ซ่อมเมนบอร์ด Notebook อาการไฟไม่จ่าย

  • สวัสดีครับเพื่อนๆ? วันนี้ผมได้นำบทความเกี่ยวกับเรื่องการซ่อมเมนบอร์ดของโน๊ตบุ๊คมาเล่าสู่กันฟัง? เพื่อเป็นแนวทางให้แก่เพื่อนๆ ที่มีความสนใจนำไปประยุกต์ใช้ในการตรวจหาตำแหน่งเสียในการลงซ่อมจริงครับ
  • อาการทางเมนบอร์ดที่เราต้องซ่อมนั้น มีมากมายหลากหลายอาการ อาทิเช่น
    • อาการไฟไม่จ่าย? และได้ข้อสรุปว่าเป็นที่ adaptor ที่จ่ายให้แก่ โน๊ตบุ๊ค เสีย
    • อาการไฟไม่จ่าย และอะแดปเตอร์ไม่เสีย? แต่ไฟสถานะกระพริบในขณะที่เสียบเข้าเมนบอร์ด
    • อาการไฟจ่ายแต่ไม่มีภาพปรากฏ ที่จอของโน๊ตบุ๊ค? แต่สามารถต่อออกทาง port db-15? VGA Port ได้ภาพ
    • อาการไฟจ่ายแต่ไม่มีภาพปรากฎทั้งทางจอ LCD? และจอที่ต่อออกภายนอก
    • อาการเสียงที่ลำโพงในเครื่องดัง แต่เสียบแจ๊คหูฟังแล้วไม่มีเสียงดังที่ หูฟัง (Headphone)
    • อาการเสียงไม่ดังทั้งที่ในเครื่อง และ ที่หูฟัง??? และอีกหลายๆอาการที่ได้เคยกล่าวไว้ในบทความก่อนหน้าแล้วนะครับ
    • อาการที่เสียบสายแลนแล้วไม่ขึ้นการคอนเน็ค ( unplug ตลอด ) ทั้งๆ ที่ Driver สมบูรณ์ สายแลนก็ต่อกับเครื่องอื่นได้ตามปรกติ
  • สำหรับที่ผมจะนำมากล่าวนี้ เป็นวิธีหนึ่งที่ช่างๆอย่างเราทำการซ่อมกันได้ แบบไม่ต้องมีวงจร? มาประกอบ เรียกได้ว่าประสบการณ์ล้วนๆ ครับ? และผมก็ไม่ขอรับรองผลการซ่อมในโน๊ตบุ๊คอื่นๆ ที่อยู่กับเพื่อนๆ นะ?? เพราะเป็นความสามารถเฉพาะตัวนะครับ? แต่ขอบอกว่าเปอร์เซ็นต์ส่วนใหญ่แล้วจะสามารถที่จะหาุจุดเสียได้ครับ

อาการ กด Power Switch แล้วไฟไม่ทำงานเลย เช่น ไฟสแตนบาย ก็ไม่มี คือ ดับไปเลย และที่สำคัญ คือไฟสถานะของ อะแดปเตอร์โน๊ตบุ๊คดับทันทีที่เสียบแจ๊คเข้าโน๊ตบุ๊ค? หรือ อาจมีการกระพริบเป็นจังหวะ ก็ได้นะครรับ

การวิเคราะห์อาการเบื้องต้น

  • อาการนี้มาจากการที่มีอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคสภายในตัวเครื่อง (บนเมนบอร์ดมีความผิดพลาด)? มีการช้อตเกิดขึ้น? ทำให้มีการดึงกระแสไฟทั้งหมดลงกราวด์? ไฟจึงไปเลี้ยงยังวงจรส่วนอื่นๆไม่ได้ครับ? อาการนี้จะว่าง่ายก็ง่าย? จะว่ายากก็ยาก? แต่ช่างซ่อมจะชอบครับ? เพราะถ้าซ่อมไม่ได้ยังไง ก็ยังส่งคืนลูกค้าในอาการเดิม คือไฟไม่จ่ายเหมือนเดิมได้แบบสบายใจนะครับ ผมจึงว่าอาการนี้น่าทำมากที่สุด

การตรวจจุดเสีย

    การ

    • ให้ทำการจ่ายกระแสไฟ โดยใช้อะแดปเตอร์ที่มีกระแสสูงกว่า (อะแดปเตอร์ของโน๊ตบุ๊ค จะจ่ายกระแสประมาณ 3 แอมป์ )? ใช้ แหล่งจ่ายกระแสไฟอื่นที่มีกระแสสูงกว่า เช่นอาจเป็น Regulator ที่มีความสามารถจ่ายกระแสไฟที่ระดับ 10 Amp ก็จะดีนะครับ
    • ให้ทำการเสียบขั้วไฟเข้าไปยังเมนบอร์ดของโน๊ตบุ๊ค? จากนั้นให้ดึงออกทันที และใช้มือ หรือนิ้ว คลำหาตำแหน่งที่ร้อนที่สุด ให้เจอ? หากยังไม่เจอ ให้จ่ายไฟเข้าไปใหม่ โดยนานขึ้น? (หากจ่ายนานเกินไปมากๆ ? อาจทำให้อุปกรณ์ชิ้นนั้นแตก หรือไหม้ได้นะครับ) เมื่อเจอตัวที่ร้อนที่สุดแล้ว ให้ทำการถอดออกจากเมนบอร์ด? ถ้าไม่มีมากกว่า 1 ตัว? ก็จะทำให้ไฟออนได้แน่นอนครับ

    อุปกรณ์ที่เป็นปัญหาเช่น

    • เฟท แบบต่าง ๆ ทางภาคไฟ? มีการช้อท
    • ซี หรือ คอนเด็นเซอร์? มีการช้อท
    • ไดโอด? มีการช้อท
    • ทรานซิสเตอร์? มีการช้อท
    • อุปกรณ์เหล่านี้ หากมีการช้อทเกิดขึ้นไม่ว่าด้วยกรณีใด ๆ? ก็จะทำให้มีการดึงกระแสไฟลงกราวด์ทั้งหมด ทำให้ไฟที่จะไปหล่อเลี้ยงวงจร หายไปนั่นเองครับ? เมื่อไฟจากอะแดปเตอร์ที่มีกระแสประมาณ 3 แอมป์ จ่ายเลี้ยง ก็จะไม่ค่อยพบกับปัญหาในเรื่องความร้อนเท่าใดนัก?? แต่หากอาการนี้เกิด? และเราใช้การจ่ายกระแสที่สูงขึ้นมากๆ ก็จะสามารถที่จะทำให้การวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็วขึ้น?? แต่ต้องเน้นย้ำว่า? ต้องระมัดระวังว่า เมื่อมีการจ่ายกระแสไฟสูงมากๆ? ก็จะมีผลทำให้อุปกรณ์ตัวที่ช้อท เกิดการแตก? หรือมีการไหม้เกิดขึ้น? ซึ่งผู้ที่จะทำตรงนี้นั้น ควรคำนึงถึงสิ่งนี้ครับ? เพราะหากมันเสียหายมากเกินไป ก็ยากแก่การเยียวยา
    • เอาเป็นว่า? ผมถือเป็นการนำร่องในการตรวจซ่อม แบบใช้ทักษะมาแนะนำเพื่อนๆ ก็แล้วกัน ครับ?? มีอะไรที่สงสัยก็สอบถามกันเข้ามาได้? ครัีบ