ซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ควรอ่านวงจร (schematic) ให้เป็นนะครับ..

  • สวัสดีครับเพื่อนๆชาว repair-notebook.com ทุกท่าน ห่างเหินกันไปนานมากเลย ที่ทางผมไม่ค่อยได้มาเขียนบทความให้เพื่อนๆและผู้สนใจได้รับทราบกัน แต่ในวันนี้ผมได้มีบทความดีๆอีกเช่นเคยที่จะนำเสนอต่อเพื่อนสมาชิกทุกท่านให้รับทราบเป็นความรู้และแนวทางกัน ดังหัวเรื่อง “ซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ควรอ่านวงจร (schematic) ให้เป็นนะครับ”
  • มีเรื่องเปรียบเปยให้ฟังเล่นๆ อย่าซีเรียสกันนะครับ…”เขาบอกว่า ช่างที่อยู่ในแหล่งการซ่อมที่มีเครื่องเข้ามาจำนวนมากๆ เขาจะไม่ค่อยจะสนใจในเรื่องของการอ่าน หรือไล่ทางไฟ ทางสัญญาณกันในวงจรกันหรอกครับ เพราะเขาจะถือว่าไร้สาระ… มัวแต่มานั่งไล่ทางไฟ ก็วันหนึ่งคงได้ไม่ถึงสองเครื่องหรอก    ท่านเหล่านั้น เมื่อได้รับเครื่องเข้ามา  เขาก็จะดูจากอาการ แล้วก็ตีสรุปวัดดวงด้วยประสบการณ์ที่สะสมมาอย่างโชคโชนในชีวิตการซ่อม  …เช่น อาการไฟจ่ายปรกติ  แต่ภาพไม่ขึ้น  เขาก็ไม่สนใจจะไล่ดูว่าไฟมาครบหรือไม่ครบหรอก…เขาก็นำไปอบ Southbridge พออบแล้วไม่เกิด…เขาก็ถอดออกไป Reball ตะกั่วกันใหม่  …พอไม่เกิด …เขาก็เอาชิพตัวนั้นอกไปลองวางที่เครื่องอื่น(คือเขาอาจมีเครื่องต้นแบบเยอะ) แล้วปรากฏว่าวางเครื่องอื่นผ่าน  ก็ทำให้ท่านเหล่านั้น หันเหความสนใจ ไปมุ่งที่ชิพตัวอื่นแทน แล้วก็ทำแบบเดิมอีก…ไปเรื่อยๆ  พอไม่ผ่านจริงๆ แล้ว ก็บอกว่าซ่อมไม่ได้ ส่งคืนลูกค้า”
  • ซึ่งในความเป็นจริงของหลักการซ่อมแล้วนั้น  เมื่อเครื่องที่ได้รับซ่อมเข้ามา ลูกค้าจะแจ้งอาการเสีย ผู้ซ่อมก็จะต้องทำการเปิดทดลองดูว่าเป็นจริงตามแจ้งหรือไม่  และควรดูเรื่องการแตกหักเสียหาย ไหม้ ฯลฯ มีการวัดแรงไฟในจุดต่างๆ ของบอร์ด เพื่อดูความพร้อมของระบบไฟ จะได้ไม่ผิดพลาด
  • เรื่องก็จะมีอยู่ว่าช่างใหม่ช่างเก่าที่จะเป็นช่างซ่อมเมนบอร์ดที่ดีมีความเข้าใจในส่วนโครงสร้างการทำงานขเมนบอร์ดในภาคการทำงานต่างๆให้ดีด้วย อาจดีในระดับหนึ่ง หรือไม่ต้องมากก็ได้ แต่ต้องดูแล้วให้เข้าใจ ว่า สัญญาลักษณ์นั้นๆคือตัวอุปกรณ์ใด มีการต่อจากจุดไหน ไปจุดไหน ผ่านอะไรบ้าง  มีแรงไฟในแต่ละจุดกีโวลท์  มีสัญญาณ(signal) กีเฮิร์ท ในแต่ละจุดมันทำงานได้เลยไม๊ หรือว่าต้องมีคำสั่งจากที่ไหนมาสั่งให้มันทำงาน  และหรือว่าหลักการทำงานของมันนั้นจะเกิดขึ้นได้มันมีขั้น มีตอนอย่างไร ฯลฯ  และความสำคัญอีกหลายๆ เรื่องที่ผมอาจไม่ได้นำมาแจงตรงนี้  แต่ก็โดยสรุปแล้ว มันมีประโยชน์อย่างมากๆ ครับ

