ชนิดของแบตเตอรี่โน๊ตบุ๊ค

  • สำหรับแบตเตอรี่นี่จะเป็นแบตเตอรี่ที่เรียกว่า Lithium นะคับซึ่งโน๊ตบุคส่วนใหญ่ก็จะใช้แบตเตอรี่ชนิดนี้ทังนั้นคับ รวมทั้งอุปกรณ์พกพาอย่างอื่นๆด้วยคับ เช่น มือถือ กล้องดิจิตอล เป็นต้นซึ่งแบตเตอรี่แบบ lithium นั้นถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่ายน้ำหนักเบา และไม่ต้องดูแลรักษามากนัก ซึ่งจะต่างจากแบตเตอรี่แบบชาร์ตไฟใหม่ได้ในสมัยก่อนๆอย่างสิ้นเชิงทั้งในด้านวิธีใช้งาน และการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง

แบตเตอรี่แบบ lithium ที่พบเห็นบ่อยๆ ในปัจจุบันมีด้วยกัน 2 แบบ คือ

1. lithium-ion หรือตัวย่อว่า Li-ion เป็นแบตเตอรี่ที่พบเห็นมากที่สุดถือว่าเป็นแบตเตอรี่มาตรฐานสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในทุกวันนี้

2. lithium-ion polymer หรือตัวย่อว่า Li-Poly เป็นแบตเตอรี่ที่พัฒนาต่อยอดมาจาก

  • Li-ion โดยจะมีความจุไฟฟ้ามากว่า Li-ion ถึง 20% ในขนาดแบตเตอรี่ที่เท่ากันแบตเตอรี่แบบนี้มีจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งคือมีข้อจำกัดเรื่องรูปร่างของเบตเต อรี่น้อยมากจึงทำให้สามารถสร้างแบตเตอรี่แบบ Li-Poly ให้มีขนาดเล็กและบางได้ รวมทั้งสามารถสร้างให้มีรูปทรงแปลกๆ ที่ไม่ใช่ทรงกระบอกหรือทรงสี่เหลื่ยมเหมือนแบตเตอรี่แบบเดิมๆได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามต้นทุนการผลิตของ Li-Poly ยังจัดว่ามีต้นทุนสูง   ดังนั้นความนิยมจึงยังมีไม่มากเท่าแบตเตอรี่แบบ Li-ion

ทีนี้ลองพลิกดูแบตเตอรี่ของคุณๆ ดูว่าใช่แบตเตอรี่แบบ lithium กันรึเปล่า ถ้าใช่แล้ว เรามาไขข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแบตเตอรี่ lithium กันเลยดีกว่าครับ

ไขข้อสงสัย ! ทำไมขั้วแบตเตอรี่ของโน๊ตบุ๊คจึงมีหลายจุดเชื่อมต่อ

  • สวัสดีครับเพื่อนๆครับ…วันนี้ได้ฤกษ์ที่ผมเข้ามาเขียนบทความให้รับทราบกันอีกเหมือนเดิมครับ  ในสไตล์ของผมแล้ว  ผมคิดว่า “บทความต่างๆที่ผมได้เขียนลงมาในหน้าเว๊ปนี้ มันก็เหมือนกับเป็นการเตือนความจำของตนเอง” ซึ่งเรานำมาเขียนในหน้าเว๊ป เพื่อให้ตัวผมเอง  รวมถึง เพื่อนๆ ได้ใช้ประโยชน์ต่อการค้นคว้านั่นเองครับ   ในเวลาที่ผมทำการสอน หรืออบรมให้แก่ผู้สนใจเรื่องของคอมพิวเตอร์ พีซี และ โน๊ตบุ๊ค  บางครั้ง ผมอยากจะเขียนบทความตามที่ผู้เข้ารับการอบรม สอบถามขึ้นมาทันทีเลย  นั่นก็หมายถึงว่าเราก็อยากจะทราบเหมือนกัน   อย่างเช่นในวันนี้ครับ เรื่องของขั้วแขตเตอรี่โน๊ตบุ๊ค ทั้งที่ตัวของแบตเอง หรือที่ตัวของเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค  ผมก็ได้พยายามที่จะทำความเข้าใจกับขั้วแบตตรงนี้  และก็ได้รับความเข้าใจ  จึงนำมานำเสนอให้รับทราบกัน  และเป็ฯการตอบโจทย์ ตอบคำถามแก่ผู้เข้ารับอบรม นักเรียน ที่เรียนกับผม ว่า “เธอเข้าไปดูในหน้าเว๊ปหรือยัง  ผมเขียนเอาไว้แล้ว”  ผมจะพูดคำนี้เสมอ

