การใช้เครื่อง Flash BIOS PCB-50 (การลบ และ การเขียนโปรแกรมลง ROM)

  • สวัสดีครับเพื่อนๆชาว repair-notebook.com ทุกท่านครับสำหรับในวันนี้ผมได้อัพเดรทบทความ  โดยมาให้ความสำคัญกับเครื่องโปรแกรม ROM ของ PCB-50 กันต่อนะครับ เพราะเพื่อนๆหลายๆท่านที่สั่งซื้อจากทางเว๊ปไปเป็นจำนวน หลายร้อยท่าน(สำหรับปี 2553) ทำให้ผมต้องทำการอัพเดรทความรู้ในเรื่องของ PCB ให้มากขึ้น

วิธีการใช้เครื่องโปรแกรมรอม PCB-50

เริ่มต้นเป็นการทบทวนและแนะนำการใช้เครื่องเพื่อโปรแกรม ROM กันอีกครั้งสำหรับ SPI Flash เบอร์ 25L3205

การติดตั้ง Adaptor SPI Flash 209 mm. ลงใน Socket บนเครื่อง โปรแกรม PCB-50

ขั้นตอนการเลือกยี่ห้อ และเบอร์ ROM Memory

รูปภาพประกอบที่ 1 การเลือกเบอร์ Chip ที่จะโปรแกรม

  • จากรูปภาพประกอบที่ 1 นะครับ  อันดับแรกเลยนะครับที่หลังจากเราได้เปิดโปรแกรมสำหรับเขียน ROM ขึ้นมาแล้ว ก็คือเราจะต้องเลือก Device Name ซึ่งสำหรับตัวอย่างนี้ ผมใช้เป็นเบอร์ MX25L3205 ซึ่ง เป็นรอมชนิด SPI Flash  อ่านข้อมูลเบอร์ ROM นี้ได้ที่ลิ้งค์นี้เลยนะครับ

เบอร์ ROM นี้เป็นของบริษัท MXic ผมจึงคลิ๊กเลือกไป SPI Flash ROM (1) จากนั้นจึงเลือกยี่ห้อ MXic (2) และเลือกเบอร์ MX15L3205 (3)

รูปภาพประกอบที่ 2 การเลือก Dip switch

จากรูปภาพประกอบที่ 2 ให้เราเลือก Dip Switch ที่อยู่บนเครื่อง Flash ลงมาทั้งหมดตามรูป ที่ปรากฎบนหน้าจอของโปรแกรมตามรูปนะครับ (ขั้นตอนที่ 4)

ขั้นตอนการ Read ROM (อ่าน)

รูปภาพประกอบที่ 3 การ Read (อ่าน)

  • จากรูปภาพประกอบที่ 3 ให้เราทำการคลิ๊กที่ขั้นตอนที่ 5 ซึ่งจะเป็นการเริ่มอ่าน chip (เราจะเห็นสถานะแจ้งการทำงานอยู่ทางด้านล่างของหน้าต่างโปรแกรมนะครับ)

รูปภาพประกอบที่ 4 (ข้อมูลที่อ่านได้ ถูกเก็บไว้ใน buffer)

  • จากรูปภาพประกอบที่ 4 เป็นผลที่ได้จากการอ่านตัว chip ที่ได้กระทำในรูปที่ 3 ซึ่งเพื่อนๆจะเห็นข้อมูลเป็นรหัส Ascii  หากเพื่อนๆต้องการจะเก็บข้อมูลเหล่านี้ก็ทำการบันทึกเก็บเป็นไฟล์ได้เลยครับ โดยคลิ๊กที่ไอคอนการบันทึก ที่เป็นรูปแผ่นดิสก์นะครับ

ขั้นตอนการ Save ข้อมูลที่อ่านได้

รูปภาพประกอบที่ 5 เป็นการบันทึกข้อมูลใน  bufferเก็บไว้

  • เพื่อนๆที่ต้องการจะเก็บข้อมูลที่อ่านได้ ก็ให้ทำการบันทึก  เก็บเป็นไฟล์ไว้เพื่อในคราวต่อๆไปได้ครับ(หากไฟล์ที่อ่านในรอมนั้นไม่เสียหายนะ ก็ควรเก็บครับ)

ขั้นตอนการ Erase ROM (ต้องลบก่อนทุกครั้ง จึงจะเขียนข้อมูลในROM ได้นะครับ)

รูปภาพประกอบที่ 6 การ Erase (ลบ)

