ผ่า ..ฮาร์ดดิสก์โน๊ตบุ๊ค ชำแหละดูโครงสร้างภายใน

  • สวัสครับเพื่อนๆ สำหรับวันนี้ผมได้นำเรื่องที่เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างภายในตัวของฮาร์ดดิสก์โน๊ตบุ๊คมาโชว์ภายในกันครับ? เพราะว่าเพื่อนๆ หลายท่านอาจยังไม่เคยได้แกะฮาร์ดดิสก์เล่นกัน เนื่องจากอาจยังไม่มีฮาร์ดดิสก์ที่ไม่ได้ใช้งาน หรือมีความเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้กัน? ผมก็เลยขออาสา? ทำงานนี้แทนเพื่อนๆ นะครับ
  • สำหรับฮาร์ดดิสก์โน๊ตบุ๊คนั้น ก็ไม่มีความแตกต่างกับฮาร์ดดิสก์แบบของ PC กันแต่อย่างใดมากนัก? เท่าที่เห็นๆ ก็คงจะเป็นขนาดที่ฮาร์ดดิสก์ของโน๊ตบุ๊คมีขนาดเล็กกว่า ฮาร์ดดิสก์แบบ PC ทั่วๆ ไป?? ในความเหมือนนั้นก็จะมีในเรื่องของ Interface (ตำแหน่งเชื่อมต่อสายสัญญาณ)? ที่ถูกเรียกเป็น แบบ P-ATA? และ อีกชนิดจะเรียกว่า S-ATA ซึ่งแบบหลังนี้จะได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนะครับ? เพราะจะมีความเร็วรอบที่สูงกว่า และอีกเรื่องที่สำคัญ? ก็คือเรื่องของอัตราการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างฮาร์ดดิสก์ กับชุดควบคุม? ซึ่งฮาร์ดดิสก์แบบ S-ATA จะมีอัตราสูงถึง 300 MB/Sec?? แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์แบบ P-ATA แบบเก่าที่กำลังค่อยๆหมดจากท้งตลาดนั้นจะมีอัตรความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่สูงสุดที่ 133 MB/Sec

เริ่มต้นผ่า…ฮาร์ดดิสก์กันเลยครับ

  • ฮาร์ดดิสก์โน๊ตบุ๊ค และพีซี จะใช้ไขควงที่มีหัวเป็นหกแฉก (ไม่ใช่สี่แฉกที่เราใช้ทั่วไป) ซึ่งมีลักษณะดังรูปนะครับ? ก็ให้เพื่อนๆ ทำการไขสกรูที่อยู่บนตัวของฮาร์ดดิสก์ออกให้หมด

แกะหมดแล้วแต่ทำไมจึงยังดึงไม่ออก

  • เหตุที่เพื่อนๆ ได้ทำการไขสกรูออกจนครบตามที่เห็นแล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดฝาของฮาร์ดดิสก์ออกได้นั้น เนื่องจาก ในฮาร์ดดิสก์บางรุ่นมีการไขสกูรตรงตำแหน่งฝากลาง ด้วยครับ
  • ดังรูปเพื่อนๆ ต้องแกะแผ่นฟอยที่ติดเป็น Label บนฝาฮาร์ดดิสก์ออกสักหน่อย ก็จะเห็นสกูรที่ตัวหนึ่งครับ? ให้ทำการไขสกูรนี้ออกด้วยครับ? จากนั้นจึงดึงฝาออกได้แล้วครับ? ค่อยๆ แซะด้วยไขควงปากแบนก็ได้ครับ ออกง่ายๆ เลยหละ

รูปด้านบน คือทำการไขสกูรในตำแหน่งฝาบนทั้งหมดออก

รูปด้านบนนี้? จะมีสกูรอีกหนึ่งตัวซ่อนอยู่ใต้แผ่นฟอยปิดฝากบนของฮาร์ดดิสก์? ไขตัวนี้ก็จะเปิดฝากได้แล้วครับ

รูปด้านบนนี้แสดงให้เห็นภาพโดยรวม หลังจากได้เปิดฝาฮาร์ดดิสก์ออกมา? วงกลมๆ นั้นคือ Platter หรือจานที่ถูกบันทึกข้อมูลนั่นเองครับ