ทำไม..ขั้วแบตเตอรีของโน๊ตบุ๊คจึงมีหลายขา

  • ผมตอบโจทย์ตรงนี้ ว่าผมได้ทำการผ่าแบตเตอรี่ของโน๊ตบุ๊ค หลายๆยี่ห้อ หลายๆรุ่น ที่มีอยู่ในมือ  ก็พอจะได้เป็นข้อสรุปว่า   เนื่องจากในตัวของแบตเตอรี่จะมีการต่อเซลล์ที่แตกต่างกันไป   แล้วแต่ว่าผู้ผลิตต้องการจะให้มีการต่อแบบ 3 เซลล์ หรือ 6 เซลล์  (ก้อนแบตที่ใช้ในโน๊ตบุ๊ค จะมีโวลท์อยู่ที่ประมาณ  3.6 V.2.4 Amp)  ซึ่งจะมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าจ่ายให้แก่วงจออยู่ที่ ประมาณ 11 V
  • การต่อเซลในแบตโน๊ตบุ๊ค หากเป็นเครื่องโน๊ตบุ๊คที่ถูกออกแบบโดยกินกระแสไฟไม่มากนัก  (ประมาณว่าเครื่องรุ่นเล็กๆ) ก็จะต้องมีการออกแบบให้กินกำลังไฟที่ต่ำ เพื่อจะได้ใช้แบตเตอรี่ที่มีขนาดเล็ก แบตร่นเล็กนี้จะมีกระแสอยู่ที่ประมาณ 2.4 Amp. แรงไฟประมาณ 11 V. จะทำให้น้ำหนักของเครื่องเบา
  • ในขณะที่เครื่องทั่วๆไปขนาดจอที่ตั้งแต่ 14″ ขึ้นไป ซึ่งกินกำลังไฟมากขึ้น  จึงทำให้ต้องใช้แบตเตอรี่ที่มีขนาดของกระแสที่มากขึ้น  เท่าที่ได้พบเจอก็อยู่ประมาณ 4.8 Amp โวลท์ตั้งแต่ 11 V.ต้นๆเช่นกันครับ

Continue reading

ซ่อมโน๊ตบุ๊ค อาการเปิดไม่ติด เปิดไม่ได้ (ตอนที่1) ไฟไม่จ่ายเข้าเครื่อง

สวัสดีครับเพื่อนๆทุกท่าน  สำหรับในวันนี้  ผมได้นำความรู้เกี่ยวกับการตรวจซ่อมคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค Notebook มาเล่าสู่กันฟังกันต่อนะครับ

อาการ ที่ว่านี้ก็คือ ไฟไม่จ่ายเข้าเครื่อง

การสังเกตุ จากไฟสแตนบาย (Stand by) ถ้าติดอยู่ในขณะที่เสียบอะแดปเตอร์ แสดงว่าไฟจ่ายแล้ว

  • ในเครื่องที่มีไฟสถานะ Standby อยู่ ก็จะไม่มีสถานะไฟติดให้เห็นนะครับ
  • และสำหรับเครื่องที่ไม่มีไฟ Standby ก็จะยิ่งไม่ทราบใหญ่