  • จากรูปภาพประกอบที่ 6 ให้เพื่อนๆที่ต้องการจะลบ คลิ๊กที่ไอคอนทางด้านขวาสุด (ขั้นตอนที่ 6)

ต้องมั่นใจว่าจะลบนะครับ

เพราะโปรแกรมจะไม่มีการเตือนว่าจะลบ หรือไม่ลบ เพราะเมื่อกดปุ๊บ ก็จะลบทันทีเลย ตรงนี้อันตรายนะครับ ต้องเตือนไว้ก่อน

รูปภาพประกอบที่ 7 การรายงานสถานะว่า ลบเรียบร้อยแล้ว

  • เพื่อนๆที่ทำการลบตามรูปภาพที่ 6 แล้ว เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนจะได้ดังรูปที่ 7 ที่จะมีคำแจ้งว่า erase completed by…… นั่นแสดงว่าชิพถูกลบแล้วนะครับ
  • หากต้องการตรวจสอบ ก็ให้กลับไปทำในขั้นตอนที่เป็นเรื่องของการอ่านชิพอีกครั้ง ครับ   แต่ครั้งนี้ เราจะไม่เห็นข้อมูลปรากฎใน buffer เพราะว่าชิพถูกลบไปแล้วไงครับ

ขั้นตอนการ Load Files ROM

รูปภาพประกอบที่ 8 การเขียน ROM

  • จากรูปภาพประกอบที่ 8 เพื่อนๆต้องทำการไปเปิดไฟล์รอมที่จะเขียนก่อนนะครับ โดยคลิ๊กที่รูปไอคอน (ขั้นตอนที่ 7) และเลือกไฟล์รอมที่ต้องการ (ขั้นตอนที่ 8) และคลิ๊ก Open (ขั้นตอนที่ 9) จากนั้นจะได้ข้อมูลของไฟล์รอมนั้นๆปรากฎที่ ช่องของ Buffer เป็นรหัส Ascii นะครับ  จากนั้นก็จะข้ามไปที่การโปรแกรมเลยครับ

ขั้นตอนการ Program ROM (เขียนรอม)

รูปภาพประกอบที่ 9 การเขียนรอม

  • เพื่อนๆที่ทำการโหลดข้อมูลของรอมลงมาเก็บไว้ใน buffer แล้วนะครับ  ขั้นตอนนี้จะเป็นการเขียนข้อมูลเหล่านั้นลงไปในตัวรอมที่เราต้องการ โดยจากรูปให้เราคลิ๊กที่ไอคอนของการ Program (ขั้นตอนที่ 10) โปรแกรมก็จะเริ่มเขียน จบครบ 100 %

ขั้นตอนการ Verify ROM (ตรวจสอบความถูกต้อง)

รูปภาพประกอบที่ 10 การ Verify

  • เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำงานครับ  เมื่อมีการเขียนแล้ว โปรแกรมจะดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องให้อีกครั้งโดยจะทำการ Verify ระหว่างข้อมูลที่เขียนลง ROM กับข้อมูลที่อยู่ใน buffer ว่าถูกต้องตรงกันหรือไม่ มีการเขียนไม่ครบหรือขาดไปหรือไม่นะครับ  แถบสีเขียวจะวิ่งครบ 100% จึงจะจบขั้นตอน และนำ ROM ไปใช้ได้ครับ

ขั้นตอนตรวจสอบข้อมูลในรอมหลังการเขียน

ให้เพื่อๆ ทำการ clear buffer ก่อนครับ แล้วทำการอ่านใหม่อีกครั้ง

เมื่อ cleard buffer ข้อมูลใน buffer จะถูกล้างไป (สามารถ load ได้ใหม่จากไฟล์ที่บันทึกไว้ครับ)

จากนั้นให้อ่าน rom ใหม่อีกครั้ง จะต้องมีข้อมูลปรากฎใน buffer ครั้ง

สอบถามการใช้เครื่อง และวิธีการเขียน ROM แบบ และเบอร์ต่างๆ เขียนมาคุยกันได้นะครับคลิ๊กที่นี่เลยครับ

สั่งซื้อเครื่องโปรแกรม PCB-50 คลิ๊กที่นี่ครับ

admin

View Comments

Recent Posts

SPI Flash ROM ที่เครื่องFlash PCB50 สามารถเขียนได้

เบอร์ของ SPI Flash ROM ที่มีใช้ๆกัน ในทุกๆ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็คทรอนิคส์ รวมถึงโน๊ตบุ๊ค tablet ,Desktop PC , Mobile SPI…