รูปด้านบนนี้เป็นรูปโครงสร้างภายในของฮาร์ดดิสก์ หลังจากได้ทำการเปิดฝากออกได้แล้ว

รูปที่แสดงด้านบนนี้? ผมเน้นให้ดูถึงหัวอ่าน เขียน และตำแหน่งลานจอดพักหัวอ่าน หลังปิดเครื่องแล้วครับ

รูปด้านบนนี้ ผมได้ทำการแยกชิ้นส่วนต่างๆ ออกมาจากตัวบอดี้ของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งจะเห็นส่วนประกอบดังนี้คือ? บนสุดคือแผ่นแม่เหล็ก ตัวที่ลองลงมาที่มีขดลวดแอยู่นั้นก็คือแขนกลของหัวอ่านฮาร์ดดิสก์ และหัวอ่านฮาร์ดดิสก์ อยู่ตรงปลายสุดเล็กๆครับ ส่วนตัวดำๆ นั้นจะเป็นชุดคอนเน็กเตอร์ที่นำไปต่อกับ แผงบอร์ดของฮาร์ดดิสก์ที่อยู่ภายนอกนะครับ ซึ่งจะไปเชื่อมต่อกับชุดควบคุมการหมุน การอ่านการเขียนั่นเองครับ ? ดูกันให้ชัดๆ รูปด้านล่างนี้ก็ได้ ชัดๆ ดีครับ

รูปด้านบนแสดงให้เห็นแขนกลและตำแหน่งตรงปลายสุด ที่เป็นหัวอ่านและเขียนข้อมูลนั่นเองครับ

โดยทั่วๆไปแล้ว หลังจากผมได้แกะฮาร์ดดิสกืออกมา ดังรูปแล้ว เราคงไม่นำกลับเข้าไปประกอบใช้ดังเดิมนะครับ เพราะมันจะไม่ค่อยมีความเที่ยงตรงแล้วหละ… เอาเป็นว่า เหตุผลที่แกะออกมาก็เพราะว่าฮาร์ดดิสก์มันเสีย? ก็เลยแกะเล่น? และสุดท้าย? ก็เลยเอาแม่เหล็กของฮาร์ดดิสก์นั้นๆ ไปใช้งานครับ โห…แรงดูด..เยี่ยมเลยครับ? เพื่อนๆลงเล่นดูนะครับ

admin

View Comments

  • ครั้งแรกที่เห็นนะเนี่ย เสียไม่เคยผ่าดูสักที มีแต่ทิ้งเลย

  • ขอบคุงสำหรับการเสียสละคับ 55
    แล้วผมจะไปชำแหละดูมั่ง

  • Right now it looks like Drupal is the top blogging platform available right now. (from what I've read) Is that what you're using on your blog?

  • เราสามารถกู้ข้อมูลในHarddiskที่เสียแล้วได้ไหมคะ ช่างบอกว่าไม่ได้

    • กู้ได้ (อาจสมบูรณ์ หรือไม่สมบูรณ์)ขึ้นอยู่กับสภาพโครงสร้างของฮาร์ดดิสก์ลูกนั้นๆนะครับ พอมีหวังว่าได้นะครับ

  • ของผม เปิดไปสักพัก ะมีเสียงเหมือนพัดลมดัง เอามือแคะๆก็หาย เป็นอะไรหว่า

  • ขอบคุณมากๆๆครับหนุ่มขี้สงสัย

  • Cool post ! Thank you for, visiting my blog mate! Ill email you soon! I did not realise that!

