ซ่อมโน๊ตบุ๊ค อาการเปิดไม่ติด เปิดไม่ได้ (ตอนที่2) กดปุ่ม Power On แล้วไม่ทำงาน

  • สวัสดีครับเพื่อนๆที่รักทุกท่าน  คงต้องขอกล่าวขอโทษเพื่อนๆไว้ ณ ที่นี้นะครับที่ช่วงเดือนสองเดือนนี้ไม่ค่อยได้มีบทความใหม่ๆเข้ามาให้เพื่อนๆรับทราบกันเป็นความรู้เลย  ด้วยเหตุที่ผมต้องทำงานในหลายๆหน้าที่ รวมถึงงานในร้านซ่อม ก็มากขึ้นเป็นลำดับ  แต่ก็ไม่ลืมหรอกครับที่จะคอยนำความรู้ที่พอจะแนะนำให้เป็นแนวทางมานำเสนอต่อเพื่อนๆกันอย่างต่อเนื่องครับ
  • สำหรับในวันนี้ ผมจะพาเพื่อนๆ ทุกท่านเข้ามารับรู้ถึงสเต็ปขั้นตอนในการวิเคราะห์อาการเสีย ต่อจาก ตอนที่ 1 และการนำไปสู่การตรวจเช็คในส่วนวงจรกันในระดับหนึ่ง  ซึ่งต้องถือว่ามีหลากหลายวิธีที่จะใช้  แต่ก็จะพูดไปทั้งหมดก็ยังคงไม่สะดวก  เลยขอแบ่่งเป็นตอนๆ เพื่อให้เพื่อนๆลองปฏิบัติตามและหาวิธีแก้ไขปัญหา  อาจทำให้ประสบความสำเร็จในงานซ่อม และเป็นแนวทางได้นะครับ
  • อาการที่ผมนำมากล่าวในครั้งนี้ ก็คงจะต่อเนื่องกับอาการนี้ที่ได้พูดไว้ใน(ตอนที่1) ซึ่งต้องถือว่าเป็นแบบผู้ใช้ทั่วๆไปที่จะดูแล และแก้ไขได้ด้วยตนเองครับ  แต่สำหรับในวันนี้ (ตอนที่2) ผมได้หมายถึงวิธีการที่เพื่อนๆ ที่ชอบถอดตัวเครื่องออกมาแล้ว (เอาเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คออกมาแล้ว)  และเราก็จะเริ่มต้นการตรวจเช็คกันเลยนะครับ

อาการไฟจ่ายแต่ไม่ขึ้นภาพ (ตรวจเช็คในส่วนเมนบอร์ด)

ขั้นตอนปฏิบัติ

  • นำแผงเมนบอร์ดของโน๊ตบุ๊คที่เราแกะออกจากตัวเครื่องแล้ว  ออกมาหาที่วางนุ่มๆ  อาทิเช่นฟองน้ำ หนาๆ
  • ติดตั้ง CPU,RAM และแผงควบคุมการสั่งเปิดปิดเครื่องลงไป
  • เชื่อมต่อสายสัญญาณ DB-15 จากจอภาพภายนอก (เช่น จอ CRT หรือ LCD ที่ใช้กับเครื่องแบบตั้งโต๊ะ

นอกจากจากที่ได้กล่าวถึงนี้นะครับ เพื่อนๆ ไม่ควรจะเสียบอุปกรณ์ใดเข้าไปยุ่งเกี่ยวเพิ่มเติมอีก เช่น HardDisk,DVD-RW ,Battery,Keyboard,Touch Pad และอื่นๆ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ไม่ได้มีผลทำให้เกิดภาพแต่ประการใดครับ

  • เมื่อปฏิบัติตามสามข้อข้างต้นแล้ก็ขอให้เพื่อนๆทำการเสียบขั้วไฟจาก Adaptor สำหรับโน๊ตบุ๊คเครื่องนั้นๆนะครับ จากนั้นกดปุ่มสวิชท์ Power On ตอนนี้ไฟก็จะจ่ายเข้าเครื่องตามปรกติ  พัดลมของ CPU อาจจะหมุน  หรือยังไม่หมุน  หรือหมุนสักพักแล้วหยุดลง  อันนี้ก็แล้วแต่โน๊ตบุ๊คในแต่ละยี่ห้อ และแต่ละรุ่นนะครับ

