-
คำเตือน..เครื่องมือที่ใช้ถอดตามวีดีโอนี้ เป็นเครื่องรุ่น R5860 หัวลมร้อน ล่าง บน หากเป็นเครื่องมืออื่นที่ไม่ใช่หัวลมร้อน ล่างบน อาจเกิดความเสียหายตาม Socket CPU ได้ จึงแจ้งมาเพื่อทราบนะครับ
- สวัสดีครับเพื่อนๆที่รักทุกท่าน หายกันไปนานครับสำหรับการเพิ่มบทความดีๆมีความรู้เข้าสู่เว๊ป repair-notebook อาจจะไม่ค่อยจะมีเวลาเตรียมเอกสารในการเขียนมากนัก เลยทำให้ช่วงหลังๆนี้ บทความรู้ต่างๆไม่ค่อยจะมีเพิ่ม ซึ่งตรงนี้ในส่วนตัวผมเองก็ทราบดี แต่ผมก็คงไม่ทิ้งเว๊ป repair-notebook นี้ไปหรอกครับ ยังไงแล้ว ก็จะต้องมีบทความอัพเดรทกันใหม่ๆ ให้ตลอดไปเรื่อยๆ นั่นแหละครั
- สำหรับในวันนี้ หากผมไม่พูดก็คงจะไม่ได้แล้วหละครับสำหรับเรื่องของ NEC-TOKIN ซึ่งเป็นชื่อที่ปรากฎอยู่บนตัวอุปกรณ์ที่ถูกเรียกว่า Condensor ชนิด Poardlizer ผลิตโดยบริษัท nec-tokin ครับ ตัวนี้ทำหน้าที่ในการกรองกระแสไฟให้แก่ CPU ให้เรียบที่สด มีองค์ประกอบของ Condensor ชนิดต่างๆ อยู่ภายในตัว ทั้งประเภท Fast speed low speed ก็นั่นแหละครับ เขาออกแบบมาเพื่อให้เป็น Packetes เดียวเพื่อสะดวกต่อการซ่อมแซม (เอ้อ…แล้วทำไมออกแบบมาแล้วต้องให้มานั่งซ่อมกันอีกนะ..) ปรกติที่ใต้ฐานซีพียูนั้น ในเมนบอร์ดหลายๆยี่ห้อที่ไม่ได้ใช้ NEC-TOKIN เราจะเห็น C ตัวเล็กวางเรียงกันอยู่มากว่า 30 ตัว ซึ่งนั่นแหละครับ มันต่อขนานกันอยู่ เพื่อให้ได้ความจุสูง (แต่ละตัวของ C ที่อยู่ใต้ฐาน CPU นั้น ความจุต่อตัว ประมาณ 10 uF และก็มี C ตัวความจุสูงอีกประมาณ 3-4 ตัว ที่วางอยู่ อาจจะด้านใน และหรือด้านนอก)
- การออกแบบนั้นเพื่อให้ C ตัวใหญ่ที่มีความจุสูง แล้วนำมาขนานกันจะได้ความจุสูงขึ้น เช่น C ตัวใหญ่ 1 ตัวความจุ 330 uF ขนานกัน 4 ตัว จะได้ความจุ 1200 uF และ ขนานกับ C ตัวเล็ก ความจุตัวละ 10 uF อีก 30 ตัว จะได้ความจุรวมของ C ตัวเล็กเท่ากับ 300uF ก็จะทำให้มีความจุของ C ใต้ฐาน CPU รวมเท่ากับ ความจุรวมของ C ตัวใหญ่ บวก กับ ความจุรวมของ C ตัวเล็ก ซึ่งจะได้เท่ากับ 1200 + 300 uF = 1500 uF นั่นเองครับ