การสังเกตุ จากไฟชาร์จแบตเตอรี่ ถ้าติด แสดงว่า ไฟจากอะแดปเตอร์จ่ายแล้ว

  • ถ้าเพื่อนๆได้เสียบแบตเตอรีเข้าเครื่องไว้  โดยไม่ได้เสียบไฟจากอะแดปเตอร์ ก็จะไม่เห็นสถานการทำงานของการชาร์จเกิดขึ้นครับ  จนกว่าจะมีการเสียบไฟจากอะแดปเตอร์เข้าไปยังตัวโน๊ตบุ๊ค  ไฟสถานะชาร์จก็จะติดสว่างขึ้น  ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นเราก็จะได้ทราบว่า ไฟจ่ายเข้าเครื่องแล้วนั่นเองครับ

การสังเกตุ จากไฟสถานะของอะแดปเตอร์ ถ้ากระพริบ ก็แสดงว่า โหลด(load)ของวงจรมีการดึงกระแสไฟลงกราวด์แบบเต็มๆนะครับ หรืออาจเรียกได้ว่า วงจรช้อตนั่นเอง

  • ตามปรกติไฟสถานะของอะแดปเตอร์(หากมี) จะติดสว่างนิ่งอยู่  แต่ถ้าเห็นว่ามีการกระพริบเกิดขึ้นในขณะที่เราได้เสียบขั้ว DC Jack เข้าสู่โน๊ตบุ๊ค  นั่นย่อมทำให้เราได้ทราบว่า มีการช้อตไฟจากแหล่งจ่ายลงกราด์ทั้งหมด  ทำให้ไฟไม่สามารถไปเลี้ยงยังส่วนวงจรต่างๆ บนเมนบอร์ดได้ครับ  เราก็ต้องหาตัวช้อตในวงจรให้เจอ และยกออก เปลี่ยนใหม่ ก็จะกลับสู่สภาพเดิมครับ  เพียงแต่ว่า เราจะเจอตัวเสียตรงไหนหละครับ

วิธีการตรวจซ่อมอาการไฟไม่จ่ายเข้าเครื่องกันครับ

กาตรวจเช็คกรณีที่ไฟไม่จ่ายเข้าเครื่อง แต่ไฟสถานะของอะแดปเตอร์กระพริบ

  • เราทราบดีแล้วจากบทความที่ได้กล่าวๆกันไว้  ว่ากรณีที่ไฟสถานะของอะแดปเตอร์กระพริบนั้น  ส่วนใหญ่จะเกิดจากไฟจากแหล่งจ่ายช้อตลงกราวด์ของวงจร  ไฟจากแหล่งจ่ายก็คือไฟจากอะแดปเตอร์นั่นเอง  กรณีนี้  จะว่าง่ายก็ได้  จะว่ายากก็ได้ เพราะถ้าไม่เจอตัวช้อตตรงๆตามที่เราตรวจเห็น  ก็จะทำให้เราหามันไม่เจอ  ซึ่งยากแก่การซ่อมมากๆครับ

