July 2009 archive

IRDA Welder เครื่องยกชิพ เครื่องถอดชิพ เครื่องวอมบอร์ด

สวัสดีครับเืพื่อนๆ ทุกท่าน สำหรับในครั้งนี้ผมได้นำเครื่องมือที่จัดได้ว่าเป็นความสำคัญของงานซ่อมเมนบอร์ดที่ควรมีติดมือไว้นะครับนั่นคือเครื่องยกชิพ วางชิพ มีความสามารถในการถอดชิฟแบบ BGA ที่เป็นแบบวางบนปริ้น ไม่เห็นจุดบัดกรี ซึ่งได้แก่พวก South Bridge , North Bridge ,VGA Chip และตัวอื่นๆอีกหลายๆชนิดนะครับ ซึ่งจะทำทำให้การถอดชิฟที่มีปัญหา สามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว และแน่นอนครับ ทำให้เพื่อนๆสามารถทำเงิน(รายได้) เพิ่มขึ้น ซึ่งหากมีความสามารถและชำนาญแล้ว อาจใ้ช้เวลาในการจัดการไม่เกิน 30 นาทีต่อการซ่อม 1 อาการหลักๆ เช่น ยกชิพ VGA เพื่อนๆก็จะมีรายได้ประมาณ 3500 บาท ต่อ Job งานเลยทีเดียวครับ แนะนำวิธีการใช้เครื่องเครื่องถอดชิพ IRDA T-870 ถ้าเป็นรุ่นใหญ่ที่มีคุณสมบัติเพิ่มเติม ในเรื่องการควบคุมอุณหภูมิ รวมถึงมีแทนขนาดใหญ่ขึ้น เครื่องเครื่องถอดชิพ IRDA T-870 แท่นใหญ่ รูปด้านบนนี้ เป็นตัวที่มีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นในเรื่องของการควบคุมอุณหภูมินะครับ เป็นแท่นใหญ่กว่ารูปแรกครับ

Continue reading

Video Zoom Microscope

สวัสดีครับเพื่อนๆทุกท่าน  สำหรับในวันนี้ผมขอนำเครื่องมือที่คิดว่ามีความจำเป็นต่อการทำงานของการซ่อมโน๊ตบุ๊ค และอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ที่มีชิ้นเล็กๆ เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการมอง  สามารถเก็บภาพได้ด้วยครับ   เครื่องมือนี้ก็คือ กล้องวีดีโอที่มีอัตราการขยายสูง  เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Video Zoom Microscope องค์ประกอบของเจ้ากล้องไมโครสโคปตัวนี้ ก็ไม่มีอะไรเป็นพิเศษหรือแตกต่างกับกล้องซูมทั่วๆไปหรอกครับ เพราะองค์ประกอบของตัวกล้องชุดนี้ ก็จะมี ตัวกล้องแบบวงจรปิด หนึ่งตัวว ที่ถอดหัวเลนส์เปลี่ยนได้นะครับ ราคาก็ไม่เกิน ห้าหกร้อยบาท(แบบธรรมดาทั่วๆไป) เลนส์ซูมอัตราขยายที่สูง  ซึ่งจะแพงก็จะแพงที่เจ้าเลนส์ซูมเนี่ยะแหละ (ราคามากกว่า ห้าหกพันบาทครับ) แทนจับกล้อง ที่สามารถปรับเลื่อนขึ้นลงได้อย่างอิสระ การนำไปใช้งาน ก็ใช้การต่อสาย AV จากกล้องไปเข้ายัง Monitor (อาจเป็น TV แล้วเลือกปรับไปเป็น AV1,AV2) อะไรประมาณนั้นแหละ  ก็จะสามารถใช้งานได้แล้ว การปรับความละเอียด ความชัดของการดูภาพ  ก็ใช้การเลื่อนขึ้นลงของตัวจับกล้องครับ อ้อตัวกล้องและโครงสร้างการออกแบบยังมีไฟแบบ(ฟลูออเรสเซนต์) ติดให้ด้วย  จึงทำให้สามารถมองเห็นได้ในตำแหน่งที่มืดๆนะครับ  

เรื่องของฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk Drive)

