March 2010 archive

ความรู้เกี่ยวกับการชาร์จแบตเตอรี่โน๊ตบุ๊ค

ชาร์ตอย่างไรถึงจะดี หลาย คนคงเคยได้ยินว่าต้องชาร์ตแบตเตอรี่ครั้งแรกเท่านั้นเท่านี้ชั่วโมงแล้วจึง จะเริ่มใช้งานได้ หรือว่าต้องหมั่นชาร์ตบ่อยๆ หรือไม่ก็ใช้ให้ไฟหมดก่อนแล้วค่อยชาร์ต ซึ่งข้อความทั้งหมดนี้ก็มีข้อจริงและเท็จปนๆกัน อันที่จริงแล้วสำหรับแบตเตอรี่แบบ lithium (ย้ำว่าแบบ lithium เท่านั้น) จะชาร์ตอย่างไรก็ได้ไม่มีผลต่ออายุการใช้งานครับ ข้อมูลตรงนี้เป็นที่ยืนยันจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ(ทั้งที่อ้างอิงไว้ ข้างล่าง และที่อื่นๆ) มีใจความตรงกันว่า การชาร์ตมาชาร์ตน้อย ชาร์ตนาน ชาร์ตถี่ ชาร์ตบ่อย มีผลต่ออายุการใช้งานของแบตเตอรี่น้อยมาก ส่วนข้อความข้างต้นที่ยกมานั้นเป็นคำแนะนำสำหรับแบตเตอรี่ชนิดอื่นๆที่ไม่ ใช่ lithium ครับ การที่แบตเตอรี่แบบ lithium จะเสื่อมจากการใช้งานนั้นมีอยู่ด้วยกัน 4 เงื่อนไข คือ – เมื่อใช้งานจนถึงจำนวน Cycle ที่แบตเตอรี่จะเริ่มเสื่อมเองตามปกติ – เมื่อถึงเวลาที่แบตเตอรี่จะเสื่อมมันก็จะเรี่มเสื่อมเอง โดยเวลาที่ว่าเป็นเวลาที่นับตั้งแต่การผลิต ไม่ใช่เวลาในการใช้งาน – การชาร์ตไฟของตัวชาร์ต (ดังที่กล่าวไปแล้วในข้อ 1) – อุณหภูมิของแบตเตอรี่ ถ้าแบตเตอรี่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิสูงก็จะส่งผลให้แบตเตอรี่เสื่อม เร็วกว่าปกติได้ 4. ได้ยินว่าชาร์ตไฟ 40% แบตจะอยู่ได้นานกว่าจรึงรึเปล่า?? สำหรับแบตเตอรี่แบบ lithium ถ้าชาร์ตไฟที่ …

Continue reading

ชนิดของแบตเตอรี่โน๊ตบุ๊ค

สำหรับแบตเตอรี่นี่จะเป็นแบตเตอรี่ที่เรียกว่า Lithium นะคับซึ่งโน๊ตบุคส่วนใหญ่ก็จะใช้แบตเตอรี่ชนิดนี้ทังนั้นคับ รวมทั้งอุปกรณ์พกพาอย่างอื่นๆด้วยคับ เช่น มือถือ กล้องดิจิตอล เป็นต้นซึ่งแบตเตอรี่แบบ lithium นั้นถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่ายน้ำหนักเบา และไม่ต้องดูแลรักษามากนัก ซึ่งจะต่างจากแบตเตอรี่แบบชาร์ตไฟใหม่ได้ในสมัยก่อนๆอย่างสิ้นเชิงทั้งในด้านวิธีใช้งาน และการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง แบตเตอรี่แบบ lithium ที่พบเห็นบ่อยๆ ในปัจจุบันมีด้วยกัน 2 แบบ คือ 1. lithium-ion หรือตัวย่อว่า Li-ion เป็นแบตเตอรี่ที่พบเห็นมากที่สุดถือว่าเป็นแบตเตอรี่มาตรฐานสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในทุกวันนี้ 2. lithium-ion polymer หรือตัวย่อว่า Li-Poly เป็นแบตเตอรี่ที่พัฒนาต่อยอดมาจาก Li-ion โดยจะมีความจุไฟฟ้ามากว่า Li-ion ถึง 20% ในขนาดแบตเตอรี่ที่เท่ากันแบตเตอรี่แบบนี้มีจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งคือมีข้อจำกัดเรื่องรูปร่างของเบตเต อรี่น้อยมากจึงทำให้สามารถสร้างแบตเตอรี่แบบ Li-Poly ให้มีขนาดเล็กและบางได้ รวมทั้งสามารถสร้างให้มีรูปทรงแปลกๆ ที่ไม่ใช่ทรงกระบอกหรือทรงสี่เหลื่ยมเหมือนแบตเตอรี่แบบเดิมๆได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามต้นทุนการผลิตของ Li-Poly ยังจัดว่ามีต้นทุนสูง   ดังนั้นความนิยมจึงยังมีไม่มากเท่าแบตเตอรี่แบบ Li-ion ทีนี้ลองพลิกดูแบตเตอรี่ของคุณๆ ดูว่าใช่แบตเตอรี่แบบ lithium กันรึเปล่า ถ้าใช่แล้ว เรามาไขข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแบตเตอรี่ lithium กันเลยดีกว่าครับ