จุดในการตรวจสอบเบื้องต้น

  • กลุ่มของ C อิเล็คโตรไลท์ ในส่วน Filter ไฟแหล่งจ่ายหลัก ซึ่งเพื่อนๆจะมองหาได้ง่ายๆ ก็อยู่แถวด้านหลังของ DC Jack ประมาณนั้นใน  ซึ่งตรงนี้ผมคงได้เพียงแต่พูดได้ประมาณนี้  เพราะในแต่ละรุ่นนั้น ก็จะมีการวางวงจรไว้แตกต่างกัน  แต่ในหลักการออกแบบวงจร ก็จะคล้ายๆ กัน ก็คือ ต้องมีกลุ่ม C Filter อย่างแน่นอนครับ  ไม่ว่าจะเป็น C ตัวใหญ่ หรือตัวเล็ก SMD ก็ต้องตั้งมิเตอร์  RX1 วัดสลับขั้วสาย  และถ้าจะให้ดูชัดเจนขึ้น เมื่อพบว่าตัวใด วัดแล้วเข็มมิเตอร์ขึ้นสุดสเกลทั้งสองครั้งในการวัด  ก็ให้เพื่อนๆ ทำการถอด หรือลอยขาของชิ้นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ชิ้นนั้นครับ  แล้ว  เอาสายมิเตอร์วัดที่จุดบัดกรีบนเมนบอร์ดว่า เข็มมิเตอร์ยังตีสุดสเกลทั้งสองครั้งอยู่อีกหรือเปล่า  ถ้าไม่แล้ว  ก็ให้เพื่อนๆ วัดที่ตัวอุปกรณ์ที่ถอดลอยไว้ ว่าเข็มมิเตอร์ขึ้นสุดสเกลหรือไม่  ถ้าขึ้นทั้งสองครั้งก็แสดงว่า อุปกรณ์ชิ้นนั้นช้อตแน่นอน (ถ้าเป็น C ,D,Tr,MosFet) แต่ก้าการวัดที่จุดบัดกรีบนเมนบอร์ดยั้งทำให้เข็มของมิเตอร์ขึ้นสุดสเกลอยู่เหมือนเดิม  เพื่อนๆ ก็ต้องวัดหาตัวเสีย ช้อต กันต่อไปให้เจอนะครับ   (อันนี้เป็นวิธีการแบบแรก)

อ่านต่อการซ่อม ตอนที่สอง คลิ๊กที่นี่ครับ

การสังเกตุ จากไฟสถานะของอะแดปเตอร์ ถ้ากระพริบ ก็แสดงว่า โหลดของวงจรมีการดึงกระแสไฟลงกราวด์แบบเต็มๆ

ซ่อมโน๊ตบุ๊ค อาการเปิดไม่ติด เปิดไม่ได้ (ตอนที่2) กดปุ่ม Power On แล้วไม่ทำงาน

  • สวัสดีครับเพื่อนๆที่รักทุกท่าน  คงต้องขอกล่าวขอโทษเพื่อนๆไว้ ณ ที่นี้นะครับที่ช่วงเดือนสองเดือนนี้ไม่ค่อยได้มีบทความใหม่ๆเข้ามาให้เพื่อนๆรับทราบกันเป็นความรู้เลย  ด้วยเหตุที่ผมต้องทำงานในหลายๆหน้าที่ รวมถึงงานในร้านซ่อม ก็มากขึ้นเป็นลำดับ  แต่ก็ไม่ลืมหรอกครับที่จะคอยนำความรู้ที่พอจะแนะนำให้เป็นแนวทางมานำเสนอต่อเพื่อนๆกันอย่างต่อเนื่องครับ
  • สำหรับในวันนี้ ผมจะพาเพื่อนๆ ทุกท่านเข้ามารับรู้ถึงสเต็ปขั้นตอนในการวิเคราะห์อาการเสีย ต่อจาก ตอนที่ 1 และการนำไปสู่การตรวจเช็คในส่วนวงจรกันในระดับหนึ่ง  ซึ่งต้องถือว่ามีหลากหลายวิธีที่จะใช้  แต่ก็จะพูดไปทั้งหมดก็ยังคงไม่สะดวก  เลยขอแบ่่งเป็นตอนๆ เพื่อให้เพื่อนๆลองปฏิบัติตามและหาวิธีแก้ไขปัญหา  อาจทำให้ประสบความสำเร็จในงานซ่อม และเป็นแนวทางได้นะครับ
  • อาการที่ผมนำมากล่าวในครั้งนี้ ก็คงจะต่อเนื่องกับอาการนี้ที่ได้พูดไว้ใน(ตอนที่1) ซึ่งต้องถือว่าเป็นแบบผู้ใช้ทั่วๆไปที่จะดูแล และแก้ไขได้ด้วยตนเองครับ  แต่สำหรับในวันนี้ (ตอนที่2) ผมได้หมายถึงวิธีการที่เพื่อนๆ ที่ชอบถอดตัวเครื่องออกมาแล้ว (เอาเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คออกมาแล้ว)  และเราก็จะเริ่มต้นการตรวจเช็คกันเลยนะครับ