รอประมาณ 10 วินาที เพื่อดูว่าได้ภาพหรือไม่

  • ตาคอยสังเกตุภาพที่จอที่เราต่อพ่วงไว้ หรืิออาจจะลุ้น โดยการดูที่ไฟสถานะของจอภาพ (ซึ่งในขณะที่ยังไม่มีภาพนั้นจะเป็นอีกสีนึง เช่น อาจเป็นน้ำเงิน หรือส้ม ซึ่งอาจกระพริบอยู่ก็ได้นะครับ  แต่เมื่อมีภาพก็จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว นิ่ง

ปรากฏว่าก็ยังไม่ได้ภาพอีกเหมือนเดิม จะทำยังไงกันต่อดี…

  • พอถึงตรงนี้ เราก็พอจะมั่นใจได้แล้วนะครับว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ มันอยู่แต่ในเมนบอร์ดอย่างเดียวเท่านั้น  เพราะเพื่อนๆ ได้ทำการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นไปแล้ว (ตามที่ผมได้พูดไว้ใน ตอนที่1)

ขั้นตอนการตรวจเช็คในวงจร

  • รูปด้านบนนี้ ผมนำมาให้เพื่อนๆดู ก็เพื่อให้ทราบถึงขาในตำแหน่งต่างๆ ของ ROM BIOS (ตามรูปด้านบน เป็นแบบ TSOP ) ผมกำลังจะให้เพื่อนๆทราบว่า ในเวลาที่เราจ่ายกระแสไฟเข้าเครื่องแต่ยังไม่ได้ออนเครื่อง(กดปุ่ม Power On) นั้น  เราสามารถใช้สโคป จับไปที่ขาสัญญาณ (Clk) ตัวถังแบบ TSOP จะมี Clk ที่ขา 7 เราจะเห็นรูปสัญญาณ เกิดขึ้น นั่นแสดงว่า เราพร้อมที่จะสั่งออนเครื่องได้แล้ว  แต่ถ้าไม่มี(ในบางรุ่น) ก็อาจเป็นเหตุผลที่เราไม่สามารถกด Power Sw เพื่อให้เครื่องทำงานได้นั่นเอง ***เป็นความเข้าใจของผู้จัดทำที่ตรวจซ่อมเครื่องและได้เก็บเป็นข้อมูลไว้นะครับ***

ตัวถังแบบ PLCC ขา Clk จะอยู่ที่ขา 31

 

 

ตัวถังแบบ SOic 8 ขา Clk จะอยู่ที่ขา 6


  • ห้ทำการกดปุ่ม Switch Power On เพื่อให้ไฟจ่ายในระบบ   จากนั้น
  • ให้ทำการวัดไฟที่ตำแหน่งขั้วแบตเตอรี่ ว่ามีไฟเลี้ยงที่ประมาณ 3.3 โวลท์บ้างหรือไม่ (ควรมีมา)
  • ให้ทำการตรวจวัดไฟที่ขาไฟของไบออส รอม (เช่นหากเป็นแบบ SO-IC8 ก็ตรวจวัดที่ขา 8 )ควรมีไฟมาเีลี้ยง 3.3 V.
  • ให้ทำการตรวจวัดไฟที่ตำแหน่ง C แบบมีขั้ว ที่อยู่รอบๆของฐานแรม ควรมีไฟเลี้ยงประมาณ 1.5 , 1.8 , 2.5 , หรือ 3.3 V. ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของแรมในเมนบอร์ดนั้นๆ ครับ
  • ให้ทำการตรวจวัดไฟที่ตำแหน่ง C แบบมีขั้ว ที่อยู่รอบๆของฐาน CPU ว่าควรมีไฟมาเลี้ยงประมาณ  1.XX V. หรืออาจต่ำกว่า 1.xx ไม่มาก ก็ไม่ถือว่าผิดปรกติ  (ดังรูปด้านล่างนี้ผมได้จับแรงไฟซีพียูให้เพื่อนๆดว่า จริงๆแล้ว ซีพียูแต่ละตัว ต่างสเป็คกัน แรงไฟ อาจแตกต่างกันไปนะครับ

