- สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ผมได้นำความรู้ด้านเครื่องมือการทดสอบมานำเสนอครับ เป็นเครื่องมือสำหรับการทดสอบการทำงานของ อินเวอร์เตอร์โน๊ตบุ๊ค และหลอด backlight ซึ่งเราจะไม่ต้องอาศัยเครื่องโน๊ตบุ๊คในการทำงานเลยครับ นั่นหมายความว่า เวลาที่เพื่อนๆเกิดปัญหาในการซ่อมโน๊ตบุ๊ค และคิดว่าปัญหาดังกล่าวเกิดจากตัวอินเวอร์เตอร์หรือหลอดแบ๊คไล้ทหละก้อ งานนี้เราสามารถที่จะสรุปผลการแก้ปัญหาได้เร็วขึ้นะครับ
แนวความคิดและการนำไปสู่การสร้างเครื่องมือ
- เพื่อนๆครับ เนื่องจากว่าในอาการของคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค ที่เวลาเปิดเครื่องแล้วไฟจ่ายเข้าเครื่องตามปรกติ? แต่ปรากฏว่าจอภาพไม่มีแสงสว่าง ทำให้เราไม่สามารถเห็นว่าในขณะนี้ มีการ Post แล้วหรือยัง หรือโปรแกรมระบบวินโดว์ทำงานแล้วหรือยังนะครับ? หากเพื่อนๆ เจออาการแบบนี้ อาจตั้งข้อสัญนิฐานไปที่ อินเวอร์เตอร์หรือหลอดแบ๊คไล้ท (backlight CCF) ก็ได้ ดังนั้นเพื่อนๆก็คงต้องหาวิธีที่จะทำการสรุปว่า อินเวอร์เตอร์(inverter) หรือ หลอด backlight เป็นส่วนที่เกิดปัญหากันแน่ใช่ไม๊ครับ งานนี้ หากเราทราบหลักการของขาต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อนำไปทำให้อินเวอร์เตอร์ทำงานหละก้อ? เราก็คงพอที่่จะสามารถสร้างเครื่องมือทดสอบเจ้าอินเวอร์เตอร์และหลอดแบ๊คไ้ล้ท์ได้ครับ
วงจรอ้างอิง
แนวความคิดนี้ เราได้นำวงจรของอินเวอร์เตอร์โน๊ตบุ๊ค ที่ใช้ไอซีควบคุมเบอร์ MP1010 B มาเป็นแนวทางนะครับ? สำหรับเพื่อนๆ ได้จับอินเวอร์เตอร์ที่ใช้ไอซีต่างจากนี้ ก็เขียนมาคุยกันได้นะครับ
ไฟเลี้ยงวงจร(VCC) กราวด์ (ground) ไฟขาออน (on) และไฟขาไบท์ (bight)
ให้เพื่อนๆ ศึกษาและทำความเข้าใจในแนวทางนี้ และนำไปปรับใช้กับอินเวอร์ตัวอื่นๆ ก็ได้นะครับ
- จากรูปเพื่อนๆ จะเห็นว่า อินเวอร์เตอร์ตามรูปมีสายที่มีคอนเน๊คเตอร์เสียบเข้าไปอยู่หกสายนะครับ? แต่สำหรับอินเวอร์ที่อยู่ในมือเพื่อนๆ มีขากีขา? แบบไหนหละครับ ลองเอามาคุยกันดูนะ
- สำหรับตามรูป ขาที่มีสายสีแดงนั้นจะเป็นขาไฟเลี้ยงวงจรครับ ขานี้จะต่อผ่านเข้าไปยังฟิวส์ของอินเวอร์เตอร์ (การหาขาไฟบวกของอินเวอร์เตอร์ ก็โดยการตั้งมิเตอร์ไปที่ Rx1 เอาโพ๊ปจับที่สายสีใดสีหนึ่ง แล้ว ก็ไปวัดที่ฟิวส์ของวงจรครับ? หากเข็มมิเตอร์ตีสุดทางด้านขวา ก็แสดงว่าขาที่เรากำลังวัดนั้นเป้นขาไฟบวกครับ เพราะต้องผ่านฟิวส์นั่นเอง)