อาการไฟจ่ายแต่ไม่ขึ้นภาพ (ตรวจเช็คในส่วนเมนบอร์ด)

ขั้นตอนปฏิบัติ

  • นำแผงเมนบอร์ดของโน๊ตบุ๊คที่เราแกะออกจากตัวเครื่องแล้ว  ออกมาหาที่วางนุ่มๆ  อาทิเช่นฟองน้ำ หนาๆ
  • ติดตั้ง CPU,RAM และแผงควบคุมการสั่งเปิดปิดเครื่องลงไป
  • เชื่อมต่อสายสัญญาณ DB-15 จากจอภาพภายนอก (เช่น จอ CRT หรือ LCD ที่ใช้กับเครื่องแบบตั้งโต๊ะ

นอกจากจากที่ได้กล่าวถึงนี้นะครับ เพื่อนๆ ไม่ควรจะเสียบอุปกรณ์ใดเข้าไปยุ่งเกี่ยวเพิ่มเติมอีก เช่น HardDisk,DVD-RW ,Battery,Keyboard,Touch Pad และอื่นๆ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ไม่ได้มีผลทำให้เกิดภาพแต่ประการใดครับ

  • เมื่อปฏิบัติตามสามข้อข้างต้นแล้ก็ขอให้เพื่อนๆทำการเสียบขั้วไฟจาก Adaptor สำหรับโน๊ตบุ๊คเครื่องนั้นๆนะครับ จากนั้นกดปุ่มสวิชท์ Power On ตอนนี้ไฟก็จะจ่ายเข้าเครื่องตามปรกติ  พัดลมของ CPU อาจจะหมุน  หรือยังไม่หมุน  หรือหมุนสักพักแล้วหยุดลง  อันนี้ก็แล้วแต่โน๊ตบุ๊คในแต่ละยี่ห้อ และแต่ละรุ่นนะครับ

รอประมาณ 10 วินาที เพื่อดูว่าได้ภาพหรือไม่

  • ตาคอยสังเกตุภาพที่จอที่เราต่อพ่วงไว้ หรืิออาจจะลุ้น โดยการดูที่ไฟสถานะของจอภาพ (ซึ่งในขณะที่ยังไม่มีภาพนั้นจะเป็นอีกสีนึง เช่น อาจเป็นน้ำเงิน หรือส้ม ซึ่งอาจกระพริบอยู่ก็ได้นะครับ  แต่เมื่อมีภาพก็จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว นิ่ง

ปรากฏว่าก็ยังไม่ได้ภาพอีกเหมือนเดิม จะทำยังไงกันต่อดี…

USB notebook เสียใช้ไม่ได้ เสียบาง port เสียทุก port จะซ่อมกันยังไง(ตอนที่ 1)

  • สวัสดีครับเืพื่อนๆ สำหรับวันนี้ผมจะขอนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับการตาวจซ่อมในระดับพื้นฐานสำหรับอาการของ Port USB ที่ไม่สามารถใช้งานได้ครับ
  • อาการที่เิกิดขึ้นก็คือว่า สมมุติว่า Port USB ของโน๊ตบุ๊คเกิดใช้งานไม่ได้สัก  2 Port ในขณะที่อีก 2 Port แต่อยู่กันคนละฝั่งกันหรือคนละด้านกันของโน๊ตบุ๊ค  ยังสามารถใช้งานได้อยู่นะครับ ลักษณะอาการแบบนี้ เราพอจะสามารถเยี่่ยวยาได้ด้วยตนเองในระดับหนึ่งเลยครับ   คราวนี้ลองมาฟังวิธีการตรวจซ่อมกันดูนะครับ