  • ให้ใช้สโคปวัดความถี่ 33 MHz ที่  ที่อยู่ใกล้กับ Multi IO
  • ให้ใช้สโคปวัดความถี่ 14.3 MHz ที่ Cystal 14.3 ของ Clock Gen(เมื่อระบบไฟมีการจ่ายในเมนบอร์ดแล้ว)

ปฏิบัติตามนี้ก่อนนะครับ แล้วเดี๋ยวผมจะมาพูดต่อกันในตอนที่ 3 สวัสดีครับ

admin

View Comments

  • หวัดดีครับพี่ ผมอยากทราบว่ามีวิธีทำยังไงครับที่จะลง os xp กับ notebook Compaq CQ41-203tu ปิดงานไม่ได้ครับเซ็งมากเลย
    ขอบคุณมากครับ

  • อยากถามปัญหา อาการเสียของหน้าจอครับ หน้าจอโน็ตบุกกระพริบเป็นระยะครับแต่สิอะไรก็ครบหมดครับ พอกระพริบหน้าจอก็จะเลื่อนไปมาด้วยครับ ขอความกรุณาใช้ตอบขอข้องใจด้วยนะครับ

  • ถ้าวัดไฟรอบๆ CPU แลัวไฟมีแค่ 0.9xx V ควรทำงัยต่อครับ ท่าน Admin

  • อยากทราบอาการ เปิดติด ประมาณ5-10วิ แล้วดับ จอไม่ติด ถ้าใส่แบตเตอรี่ กดติดแล้วดับทุกที เสียบสายชาร์ตครั้งแรกเปิดติดแล้วดับ ครั้งต่อไปก็ติดแต่ไม่ดับ จอไม่ติด ครับอาการ
    เปิดครั้งที่สองถ้าเสียบสายชาร์ต จะติดไม่ดับ จอไม่ติด ถอดแรมมาทำความสะอาดแล้วก็เหมือนเดิม
    เป็น notebook compaq presario c700

  • คือผมอยากจะทราบวิธีแกะโน๊ตบุ๊ค พอจะมีลิ้งค์ให้ดูหน่อยได้มะครับ
    ขอแบบอย่างละเอียดนะครับ...compaq นะครับ v3000

  • ขอบคุณมากๆ บทความมีประโยชน์มาก จะมีตอนต่อๆไปอีกไหมเนี่ย จะรอนะคราบ

  • โน๊ตบุคเปิดไม่ติด เสียบปลั๊กแล้วไฟแสดง พอกดเปิดเครื่องแล้วไม่ติด
    มีวิธีซ่อมอย่างไรคับ

  • รบกวนถามหน่อยครับ กดเปิดเครื่องแล้วทุกอย่างทำงานพัดลมก็ติด แต่อยู่ดีๆๆพัดลมก็เหมือนดับไปหน้าจอก็ไม่ติด (ไม่ติดแต่แรก) อย่าทราบว่าเพราะอะไร และจะแก้ไขอย่างไงครับ ขอบคุณมากครับ

  • อาการของโน๊ตบุ๊คtoshiba เวลาเราเปิดเครื่องแล้วภาพไม่ออกจอหลักแต่ไปออกจอที่เราต่อพ่วงสาเหตุเป็นเพราะอะไรครับ

Recent Posts

SPI Flash ROM ที่เครื่องFlash PCB50 สามารถเขียนได้

เบอร์ของ SPI Flash ROM ที่มีใช้ๆกัน ในทุกๆ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็คทรอนิคส์ รวมถึงโน๊ตบุ๊ค tablet ,Desktop PC , Mobile SPI…

12 years ago

โน๊ตบุ๊คเปิดแล้วดับเอง #ตอนที่ 2 (วิธีการตรวจวัดความร้อนโน๊ตบุ๊คตัวเก่งของเรา)