- ต่อมาจากรูป ขาที่ต่อจากไฟบวกส่วนใหญ่แล้วจะเป็นขาออนครับ(ในรูปคือสายสีส้ม)? คำว่าขาออน ก็หมายถึงขาที่มีแรงไฟต่ำๆ(เช่น 2 v.) ไปสั่งทริ๊กขาของไอซีควบคุม เพื่อให้อินเวอร์เตอร์ทำงานนั่นเองครับ? ปรกติขานี้จะมีแรงไฟประมาณ? 2 โวลท์กว่าา ๆ?? การหาขาออน เพื่อให้ IC ทำงานนะครับ? ให้เพื่อนดูจากวงจร ขาของไอซีขาที่ 5 EN สำหรับวงจรนี้ เป็นขาออนนะครับ? ให้เพื่อนๆ? ตั้งมิเตอร์ Rx1 วัดต้นสายกับตำแหน่งขาที่? 5? เข็มมิเตอร์จะได้ 0 โอมห์นะครับ? หรือบางวงจร จะมี C มากั้นก่อนถึงขาของไอซี ให้เพื่อนวัดที่ขาของ C นะครับ ก็จะเข้าใจได้ครับ
- อีกขาหนึ่งที่เราไม่ควรละเลยก็คือขากราวด์ของวงจรครับ ซึ่งปรกติจะอยู่ทางด้านมุมสุดอีกด้านของคอนเน๊กเตอร์ (แต่บางรุ่นก็อยู่ใกล้กับขั้วไฟบวกก็มีนะครับ) โดยจากในรูปจะอยู่ทางด้านขวาสุด สายสีออกใสๆนะครับ??? หรือหากไม่แน่ใจก็ให้เพื่อนๆ ตั้งมิเตอร์ที่ Rx1 เอาโพ๊ปสีดำจับที่ลายปริ้นที่ใหญ่ที่สุด ถ้าในรูปนั้นจะเป็นทองแดงที่อยู่ตรงรูยึดสกรูนั่นเองครับ?? จากนั้นให้เอาโพ๊ปสีแดงไปแตะทีีสายที่สงสัย? หากมิเตอร์นั้นเข็มขึ้สวิงไปทางด้านขวาสุด? ก็แสดงว่าสายนั้นเป็นสายกราวด์ครับ
- หมายเหตุนะครับ. เมื่อกรณีเพื่อนๆ สั่งออน ด้วยไฟ 2 โวลท์แล้ว ทั่วๆไป ก็จะหลอดติดนะครับ? เนื่องจาก ตำแหน่งไฟของขา Bight เป็นบวกอยู่แล้ว? แต่ถ้าบางครั้งหรือบางตัวที่ออนไม่ติด? ก็ให้เพื่อนๆ นำไฟ 5 V. ไปจ่ายให้แก่ขา Bight (ขา4) ซึ่งจะำทำให้ไฟของ Bight ทำงานครับ (เนื่องจากไฟของ bight นั้นเป็นลบสุดๆ เลยต้องสั่งให้เป็นบวกด้วยไฟ 5 โวลท์ครับ)
- สำหรับขาอื่นๆที่เหลือ ผมไม่ขออธิบายนะครับ? เพื่อในแต่ละอินเวอร์เตอร์ ก็มีความแตกต่างกันไป?? เราจะต้องอาศัยหลักการสร้างเครื่องมือชิ้นแรกของเราให้ได้เสียก่อน แล้วถึงจะพอเข้าใจในอินเวอร์เตอร์ของตัวอื่นๆครับ
ออกแบบวงจรกันเลยครับ
- เราก็เอาไฟ จากอะแดปเตอร์ของโน๊ตบุ๊ค 18-20 โวลท์? ทั้งไฟบวกไฟลบป้อนเข้าขาบวก และขาลบของคอนเ็น๊คเตอร์โน๊ตบุ๊คตรงๆเข้าไปนะครับ ถ้าตามรูปก็ตรงสายสีแดง กับสายสีใส? จากนั้น เราก็นำไฟบวก 18-20 โวลท์ที่ได้จากอะแดปเตอร์โน๊ตบุ๊คนั้นไปผ่าน Regurator เบอร์ 7812 (12 V.) ก็ได้ครับ เราก็จะเหลือไฟที่ทางออกตอนนี้ประมาณ 12 V.(หลัง Regurator) จากนั้น เรานำไฟในส่วน 12 V. ไปจ่ายให้แก่ขั้วบวก และลบของ Inter ครับ