ทำความสะอาด Port ที่มีปัญหาแล้วหรือยังครับ

  • วิธีการนี้ ก็ต้องบอกว่าเป็นวิธีการพื้นๆที่สุดแล้วครับ ในการดูแล และแก้ปัญหาเบื้องต้นสำหรับผู้ใช้โดยทั่วๆ ไป เพราะหน้าสัมผัสใน usb Port อาจมีคราบสกปรก หรืออาจมีสนิมทองแดง (อ๊อกไซดื) เกาะอยู่ (ถ้าหากว่า Port นี้อาจไม่ได้ใช้มานาน   ฝุ่นละออง ที่เข้าไปอยู่ใน Port และอีกหลายๆอย่างที่เพื่อนๆ เมื่อได้สังเกตุ อาจจะทำให้ได้ความรู้ใหม่ๆ ได้ด้วยตนเองนะครับ เช่นอะไร  ก็อาทิ เช่น มดเข้าไปทำรัง  แมงสาบตัวเล็กๆ เข้าไปอยู่และถ่ายสิ่งปฏิกูลทิ้งไว้ จนสกปรกไปหมด ก็เป็นปัญหาได้เช่นกันครับ

เครื่องมือในการทำความสะอาด

  • แปรงขนอ่อน แบบที่ใช้ทาสี หน้ากว้าง 1 นิ้ว
  • สเปย์ philips กระป๋องแดง
  • คงหนีไม่พ้น ก็คงจะเป็นแปรงทาสีขนนิ่มๆ ขนาดสัก  1 นิ้ว หรืออาจเป็นแปรงภู่กันที่มีขนพอจะมากๆหน่อย   กับ สเปย์ฉีดทำความสะอาด    วิธีใช้ก็คงใช้แปรงปัดฝุ่นและผงออกให้สะอาด และจากนั้นก็นำสเปย์ฉีดเข้าไป ทิ้งไว้สักพักก็นำแปรงปัดทำความสะอาดอีกครั้ง  จากนั้นก็ลองเสียบอุปกรณ์ที่ต้องการอีก และดูผลว่าว่าดีขึ้นหรือ ยังเหมือนเดิมนะครับ