สวัสดีครับเพื่อนๆ สำหรับในวันนี้ ผมจะขอนำเสนอเกี่ยวกับเรื่องของฮาร์ดดิสก์นะครับ? ซึ่งเป็นเรื่องที่จะพูดเกี่ยวกับชนิด รายละเอียดต่างๆ ที่ควรทราบ? และที่พลาดไม่ได้สำหรับสิ่งที่ผมชอบทำก็คือ การผ่าให้เห็นโครงสร้างแบบชัดๆ ในฮาร์ดดิสก์กันครับ ดู HardDisk กันยังไง เพื่อนๆครับ? การที่เราได้ฮาร์ดดิสก์มา 1 ตัว หรือเราได้ทำการเปิดเครื่องโน๊ตบุ๊คหรือ พีซี ออกมาดูตรงตำแหน่งของฮาร์ดดิสก์? เราจะบอกรายละเอียดอะไรได้บ้างหละครับ? มาตรงนี้…ผมจะแนะนำวิธีการให้ทราบครับ รูปแบบการเชื่อมต่อ?จะแบบ P-ATA? หรือ? S-ATA แบบ P-ATA รูปแบบการเชื่อมต่อนี้ จะเป็นฮาร์ดดิสก์ที่ใช้กันมาตั้งแต่ดั้งเดิมเลยนะครับ มีการรับส่งข้อมูลแบบขนาน? มีอัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ในระดับ 33 ,66,100 และ 133 MB./sec ซึ่งตั้งแต่ปี 2552 ก็ค่อยๆจางลงในในตลาดคอมพิวเตอร์ เนื่องจากมีรุ่นการเชื่อมต่อแบบใหม่เข้ามาแทน สำหรับในโน๊ตบุ๊ควันนี้ยังพอมีใช้กันอยู่ครับ

Continue reading

ทรานซิสเตอร์ (Transistor)

สวัสดีครับเพื่อนๆ สำหรับในวันนี้ ผมพยายามที่จะนำบทความที่เกี่ยวชิ้นงานอิเล็คทรอนิคส์เข้ามาเสริมให้มาก ๆ เพื่อจะได้เ้ข้าสู่การเรียนรู้ทางด้านการซ่อมโน๊ตบุ๊คที่ผมตั้งใจจะให้เพื่อนๆ ได้รับความรู้กัน อย่างที่ได้ตั้งปณิธานไว้ครับ?? และสำหรับวันนี้เป็นเรื่องของ Transistor) ทรานซิสเตอร์แบ่งได้เป็นสองประเภท คือ ทรานซิสเตอร์แบบรอยต่อคู่ (Bipolar Junction Transistor, BJTs) และทรานซิสเตอร์แบบสนามไฟฟ้า (Field Effect Transistors,FETs) ทรานซิสเตอร์จะมีขาเชื่อมต่อสามจุด อธิบายโดยย่อคือเมื่อมีการปรับเพิ่มแรงดันไฟฟ้าที่ขาหนึ่งจะส่งผลให้ความนำ ไฟฟ้าระหว่างขาที่เหลือสูงขึ้นอันทำให้สามารถควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้าได้ อย่างไรก็ตามหลักทางฟิสิกส์ในการทำงานของทรานซิสเตอร์ทั้งสองแบบ(ชนิดรอยต่อ คู่และชนิดสนามไฟฟ้า)มีความแตกต่างกันอยู่มาก ใน วงจรอนาถ ลอก นั้นทรานซิสเตอร์จะถูกใช้ขยายสัญญาณต่างๆ เช่น สัญญาณเสียง สัญญาณความถี่วิทยุ หรือควบคุมระดับแรงดัน รวมทั้งเป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบสวิชชิ่งในเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย ทราสซิสเตอร์ก็ยังถูกใช้ในวงจรดิจิทัล เพียงแต่ใช้งานในลักษณะการเปิด/ปิดเท่านั้น วงจรดิจิทัลเหล่านั้นได้แก่ วงจรตรรกะ (Logic gate), หน่วยความจำแบบสุ่ม (Random Access Memory, RAM) และไมโครโพรเซสเซอร์ เป็นต้น ประเภทของทรานซิสเตอร์ ทรานซิสเตอร์แบบรอยต่อคู่ (Bipolar junction transistor) ทรานซิสเตอร์แบบรอยต่อคู่ (BJT) เป็นทรานซิสเตอร์ชนิดหนึ่ง …

Continue reading

มอสเฟส (Mosfet Transistor)

สวัสดีครับเืพื่อนๆ สำหรับในวันนี้ผมได้ทำบทความเกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ที่มีใช้อยู่ใน Parts ของโน๊ตบุ๊คครับ เป็นชิ้นอุปกรณ์เล็ก (Component) ที่มีความสำคัญชิ้นหนึ่งครับ เพื่อนๆ ที่เป็นนักอิเล็คทรอนิคส์ก็คงจะรู้จักกันดี? แต่เพื่อนๆ อีกหลายท่านที่ยังไม่รู้จัก? หากได้อ่านบทความนี้จบ? ก็คงจะได้เข้าใจดีขึ้นนะครับ ทรานซิสเตอร์แบบมอสเฟต( metal?oxide?semiconductor field-effect transistor MOSFET) เป็นทรานซิสเตอร์ ที่ใช้อิทธิพลสนามไฟฟ้าในการควบคุมสัญญาณไฟฟ้า โดยใช้ออกไซด์ของโลหะในการทำส่วน GATE นิยมใช้ในวงจรดิจิตอล โดยนำไปสร้างลอจิกเกตต่างๆเพราะมีขนาดเล็ก MOSFET ประกอบด้วยสามส่วน คือ GATE เป็นส่วนที่ทำมาจากออกไซด์ของโลหะ โดยสร้างให้เกิดความต่างศักย์ตกคร่อมระหว่างแผ่นสองแผ่นเพื่อ สร้างสนามไฟฟ้าเพื่อควบคุมการเข้าออกของสัญญาณไฟฟ้า SORCE เป็นส่วนขาเข้าของสัญญาณ DRAIN เป็นส่วนขาออกของสัญญาณ