สวัสดีครับเพื่อนสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่านครับ  เคยตั้งคำถามกันใช่ไม๊ครับว่า "ทำไมเครื่องโน๊ตบุ๊คของเราเวลาที่ถูกใช้ไปนานๆ หรือเวลาที่เล่นเกมส์ที่ใช้กราฟฟิคสูงๆ  บางทีเครื่องก็ดับไปเองเลย..." สาเหตุหลักๆเลยครับ... คือเรื่องของการระบายความร้อนของเครื่องโน๊ตบุ๊คของเรา ดังที่ผมได้เคยเขียนบทความเกี่ยวกับ โน๊ตบุ๊คเปิดแล้วดับเอง ตอนที่ 1 (ปัญหาจากความร้อน) สำหรับในตอนที่…

13 years ago

เมื่อวงจรภาคไฟแหล่งจ่ายมีการช้อตเกิดขึ้น

สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่า   วันนี้ผมได้ update ความรู้ในเรื่องของการใช้เครื่องมือสักเรื่องนะครับ  อุปกรณ์ชิ้นนี้คือ Regulator Atten APS3005S ในฐานะที่เราเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊ค  เมื่อเราต้องการจะจ่ายกระแสไฟเข้าสู่เมนบอร์ดของโน๊ตบุ๊คเพื่อทดสอบการทำงาน  แต่ปรากฏว่าเมื่อทำการเสียบสายของ อะแดปเตอร์เข้าไปแล้ว…

13 years ago

USB notebook เสียใช้ไม่ได้ เสียบาง port เสียทุก port จะซ่อมกันยังไง(ตอนที่ 2) RT9711 Power switches

สวัสดีครับเพื่อนๆชาว repair-notebook.com ทุกท่าน เช้าวันเสาร์ที่ 12/05/2555 ผมได้นำความรู้มาแนะนำกันอย่างเช่นเคยครับ  บทความในวันนี้เป็นเรื่องของ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์เล็กตัวหนึ่งที่อยู่บนบอร์ดของโน๊ตบุ๊ค  ซึ่งเพื่อนสมาชิกช่างใหม่ ช่างเก่า หรือท่านผู้สนใจทุกท่านอาจจะไม่ได้ให้ความสนใจกับเจ้าตัวนี้กันซะเท่าไหร่   แต่วันนี้ต้องขอนำมากล่าวตรงนี้เพราะว่า อาการที่เกิดขึ้นกับโน๊ตบุ๊คของเพื่อนๆนั้นก็คือ "USB…

13 years ago

CMOS Battery รูปแบบต่างๆที่อยู่ในโน๊ตบุ๊ค

เราทราบกันดีอยู่แล้วครับว่า ระบบปฏิทินวันที่ และค่าความจำพื้นฐานที่เราได้ทำการตั้งค่าใน BIOS นั้น จะถูกเก็บไว้ในส่วนของหน่วยความจำของชิพ ซึ่งมี CMOS Battery จ่ายกระแสเลี้ยงตลอดเวลา ซึ่งรวมถึงในขณะที่เครื่องไม่ได้ถูกใช้งานด้วย ซึ่งจะทำให้ระบบความจำ หรือการโปรแกรมตารางนัดหมาย การจัดการในระบบ เพื่อให้เป็นไปตามช่วงเวลาในแต่ละช่วงๆ…

13 years ago

ขั้วถ่าน CMOS Battery โน๊ตบุ๊ค ตระกูล DV2000

สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่าน วันนี้นั่งทำงานซ่อมอยู่ก็เลยนึกจะเขียนบทความขึ้นมาให้เป็นความรู้แก่ทุกท่านสักบทความนึง...ตามองไปเห็นบอร์ด DV2000 ซึ่งคิดอยู่ว่าเดี๋ยวจะนำขึ้นมาทดสอบการทำงาน เปิดเครื่องดูว่ายัง"เปิดติดมีภาพอยู่หรือเปล่า" ก็สังเกตุเห็นว่าถ่าน Cmos ของบอร์ดหายไป  ก็คิดจะหยิบถ่าน CMOS ก้อนอื่นมาใส่ ก็ต้องหยุดคิดอยู่นิดนึงว่า"แล้วทำไมขั้วของ DV2000…

13 years ago