- ลดทอนแรงไฟให้เหลือ 2 V.โดยใช้รีซีสเตอร์ (Resistor)มาช่วยลดแรงเคลื่อนลงเหลือไฟประมาณ 2 โวลท์ และเพื่อความมั่นใจในแรงไฟให้เราใช้ ซีเนอร์ไดโอด ต่อไว้ด้วยเพื่อให้ได้แรงไฟ คงที่ครับ? โดยแรงไฟประมาณ 2 โวลท์นี้จะไปทำหน้าที่ในการออน์ที่ขาไอซีขาที่
การทดสอบ
- ให้เราต่อหลอด Backlight เข้าอินเวอร์เตอร์ให้เรียบร้อย (หากไม่ต่อหลอด วงจรโพรเทคของอินเวอร์เตอร์จะทำงาน ทำให้อินเวอร์ไม่ทำงานนั่นเองครับ )? เมื่อต่อหลอดเข้ากับอินเวอร์เตอร์แล้ว? หากไม่มีอะไรผิดพลาด? ก็จะทำให้หลอด backlight ทำงาน เกิดแสงสว่างขึ้นครับ?? คราวนี้ เราก็ได้ต้นแบบสำหรับในการสร้างหรือปรับแต่ง เพื่อใช้งานกับอินเวอร์เตอร์รุ่นอื่นๆ ของโน๊ตบุ๊คได้อย่างไม่จำกัดนะครับ
- ครับเพื่อนๆ? ผมคงทิ้งบทความนี้ไว้เพียงแค่นี้นะครับ? หากมีความสงสัยประการใด ก็เขียนเข้ามาถามได้นะครับ ที่ เมนูของ contract webmaster ซึ่งอยู่ด้านบนของ page นี้ตรับ
9 comments
Skip to comment form
แล้วไฟ19V ไม่ต่อ หลอดจะติดเหรอครับ
ต้องมีไฟ 19 โวลท์ ด้วย แล้วก็ไฟ ออน ด้วยครับ ตามที่แนะนำ เนอะ
**เราก็เอาไฟ จากอะแดปเตอร์ของโน๊ตบุ๊ค 18-20 โวลท์ ทั้งไฟบวกไฟลบป้อนเข้าขาบวก และขาลบของคอนเ็น๊คเตอร์โน๊ตบุ๊คตรงๆเข้าไปนะครับ ถ้าตามรูปก็ตรงสายสีแดง กับสายสีใส จากนั้น เราก็นำไฟบวก 18-20 โวลท์ที่ได้จากอะแดปเตอร์โน๊ตบุ๊คนั้นไปลดทอนโดยใช้รีซีสเตอร์ (Resistor) ให้เหลือแรงไฟประมาณ 2 โวลท์ และเพื่อความมั่นใจในแรงไฟให้เราใช้ ซีเนอร์ไดโอด ต่อไว้ด้วยเพื่อให้ได้แรงไฟ คงที่ครับ โดยแรงไฟประมาณ 2 โวลท์นี้จะไปทำหน้าที่ในการออน์ที่ขาไอซีขาที่ 4
ถาม..ใช้อาร์และซีเนอร์ไดโอดค่าเท่าไหร่ครับแลต่อยังไง
***ต้องมีไฟ 19 โวลท์ ด้วย แล้วก็ไฟ ออน ด้วยครับ ตามที่แนะนำ เนอะ
***ไฟออนต่อยังไงครับ
**ขอคำแนะนำด้วยครับเพิ่งหัดซ่อมกะว่าจะเอาไว้ทดสอบ
ขอบคุณครับ***
Thank you so much
เยี่ยม
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
Thanks ka:)
ของข้าพเจ้า เป็นโน๊ตบุคของ sony ตอนนี้ไฮโวล น่าจะเสียแล้ว แต่จะมีวิธีซ่อมหรือไม่รุ่นแลยี่ห้อ
NEC/TOKIN/D2037-B001-S3-0 [1-443-887-51 CysA (2037s5) ]
เป็นรุ่นของ ไฮโวล นะครับ
แล้วของใหม่หรือมือสอง ราคาเท่าไรครับ
แล้วจะเอาตัวอืนมาใส่แทนกันได้หรือไม่ช่วยแนะนำด้วยครับ
ขอบคุณ