- เมื่อความจุ หรือคุณภาพของ C มีความบกพร่องลง เช่น เสื่อมค่า ความจุ ลด หรือช้อต ก็จะมีผลต่อการทำงานในด้านการกรองกระแสไฟที่จะไปเลี้ยง CPU ซึ่งจะมีผลต่างๆ นาๆ ที่เราอาจจะได้เคย ได้ยิน เช่น เข้าวินโดว์แล้ว ค้าง เข้าวินโดว์แล้วเครื่องดับ เข้า วินโดว์แล้ว Restart ตัวเอง หรือที่เจอกันในโน๊ตบุ๊ค ก็จะเป็นเครื่องในยี่ห้อ Toshiba ที่นิยมใช้ NEC-TOKIN กันมากที่สุด อาการสุดฮิตของเขาก็คือ ใช้งานด้วยแบตเตอรี่ ก็ราบรื่นดีตลอด แต่พอเสียบ Adaptor จ่ายไฟให้โน๊ตบุ๊ค เครื่องอาจจะเกิด จอลาย หรือดับไปเลยก็มีให้เจอกันบ่อยๆนะครับ
- รายละเอียดเกี่ยวกับ NEC-TOKIN หาอ่านได้จากที่นี่เพิ่มเติมครับ
รูปนี้ให้ทาฟลั๊กครีม รอบๆตัวของ NEC-TOKIN
รูปนี้เป็นการใช้ไม้แตะๆดูรอบตัวของ NEC-TOKIN ว่าพอจะเขยื่อนตัวได้หรือยัง
รูปนี้แสดงให้เห็นถึงอุณหภูมิของลมร้อนที่ nozzle ด้านล่างตัว NEC-TOKIN ว่าใช้ที่ 287 องศาเซลเซียส(กรอบสีเหลือง)
เมื่ออุณหภูมิได้ที่(ประมาณ 300องศาเซลเซียส) เราก็สามารถยก NEC-TOKIN ขึ้นมาจากบอร์ดได้แล้วครับ
ดูวีดีโอที่ผมทำไว้นะครับ
ส่วนสำหรับการวาง ก็ใช้วิธีเดียวกัน คือใช้ความร้อนจากทางด้านล่างของเครื่องยกชิพเท่านั้นแหละครับ …(SOCKET CPU ทนได้ถึง 300 องศาเซลเซียส อย่างสบายๆเลยหละ) อ้อ แต่อย่าใช้เครื่องเป่าลมร้อนนะครับ SOCKET CPU ละลายอย่างเดียวเลยหละ
ของกระผมเป็นแบบข้อ 1 ต้องแก้ไขยังงัยบ้างครับ อาการน่าจะเป็นที่ แบล็คไลท์ ช่วยหน่อยนะครับ
คาดว่า M74T ในส่วนของ DC in คงจะทางไฟขาดอยู่หรือเปล่า หากเป็นช่างก็ดู ตรง L เฟอร์ไรท์ หลัง DC In ครับ เพราะเห็นบอกว่าใช้แบตได้อยู่ แต่ถ้าแบตหมดเมื่อไหร่ก็จะใช้ไม่ได้เลย เพราะว่าไฟจาก Adaptor ไม่ชาร์จเข้ามานะครับ
รบกวนหน่อยครับ ผมใช้โน๊ตบุกยี่ห้อ SVOA M74T อะครับ พอเสียบไอ้อแดปเตอร์เข้าตัวเครื่องโน๊ตบุ๊กไฟก้อไม่เข้าเครื่องอะคับ สัญญานไปแสดงการชาร์จก้อไม่ขึ้นด้วยครับ แต่เครื่องก้อยังใช้แบตที่เหลือยังใช้ได้ปกตินะคับ เป็นเพราะอะไรอะ
ดีครับ ไม่ทราบว่าพอจะมีงานเกียวกับช่างคอมฯ ให้ผมฝึกงานไหมครับ??
โน้ตบุ้คยี่ห้อ acer ค่ะ ไปซื้อแบตเตอรี่มาเปลี่ยน ปรากฎว่า แบตฯไม่จ่ายไฟ เลยไปติดต่อเคลมแบตฯ ที่ร้าน ซึ่งที่ร้านก็ลองเปลี่ยนแบตฯ ให้หลายตัวมาก ปรากฎว่า เกิดอาการเดียวกัน คือเมื่อถอดสายไฟออก เครื่องจะเปิดได้อีกประมาณ 5 นาทีแล้วก็ดับไปเลยค่ะ