Continue reading

Adaptor แบบต่างๆ สำหรับใช้กับเครื่อง Flash BIOS

  • สวัสดีครับเพื่อนๆที่รักทุกท่าน  สำหรับในวันนี้ ผมได้นำเรื่องของอะแดปเตอร์สำหรับแปลงขาของ ROM Memory แบบต่างๆเข้ามาแนะนำกันเพื่อให้เพื่อนๆ ได้รู้จักและสามารถบอกได้ว่าเป็นแบบใด  เพื่อที่เวลาเพื่อนๆ ได้เห็นเจ้า ROM BIOS ในเครื่อง ว่าเป็นแบบใด ก็จะได้มาจับคู่ใ้ช้อะแดปเตอร์ที่ถูกต้องตามชนิดของ ROM นั้นๆ  และนำไปทำการ Flash BIOS ได้อย่างถูกต้องครับ
  • เนื่องจาก ROM BIOS มีวิวัฒนาการทางตัวถังกันมาหลากหลายรุ่น  ดังรูปด้านล่างนะครับ  การพัฒนาการจาก DIP 32  เป็น PLCC 32  จากนั้นไปเป็น DIP-8  และ SO-8 และ ก็ TSOP ครับ จริงๆ ในยุคปัจจุบัน  เราจะเห็นไบออส ที่มีตัวถังเป็นแบบ PLCC (สำหรับ เครื่อง PC) กันมากที่สุด  ลองลงมาก็เป็นแบบ DIP-8 ส่วน SO-8 นั้นเครื่อง PC จะยังไม่ค่อยนำไปใช้ครับ
  • แต่สำหรับเครื่องโน๊ตบุ๊คนั้น มีการนำ ROM แบบ PLCC32 บัดกรีติดที่ปริ้นเลย  (ไม่ได้ใส่ Socket แบบเครื่อง PC)  และพัฒนาต่อมาเป็นแบบ SO-8 และ TSOP เลยครับ
  • ในปัจจุบันเราแกะโน๊ตบุ๊คออกมา เราจะสังเกตุเห็นไบออส เป็นแบบตัวถัง SO-IC 8  หรือไม่ก็เป็นแบบ TSOP กันแทบทั้งนั้นเลยครับ
  • ในความรู้ที่ผมได้เคยนำเสนอไปแล้ว เกี่ยวกับเรื่องของเครื่อง Flash BIOS ตัวที่ผมได้แนะนำในหน้าการขายสินค้านั้น  จำเป็นที่จะต้องหาอะแดปเตอร์สำหรับแปลงขา ROM มาใช้ร่วมด้วย ในบางชนิด  โดยเฉพาะ เช่น แบบ TSOP ซึ่งในเครื่องโปรแกรมรอมของผมนั้นไม่มีฐานอะแดปเตอร์แบบ TSOP  ดังนั้นจึงต้องจัดหาเพิ่มเติมครับ
  • TSOP ตัวถังแบบนี้  มีในเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค หลากหลายยี่ห้อ  ดังนั้นจึงจำเป็นต้้องมีติดตัวไว้ครับ   เช่นแบบตัวความยาว 14 มม. 20 มม. และแต่ละแบบก็มีขาต่างกันเช่น แบบ 32,40,48 ขา  ซึ่งก็ต้องเลือกอะแดปเตอร์ให้ตรงชนิดนะครับ
  • The adapter set can be used for 14 mm. and 20 mm. TSOP 32,TSOP 40, TSOP 48 and the VSOP 40 package chips
    The adapter support all version of Willem EPROM Programmer
    The adapters can change to top adapters
    1. TSOP 32, 40, 48 (with socket) Top Adapter
    2. TSOP 32, 40, 48 (14 mm,20 mm) TOP Adapter
    3. VSOP 40 Top Adapter
    And chang to base adapters
    1. TSOP32 Base Adapter
    2. TSOP40A Base Adapter
    3. TSOP40B Base Adapter
    4. TSOP48 (16bit) Base Adapter
    5. TSOP48 (8/16bit) Base Adapter

     

Continue reading

Intel 945GM (North bridge) ชิพเซ็ตในโน๊ตบุ๊ค

  • สวัสดีครับเืพื่อนๆที่รักทุกท่าน  วันนี้ ผมขอหยิบเจ้าชิพเซ็ทของ Intel มาแนะนำกันสักหน่อยนะครับ  เพราะเนื่องจากชิพเซ็ทตัวนี้ได้รับความนิยมในเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค Notebook ในทุกๆยี่ห้อ กันเลยทีเดียวครับ

  • เนื่องจากความรู้ที่ผมเคยเขียนไว้ในบทความเก่าๆของทางเว๊ป ได้เคยแนะนำไปแล้วนั้น  เกี่ยวกับเรื่องของชิพเซ็ทว่า มันทำหน้าที่สำคัญมากๆ ไม่ด้วยไปกว่า CPU เลย เพราะชิพเซ็ทนั้นจะทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ  และในระบบคอมพิวเตอร์โดยทั่วๆไปนั้นจะมีโครงสร้างเป็นชิพส่วนเหนือ (North bridge) และชิพส่วนใต้ (South bridge)  และเจ้าชิพเซ็ทที่ผมนำมาพูดนี้ เป็นชิพในส่วนเหนือ North bridge เบอร์ 945 GM ของบริษัท Intel ครับ

รูปภาพจาก www.intel.com

Continue reading

วิธีการทำ Reball BGA หรือเรียกว่าการสร้างขาให้ชิพแบบ BGA ใหม่อีกครั้ง

  • สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ผมได้นำความรู้เกี่ยวกับการสร้างขาให้แก่ตัวชิพประเภท BGA หรือเขาเรียกกันเป็นศัพท์ทางช่างว่า การ Reball Chip ครับ  ซึ่งวิธีการดูจะไม่ยากนะครับ  ถ้าเพื่อนๆดูตามคลิปที่ผมได้นำมาให้ตรงนี้  ลองดูนะครับ ว่า Step ขั้นตอนจะเป็นอย่างไร

Continue reading

จอ LED กับ LCD ต่างกันอย่างไร ?