Continue reading

วิธีการถอดซีพียูโน๊ตบุ๊ค (Notebook CPU Remove)

สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ผมได้นั่งทำขั้นตอนการถอดซิ้งค์และซีพียูของโน๊ตบุ๊คมาให้ดูกัน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับเพื่อนๆ ที่เปิดฝาหลังของโน๊ตบุ๊คออกมาแล้ว แต่กล้าๆ กลัวๆ ว่าจะถอดได้ไม๊? เอาเป็นว่า รูปแบบที่นำมาให้ชมในครั้งนี้หลายๆภาพ เป็นขั้นตอน เพื่อนๆสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการถอดกับเครื่องอื่นๆ ได้แน่นอนครับ

Continue reading

ซ่อมเมนบอร์ด Notebook อาการไฟไม่จ่าย

สวัสดีครับเพื่อนๆ? วันนี้ผมได้นำบทความเกี่ยวกับเรื่องการซ่อมเมนบอร์ดของโน๊ตบุ๊คมาเล่าสู่กันฟัง? เพื่อเป็นแนวทางให้แก่เพื่อนๆ ที่มีความสนใจนำไปประยุกต์ใช้ในการตรวจหาตำแหน่งเสียในการลงซ่อมจริงครับ อาการทางเมนบอร์ดที่เราต้องซ่อมนั้น มีมากมายหลากหลายอาการ อาทิเช่น อาการไฟไม่จ่าย? และได้ข้อสรุปว่าเป็นที่ adaptor ที่จ่ายให้แก่ โน๊ตบุ๊ค เสีย อาการไฟไม่จ่าย และอะแดปเตอร์ไม่เสีย? แต่ไฟสถานะกระพริบในขณะที่เสียบเข้าเมนบอร์ด อาการไฟจ่ายแต่ไม่มีภาพปรากฏ ที่จอของโน๊ตบุ๊ค? แต่สามารถต่อออกทาง port db-15? VGA Port ได้ภาพ อาการไฟจ่ายแต่ไม่มีภาพปรากฎทั้งทางจอ LCD? และจอที่ต่อออกภายนอก อาการเสียงที่ลำโพงในเครื่องดัง แต่เสียบแจ๊คหูฟังแล้วไม่มีเสียงดังที่ หูฟัง (Headphone) อาการเสียงไม่ดังทั้งที่ในเครื่อง และ ที่หูฟัง??? และอีกหลายๆอาการที่ได้เคยกล่าวไว้ในบทความก่อนหน้าแล้วนะครับ อาการที่เสียบสายแลนแล้วไม่ขึ้นการคอนเน็ค ( unplug ตลอด ) ทั้งๆ ที่ Driver สมบูรณ์ สายแลนก็ต่อกับเครื่องอื่นได้ตามปรกติ สำหรับที่ผมจะนำมากล่าวนี้ เป็นวิธีหนึ่งที่ช่างๆอย่างเราทำการซ่อมกันได้ แบบไม่ต้องมีวงจร? มาประกอบ เรียกได้ว่าประสบการณ์ล้วนๆ ครับ? และผมก็ไม่ขอรับรองผลการซ่อมในโน๊ตบุ๊คอื่นๆ ที่อยู่กับเพื่อนๆ นะ?? เพราะเป็นความสามารถเฉพาะตัวนะครับ? …

Continue reading

เครื่อง Flash BIOS (ROM Copy Machine)

สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ผมได้นำเรื่องเกี่ยวกับเครื่องมือที่มีความจำเป็นสำหรับช่างคอม ไม่ว่าจะเป็นทาง พีซี หรือโน๊ตบุ๊คก็แล้วแต่นะครับ  เพราะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยแก้ปัญหาในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ที่มีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลใน ROM  ครับ เครื่องมือนี้สำหรับผม อาจจะเรียกว่า เครื่องก๊อปปี้รอม (ROM Copy) ซึ่งก็มีความเข้าใจแบบเดียวกันนะครับ เพราะสามารถนำมาใช้ก๊อปปี้ BIOS ที่อยู่บนเมนบอร์ดของเราได้นะครับ ใช้งานง่าย ราคาไม่แพงครับ เครื่องรุ่นระดับมือโปร ต้องใช้ Super Pro 3000 U หรือ เครื่องรุ่น All-11