12 years ago

โน๊ตบุ๊คเปิดแล้วดับเอง #ตอนที่ 2 (วิธีการตรวจวัดความร้อนโน๊ตบุ๊คตัวเก่งของเรา)

สวัสดีครับเพื่อนสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่านครับ  เคยตั้งคำถามกันใช่ไม๊ครับว่า "ทำไมเครื่องโน๊ตบุ๊คของเราเวลาที่ถูกใช้ไปนานๆ หรือเวลาที่เล่นเกมส์ที่ใช้กราฟฟิคสูงๆ  บางทีเครื่องก็ดับไปเองเลย..." สาเหตุหลักๆเลยครับ... คือเรื่องของการระบายความร้อนของเครื่องโน๊ตบุ๊คของเรา ดังที่ผมได้เคยเขียนบทความเกี่ยวกับ โน๊ตบุ๊คเปิดแล้วดับเอง ตอนที่ 1 (ปัญหาจากความร้อน) สำหรับในตอนที่…

12 years ago

เมื่อวงจรภาคไฟแหล่งจ่ายมีการช้อตเกิดขึ้น

สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่า   วันนี้ผมได้ update ความรู้ในเรื่องของการใช้เครื่องมือสักเรื่องนะครับ  อุปกรณ์ชิ้นนี้คือ Regulator Atten APS3005S ในฐานะที่เราเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊ค  เมื่อเราต้องการจะจ่ายกระแสไฟเข้าสู่เมนบอร์ดของโน๊ตบุ๊คเพื่อทดสอบการทำงาน  แต่ปรากฏว่าเมื่อทำการเสียบสายของ อะแดปเตอร์เข้าไปแล้ว…

12 years ago

USB notebook เสียใช้ไม่ได้ เสียบาง port เสียทุก port จะซ่อมกันยังไง(ตอนที่ 2) RT9711 Power switches

สวัสดีครับเพื่อนๆชาว repair-notebook.com ทุกท่าน เช้าวันเสาร์ที่ 12/05/2555 ผมได้นำความรู้มาแนะนำกันอย่างเช่นเคยครับ  บทความในวันนี้เป็นเรื่องของ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์เล็กตัวหนึ่งที่อยู่บนบอร์ดของโน๊ตบุ๊ค  ซึ่งเพื่อนสมาชิกช่างใหม่ ช่างเก่า หรือท่านผู้สนใจทุกท่านอาจจะไม่ได้ให้ความสนใจกับเจ้าตัวนี้กันซะเท่าไหร่   แต่วันนี้ต้องขอนำมากล่าวตรงนี้เพราะว่า อาการที่เกิดขึ้นกับโน๊ตบุ๊คของเพื่อนๆนั้นก็คือ "USB…

13 years ago

CMOS Battery รูปแบบต่างๆที่อยู่ในโน๊ตบุ๊ค

เราทราบกันดีอยู่แล้วครับว่า ระบบปฏิทินวันที่ และค่าความจำพื้นฐานที่เราได้ทำการตั้งค่าใน BIOS นั้น จะถูกเก็บไว้ในส่วนของหน่วยความจำของชิพ ซึ่งมี CMOS Battery จ่ายกระแสเลี้ยงตลอดเวลา ซึ่งรวมถึงในขณะที่เครื่องไม่ได้ถูกใช้งานด้วย ซึ่งจะทำให้ระบบความจำ หรือการโปรแกรมตารางนัดหมาย การจัดการในระบบ เพื่อให้เป็นไปตามช่วงเวลาในแต่ละช่วงๆ…

13 years ago

ขั้วถ่าน CMOS Battery โน๊ตบุ๊ค ตระกูล DV2000

สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่าน วันนี้นั่งทำงานซ่อมอยู่ก็เลยนึกจะเขียนบทความขึ้นมาให้เป็นความรู้แก่ทุกท่านสักบทความนึง...ตามองไปเห็นบอร์ด DV2000 ซึ่งคิดอยู่ว่าเดี๋ยวจะนำขึ้นมาทดสอบการทำงาน เปิดเครื่องดูว่ายัง"เปิดติดมีภาพอยู่หรือเปล่า" ก็สังเกตุเห็นว่าถ่าน Cmos ของบอร์ดหายไป  ก็คิดจะหยิบถ่าน CMOS ก้อนอื่นมาใส่ ก็ต้องหยุดคิดอยู่นิดนึงว่า"แล้วทำไมขั้วของ DV2000…

13 years ago