  • สวัสดีครับเพื่อนๆ  เงี่ยบหายกันไปนานครับ  สำหรับการโพสบทความในหน้าเว๊ป  (อันนี้ผมต้องขอน้อมรับไว้จริงๆ ) และผมก็พยายามที่จะเขียนบทความหรือสรรหาความรู้ใหม่ๆ และเป็นประโยชน์ฺแก่เพื่อนๆ ทุกท่านให้ได้มากที่สุดนะครับ
  • ขึ้นเรื่องวันนี้เป็นเรื่องของ  จอภาพแสดงผล  ซึ่งสำหรับคอมพิวเตอร์ notebook แล้ว เราก็คงรู้จักและได้สัมผัสกับจอภาพแสดงผลแบบทึ่เราเรียกกันว่า LCD นะครับ  ซึ่ง เทคโนโลยีขอมอนิเตอร์  LCD (Liquid Crystal Display) ในวันนี้เปลี่ยนไปเป็นแบบ  LED (Light Emitting Diode) ซึ่งเราจะเห็นมีการโฆษณาและวางจำหน่ายกันอย่างกลาดเกลื่อนกันแล้วนะครับ

  • เทคโนโลยีด้านการให้ภาพ นั้น จอ LCD จะด้อยกว่ามาก  เพราะต้องใช้ Backlit หรือเรียกว่า CCFL (Cold Cathode Florescent Lamp) เป็นแหล่งกำเนิดแสงสว่างสีขาวอยู่ด้านหลัง ซึ่งหากหลอด CCFL จะสาดแสงขึ้นไปยังทางด้านหลังของจอภาพ และมีการสะท้อนในแผ่นฟิลม์ที่บรรจุอยู่ภายในตัวจอ(หากได้เคยถอดแยกชิ้นดูจะเห็นนะครับ)
  • เทคโนโลยีของทางด้าน จอ LED นั้น  จะใช้หลด LED ขนาดเล็กที่สามารถให้แสงสว่าง ซึ่งจุดเด่นของการใช้ LED ก็คือ แสงที่สว่างสดใสกว่า มีความคมชัดมากกว่า ทำงานเร็ว (ไดนามิกของแสง) และก็ประหยัดไฟกว่า  น้ำหนักเบากว่า  สามารถมองด้านมุมต่างๆทั้งสี่ด้านของจอ  ภาพก็ยังมองชัดเจนอยู่ครับ

คราวนี้ก็ถึงตรา..ของเพื่อนๆแล้วหละครับว่า…จะเลือก LCD หรือว่า LED

เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรด (Infrared Thermometer ) UT-301A

  • วันนี้ผมได้นำเครื่องมือชิ้นหนึง ที่ถือว่ามีความสำคัญต่อการทำงานของช่างคอมแบบเราๆ ในระดับหนึ่งเลยครับ  เครื่องมือชิ้นนี้คือ เครื่องมือวัดอุณภูมิแบบอินฟราเรด  (Infrared Thermometer) ซึ่งก็คือ เทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้แสงอินฟราเรดเป็นตัวตรวจจับความร้อนแล้วนำมาประมวลผล แสดงให้เราเห็นเป็นตัวเลขแบบดิจิตอล  ทำให้เราสามารถที่จะอ่านค่าของอุณหภูมิได้อย่างง่ายได้ครับ  ผมขอพูดถึงสรรพคุณของอุปกรณ์ชิ้นนี้สักหน่อยก่อนนะครับ

ut310a

Continue reading