 

  • จากตัวอย่างวงจรของ ด้านบนนี้  เราจะเห็นถึง การนำสัญญาลักษณ์ของอุปกรณ์อิเล็คมาเชื่อมต่อกันให้เป็นขั้นตอนการทำงาน ตามคุณสมบัติ และหน้าที่ของอุปกรณ์นั้นๆครับ  เช่นตำแหน่ง J_RTC1 จะเป็นขั้วคอนเน็คเตอร์สำหรับเสียบถ่าน CMOS Backup เราจะเห็นว่ามีสองขั้ว ขั้วตำแหน่งที่ 1 เป็นไฟบวก ซึ่งจะมีไฟเลี้ยงอยู่ 3 โวลท์(ข้อมูลของ Litium CR2032) จ่ายกระแสผ่าน R528  และผ่าน ไดโอดตัวนึง ฯลฯ ประมาณ นั้น  และอย่างเช่น ขาที่สองของขั้วถ่าน จะถูกต่อลงกราวด์ ฯ อย่างนี้เป็นต้นครับ
  • เวลาที่เกิดอาการเสียเกิดขึ้น  เราไปมองในวงจร เราก็ต้องอึ้ง เพราะบางที ขาแต่ละขา มันไม่ได้ลากโยงกันให้เห็นบนเมนบอร์ด แต่มันจะดำดิ่งหายไป และโผ่ลด้านหลังบ้าง ….ไปโผล่กันไกลๆบ้าง ,,ทำให้เราไม่สามารถที่จะหาตัวเสียได้อย่างเร็ว  แต่พอได้มาไล่ทาง schematic กันดู เราก็จะร้องอ๋อ ได้ทันที เพราะเห็นว่า ตัวนั้น ตัวนั้น ต่อกันอย่างไร  ทั้งๆที่บนบอร์ดจริง ลายวงจรมันดิ่งหายไป  อย่างนี้เป็นต้นนะครับ…
  • สรุปก็คือ  การเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊คที่ดี และเก่ง นอกจากประสบการณ์ส่วนตัวของแต่ละท่านแล้ว  ก็ยังต้องอาศัยวงจร เป็นส่วนของการช่วยในการวิเคราะห์เส้นทาง และการทำงาน รวมถึงหาอุปกรณ์ที่เราอาจมองไม่เห็นได้จากตำแหน่งจริงได้  ดังนั้น ผมจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เพื่อนสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านคงให้ความสำคัญต่อการอ่านวงจรกันให้มากขึ้นนะครับ…เพราะว่ามันเป็นของคู่กันของช่างซ่อมอย่างเราๆครับผม…

คลิ๊กที่นี่ เพื่อ download schematic notebook all brand 1 GB.

 

admin

Recent Posts

SPI Flash ROM ที่เครื่องFlash PCB50 สามารถเขียนได้

เบอร์ของ SPI Flash ROM ที่มีใช้ๆกัน ในทุกๆ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็คทรอนิคส์ รวมถึงโน๊ตบุ๊ค tablet ,Desktop PC , Mobile SPI…

12 years ago

โน๊ตบุ๊คเปิดแล้วดับเอง #ตอนที่ 2 (วิธีการตรวจวัดความร้อนโน๊ตบุ๊คตัวเก่งของเรา)