Recent Posts

SPI Flash ROM ที่เครื่องFlash PCB50 สามารถเขียนได้

เบอร์ของ SPI Flash ROM ที่มีใช้ๆกัน ในทุกๆ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็คทรอนิคส์ รวมถึงโน๊ตบุ๊ค tablet ,Desktop PC , Mobile SPI…

12 years ago

โน๊ตบุ๊คเปิดแล้วดับเอง #ตอนที่ 2 (วิธีการตรวจวัดความร้อนโน๊ตบุ๊คตัวเก่งของเรา)

สวัสดีครับเพื่อนสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่านครับ  เคยตั้งคำถามกันใช่ไม๊ครับว่า "ทำไมเครื่องโน๊ตบุ๊คของเราเวลาที่ถูกใช้ไปนานๆ หรือเวลาที่เล่นเกมส์ที่ใช้กราฟฟิคสูงๆ  บางทีเครื่องก็ดับไปเองเลย..." สาเหตุหลักๆเลยครับ... คือเรื่องของการระบายความร้อนของเครื่องโน๊ตบุ๊คของเรา ดังที่ผมได้เคยเขียนบทความเกี่ยวกับ โน๊ตบุ๊คเปิดแล้วดับเอง ตอนที่ 1 (ปัญหาจากความร้อน) สำหรับในตอนที่…

12 years ago

เมื่อวงจรภาคไฟแหล่งจ่ายมีการช้อตเกิดขึ้น

สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่า   วันนี้ผมได้ update ความรู้ในเรื่องของการใช้เครื่องมือสักเรื่องนะครับ  อุปกรณ์ชิ้นนี้คือ Regulator Atten APS3005S ในฐานะที่เราเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊ค  เมื่อเราต้องการจะจ่ายกระแสไฟเข้าสู่เมนบอร์ดของโน๊ตบุ๊คเพื่อทดสอบการทำงาน  แต่ปรากฏว่าเมื่อทำการเสียบสายของ อะแดปเตอร์เข้าไปแล้ว…

12 years ago

USB notebook เสียใช้ไม่ได้ เสียบาง port เสียทุก port จะซ่อมกันยังไง(ตอนที่ 2) RT9711 Power switches

สวัสดีครับเพื่อนๆชาว repair-notebook.com ทุกท่าน เช้าวันเสาร์ที่ 12/05/2555 ผมได้นำความรู้มาแนะนำกันอย่างเช่นเคยครับ  บทความในวันนี้เป็นเรื่องของ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์เล็กตัวหนึ่งที่อยู่บนบอร์ดของโน๊ตบุ๊ค  ซึ่งเพื่อนสมาชิกช่างใหม่ ช่างเก่า หรือท่านผู้สนใจทุกท่านอาจจะไม่ได้ให้ความสนใจกับเจ้าตัวนี้กันซะเท่าไหร่   แต่วันนี้ต้องขอนำมากล่าวตรงนี้เพราะว่า อาการที่เกิดขึ้นกับโน๊ตบุ๊คของเพื่อนๆนั้นก็คือ "USB…

13 years ago

CMOS Battery รูปแบบต่างๆที่อยู่ในโน๊ตบุ๊ค

เราทราบกันดีอยู่แล้วครับว่า ระบบปฏิทินวันที่ และค่าความจำพื้นฐานที่เราได้ทำการตั้งค่าใน BIOS นั้น จะถูกเก็บไว้ในส่วนของหน่วยความจำของชิพ ซึ่งมี CMOS Battery จ่ายกระแสเลี้ยงตลอดเวลา ซึ่งรวมถึงในขณะที่เครื่องไม่ได้ถูกใช้งานด้วย ซึ่งจะทำให้ระบบความจำ หรือการโปรแกรมตารางนัดหมาย การจัดการในระบบ เพื่อให้เป็นไปตามช่วงเวลาในแต่ละช่วงๆ…

13 years ago

ขั้วถ่าน CMOS Battery โน๊ตบุ๊ค ตระกูล DV2000

สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่าน วันนี้นั่งทำงานซ่อมอยู่ก็เลยนึกจะเขียนบทความขึ้นมาให้เป็นความรู้แก่ทุกท่านสักบทความนึง...ตามองไปเห็นบอร์ด DV2000 ซึ่งคิดอยู่ว่าเดี๋ยวจะนำขึ้นมาทดสอบการทำงาน เปิดเครื่องดูว่ายัง"เปิดติดมีภาพอยู่หรือเปล่า" ก็สังเกตุเห็นว่าถ่าน Cmos ของบอร์ดหายไป  ก็คิดจะหยิบถ่าน CMOS ก้อนอื่นมาใส่ ก็ต้องหยุดคิดอยู่นิดนึงว่า"แล้วทำไมขั้วของ DV2000…

13 years ago