : 24Cxxx , 93Cxxx , PIC12xxx , 25xxx , SPI Flash
Socket Brand : Made in China

 

  • ตัวถังแบบ DIP8 เป็นตัวถังที่เป็นมาตรฐานทั่วๆไป มีอยู่แล้วในเครื่องโปรแกรม Rom ไม่ต้องสรรหาเพิ่ม

 

  • ตัวถังแบบ PLCC-32 เป็นตัวถังที่เป็นมาตรฐานทั่วๆไป มีอยู่แล้วในเครื่องโปรแกรม Rom ไม่ต้องสรรหาเพิ่ม ลองรับ rom แบบ PLCC 32 pin

เป็นยังไงบ้างครับเพื่อนๆ  พอได้ความรู้ในเรื่องนี้กันบ้างไม๊ครับ   แสดงความคิดเห็นกันเข้ามาได้นะครับ  สำหรับวันนี้ โชคดีครับ

admin

View Comments

Share
Published by
admin

Recent Posts

SPI Flash ROM ที่เครื่องFlash PCB50 สามารถเขียนได้

เบอร์ของ SPI Flash ROM ที่มีใช้ๆกัน ในทุกๆ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็คทรอนิคส์ รวมถึงโน๊ตบุ๊ค tablet ,Desktop PC , Mobile SPI…

12 years ago

โน๊ตบุ๊คเปิดแล้วดับเอง #ตอนที่ 2 (วิธีการตรวจวัดความร้อนโน๊ตบุ๊คตัวเก่งของเรา)

สวัสดีครับเพื่อนสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่านครับ  เคยตั้งคำถามกันใช่ไม๊ครับว่า "ทำไมเครื่องโน๊ตบุ๊คของเราเวลาที่ถูกใช้ไปนานๆ หรือเวลาที่เล่นเกมส์ที่ใช้กราฟฟิคสูงๆ  บางทีเครื่องก็ดับไปเองเลย..." สาเหตุหลักๆเลยครับ... คือเรื่องของการระบายความร้อนของเครื่องโน๊ตบุ๊คของเรา ดังที่ผมได้เคยเขียนบทความเกี่ยวกับ โน๊ตบุ๊คเปิดแล้วดับเอง ตอนที่ 1 (ปัญหาจากความร้อน) สำหรับในตอนที่…

12 years ago

เมื่อวงจรภาคไฟแหล่งจ่ายมีการช้อตเกิดขึ้น

สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่า   วันนี้ผมได้ update ความรู้ในเรื่องของการใช้เครื่องมือสักเรื่องนะครับ  อุปกรณ์ชิ้นนี้คือ Regulator Atten APS3005S ในฐานะที่เราเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊ค  เมื่อเราต้องการจะจ่ายกระแสไฟเข้าสู่เมนบอร์ดของโน๊ตบุ๊คเพื่อทดสอบการทำงาน  แต่ปรากฏว่าเมื่อทำการเสียบสายของ อะแดปเตอร์เข้าไปแล้ว…

12 years ago

USB notebook เสียใช้ไม่ได้ เสียบาง port เสียทุก port จะซ่อมกันยังไง(ตอนที่ 2) RT9711 Power switches

สวัสดีครับเพื่อนๆชาว repair-notebook.com ทุกท่าน เช้าวันเสาร์ที่ 12/05/2555 ผมได้นำความรู้มาแนะนำกันอย่างเช่นเคยครับ  บทความในวันนี้เป็นเรื่องของ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์เล็กตัวหนึ่งที่อยู่บนบอร์ดของโน๊ตบุ๊ค  ซึ่งเพื่อนสมาชิกช่างใหม่ ช่างเก่า หรือท่านผู้สนใจทุกท่านอาจจะไม่ได้ให้ความสนใจกับเจ้าตัวนี้กันซะเท่าไหร่   แต่วันนี้ต้องขอนำมากล่าวตรงนี้เพราะว่า อาการที่เกิดขึ้นกับโน๊ตบุ๊คของเพื่อนๆนั้นก็คือ "USB…

13 years ago

CMOS Battery รูปแบบต่างๆที่อยู่ในโน๊ตบุ๊ค

เราทราบกันดีอยู่แล้วครับว่า ระบบปฏิทินวันที่ และค่าความจำพื้นฐานที่เราได้ทำการตั้งค่าใน BIOS นั้น จะถูกเก็บไว้ในส่วนของหน่วยความจำของชิพ ซึ่งมี CMOS Battery จ่ายกระแสเลี้ยงตลอดเวลา ซึ่งรวมถึงในขณะที่เครื่องไม่ได้ถูกใช้งานด้วย ซึ่งจะทำให้ระบบความจำ หรือการโปรแกรมตารางนัดหมาย การจัดการในระบบ เพื่อให้เป็นไปตามช่วงเวลาในแต่ละช่วงๆ…

13 years ago

ขั้วถ่าน CMOS Battery โน๊ตบุ๊ค ตระกูล DV2000

สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่าน วันนี้นั่งทำงานซ่อมอยู่ก็เลยนึกจะเขียนบทความขึ้นมาให้เป็นความรู้แก่ทุกท่านสักบทความนึง...ตามองไปเห็นบอร์ด DV2000 ซึ่งคิดอยู่ว่าเดี๋ยวจะนำขึ้นมาทดสอบการทำงาน เปิดเครื่องดูว่ายัง"เปิดติดมีภาพอยู่หรือเปล่า" ก็สังเกตุเห็นว่าถ่าน Cmos ของบอร์ดหายไป  ก็คิดจะหยิบถ่าน CMOS ก้อนอื่นมาใส่ ก็ต้องหยุดคิดอยู่นิดนึงว่า"แล้วทำไมขั้วของ DV2000…

13 years ago