สวัสดีครับเพื่อนสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่านครับ  เคยตั้งคำถามกันใช่ไม๊ครับว่า "ทำไมเครื่องโน๊ตบุ๊คของเราเวลาที่ถูกใช้ไปนานๆ หรือเวลาที่เล่นเกมส์ที่ใช้กราฟฟิคสูงๆ  บางทีเครื่องก็ดับไปเองเลย..." สาเหตุหลักๆเลยครับ... คือเรื่องของการระบายความร้อนของเครื่องโน๊ตบุ๊คของเรา ดังที่ผมได้เคยเขียนบทความเกี่ยวกับ โน๊ตบุ๊คเปิดแล้วดับเอง ตอนที่ 1 (ปัญหาจากความร้อน) สำหรับในตอนที่…

12 years ago

เมื่อวงจรภาคไฟแหล่งจ่ายมีการช้อตเกิดขึ้น

สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่า   วันนี้ผมได้ update ความรู้ในเรื่องของการใช้เครื่องมือสักเรื่องนะครับ  อุปกรณ์ชิ้นนี้คือ Regulator Atten APS3005S ในฐานะที่เราเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊ค  เมื่อเราต้องการจะจ่ายกระแสไฟเข้าสู่เมนบอร์ดของโน๊ตบุ๊คเพื่อทดสอบการทำงาน  แต่ปรากฏว่าเมื่อทำการเสียบสายของ อะแดปเตอร์เข้าไปแล้ว…

12 years ago

USB notebook เสียใช้ไม่ได้ เสียบาง port เสียทุก port จะซ่อมกันยังไง(ตอนที่ 2) RT9711 Power switches

สวัสดีครับเพื่อนๆชาว repair-notebook.com ทุกท่าน เช้าวันเสาร์ที่ 12/05/2555 ผมได้นำความรู้มาแนะนำกันอย่างเช่นเคยครับ  บทความในวันนี้เป็นเรื่องของ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์เล็กตัวหนึ่งที่อยู่บนบอร์ดของโน๊ตบุ๊ค  ซึ่งเพื่อนสมาชิกช่างใหม่ ช่างเก่า หรือท่านผู้สนใจทุกท่านอาจจะไม่ได้ให้ความสนใจกับเจ้าตัวนี้กันซะเท่าไหร่   แต่วันนี้ต้องขอนำมากล่าวตรงนี้เพราะว่า อาการที่เกิดขึ้นกับโน๊ตบุ๊คของเพื่อนๆนั้นก็คือ "USB…

13 years ago

CMOS Battery รูปแบบต่างๆที่อยู่ในโน๊ตบุ๊ค

เราทราบกันดีอยู่แล้วครับว่า ระบบปฏิทินวันที่ และค่าความจำพื้นฐานที่เราได้ทำการตั้งค่าใน BIOS นั้น จะถูกเก็บไว้ในส่วนของหน่วยความจำของชิพ ซึ่งมี CMOS Battery จ่ายกระแสเลี้ยงตลอดเวลา ซึ่งรวมถึงในขณะที่เครื่องไม่ได้ถูกใช้งานด้วย ซึ่งจะทำให้ระบบความจำ หรือการโปรแกรมตารางนัดหมาย การจัดการในระบบ เพื่อให้เป็นไปตามช่วงเวลาในแต่ละช่วงๆ…

13 years ago

ขั้วถ่าน CMOS Battery โน๊ตบุ๊ค ตระกูล DV2000

สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่าน วันนี้นั่งทำงานซ่อมอยู่ก็เลยนึกจะเขียนบทความขึ้นมาให้เป็นความรู้แก่ทุกท่านสักบทความนึง...ตามองไปเห็นบอร์ด DV2000 ซึ่งคิดอยู่ว่าเดี๋ยวจะนำขึ้นมาทดสอบการทำงาน เปิดเครื่องดูว่ายัง"เปิดติดมีภาพอยู่หรือเปล่า" ก็สังเกตุเห็นว่าถ่าน Cmos ของบอร์ดหายไป  ก็คิดจะหยิบถ่าน CMOS ก้อนอื่นมาใส่ ก็ต้องหยุดคิดอยู่นิดนึงว่า"แล้วทำไมขั้วของ DV2000…

13 years ago