Continue reading

การถอดเปลี่ยนซี (ตอนที่ 3) เทคนิคการดูดตะกั่ว

สวัสดี ครับเพื่อนๆ คงมาตามสัญญาที่ได้ให้ไว้ในตอนที่ 2 ว่าจะนำวิธีการถอนจุดบัดกรี (ดูดตะกั่ว)ออกจากปริ้นกันนะครับ? ซึ่งหลายท่านคงมองดูไม่ยาก? แต่ในความเป็นจริงแล้ว ช่างรุ่นใหม่ๆ ยังขาดทักษะในเรื่องเหล่านี้? ผมจึงขอนำเสนอวิธีให้เป็นแนวทางในการพิจารณานะครับ เนื่อง จากว่า หลายๆ ท่านยังใช้วิธีการแบบเดิมๆ? กล่าวคือ? เวลาจะถอนจุดบัดกรี โดยเฉพาะตะกั่ว? ก็จะนำหัวแร้งไปจี้ที่จุดบัดกรี พร้อมใส่ตะกั่วใหม่เข้าไปด้วย อย่างนี้ถูกต้องนะครับ? แต่ว่าเวลาที่จะใช้เครื่องดูดตะกั่วดูดตะกั่วในตำแหน่งจุดบัดกรีที่มีการถอด อุปกรณ์ไปแล้วนั้น? ก็จะใข้วิธีแบบรวดเร็ว กล่าวคือ? เมื่อจี้ปลายหัวแร้งลงจุดบัดกรีแล้ว พอเห็นว่าตะกั่วหลอมเหลวแล้ว ก็จะนำปลายเครื่องดูดตะกั่วทาบลงไปแล้วกดปุ่มเพื่อดูดตะกั่วทันที?? ตรงนี้ เท่าที่ผมก็ได้ทำมา ก็ใช้ได้นะครับ?? แต่ว่าในกรณีเมนบอร์ดนี้มันตะกั่วจะเย็นเร็วมาก เนื่องจากมีหลายเลเยอ (layer) ดังนั้น ผมจึงนำเสนอให้ใช้วิธีการปรับแต่งปลายของตัวดูดตะกั่ว เพื่อเราจะได้นำปลายหัวแร้งจี้ค้างไว้ได้เลยในขณะที่ตัวดูดตะกั่วก็ยัง ครอบอยู่บนจุดบัดกรี? วิธีนี้จะทำให้ดูดตะกั่วได้หมดจดเลยครับ รูปนี้แสดงให้เห็นการปรับแต่งหัวสำหรับเครื่องดูดตะกั่ว เพื่อให้เกิดช่องสำหรับปลายหัวแร้งเสียบเข้าไปได้

Continue reading

คอมพิวเตอร์เปิดไม่ติด ไม่มีภาพ (ไฟไม่จ่าย)ตอนที่ 1

สวัสดีครับเพื่อนๆ สำหรับในวันนี้ มีเพื่อนผู้หญิงท่านหนึ่งเขียนเมล์มาถามอาการเกี่ยวกับพีซี ดังนี้ครับ “ก่อนอื่นเลยขอบคุณมากๆๆๆนะค๊ะที่สละเวลามาทำเวปที่ดีๆอย่างนี้หาน้อยมากเลยค่ะจากนั้นเข้าเรื่องเลยนะค๊ะคือมีเรื่องรบกวนหน่อยน่ะค่ะคือว่าพีซีที่ใช้อยู่เปิดเครื่องมีไฟเข้าแต่ไม่มีเสียงปิ๊ดอะไรเลยน่ะค่ะหน้าจอก็ไม่ติดลองถอดแรมออกมาทำความสะอาดแล้วเปลี่ยนช่องเสียบใหม่แล้วก็ยังไม่ติดน่ะค่ะไม่ทราบว่าเป็นที่อะไรเหรอค๊ะจะเกี่ยวกับไบออสรึป่าวค๊ะ เกี่ยวต้องถอดตรงไหนเหรอค๊ะ ?? รบกวนช่วยตอบหน่อยนะค๊ะ ขอบคุณมากๆๆๆๆค่ะจะรอคำชี้แนะนะค๊ะ” ผมก็เลยนำรูป ขั้นตอนการตรวจเช็คอาการเสียดังกล่าวมานำเสนอแนะตรงนี้ดังนี้ครับ

Continue reading