Continue reading

ไขข้อสงสัย ! ทำไมขั้วแบตเตอรี่ของโน๊ตบุ๊คจึงมีหลายจุดเชื่อมต่อ

สวัสดีครับเพื่อนๆครับ…วันนี้ได้ฤกษ์ที่ผมเข้ามาเขียนบทความให้รับทราบกันอีกเหมือนเดิมครับ  ในสไตล์ของผมแล้ว  ผมคิดว่า “บทความต่างๆที่ผมได้เขียนลงมาในหน้าเว๊ปนี้ มันก็เหมือนกับเป็นการเตือนความจำของตนเอง” ซึ่งเรานำมาเขียนในหน้าเว๊ป เพื่อให้ตัวผมเอง  รวมถึง เพื่อนๆ ได้ใช้ประโยชน์ต่อการค้นคว้านั่นเองครับ   ในเวลาที่ผมทำการสอน หรืออบรมให้แก่ผู้สนใจเรื่องของคอมพิวเตอร์ พีซี และ โน๊ตบุ๊ค  บางครั้ง ผมอยากจะเขียนบทความตามที่ผู้เข้ารับการอบรม สอบถามขึ้นมาทันทีเลย  นั่นก็หมายถึงว่าเราก็อยากจะทราบเหมือนกัน   อย่างเช่นในวันนี้ครับ เรื่องของขั้วแขตเตอรี่โน๊ตบุ๊ค ทั้งที่ตัวของแบตเอง หรือที่ตัวของเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค  ผมก็ได้พยายามที่จะทำความเข้าใจกับขั้วแบตตรงนี้  และก็ได้รับความเข้าใจ  จึงนำมานำเสนอให้รับทราบกัน  และเป็ฯการตอบโจทย์ ตอบคำถามแก่ผู้เข้ารับอบรม นักเรียน ที่เรียนกับผม ว่า “เธอเข้าไปดูในหน้าเว๊ปหรือยัง  ผมเขียนเอาไว้แล้ว”  ผมจะพูดคำนี้เสมอ ทำไม..ขั้วแบตเตอรีของโน๊ตบุ๊คจึงมีหลายขา ผมตอบโจทย์ตรงนี้ ว่าผมได้ทำการผ่าแบตเตอรี่ของโน๊ตบุ๊ค หลายๆยี่ห้อ หลายๆรุ่น ที่มีอยู่ในมือ  ก็พอจะได้เป็นข้อสรุปว่า   เนื่องจากในตัวของแบตเตอรี่จะมีการต่อเซลล์ที่แตกต่างกันไป   แล้วแต่ว่าผู้ผลิตต้องการจะให้มีการต่อแบบ 3 เซลล์ หรือ 6 เซลล์  (ก้อนแบตที่ใช้ในโน๊ตบุ๊ค จะมีโวลท์อยู่ที่ประมาณ  3.6 V.2.4 Amp)  ซึ่งจะมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าจ่ายให้แก่วงจออยู่ที่ ประมาณ …

Continue reading

ซ่อมโน๊ตบุ๊ค อาการเปิดไม่ติด เปิดไม่ได้ (ตอนที่1) ไฟไม่จ่ายเข้าเครื่อง

สวัสดีครับเพื่อนๆทุกท่าน  สำหรับในวันนี้  ผมได้นำความรู้เกี่ยวกับการตรวจซ่อมคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค Notebook มาเล่าสู่กันฟังกันต่อนะครับ อาการ ที่ว่านี้ก็คือ ไฟไม่จ่ายเข้าเครื่อง การสังเกตุ จากไฟสแตนบาย (Stand by) ถ้าติดอยู่ในขณะที่เสียบอะแดปเตอร์ แสดงว่าไฟจ่ายแล้ว ในเครื่องที่มีไฟสถานะ Standby อยู่ ก็จะไม่มีสถานะไฟติดให้เห็นนะครับ และสำหรับเครื่องที่ไม่มีไฟ Standby ก็จะยิ่งไม่ทราบใหญ่ การสังเกตุ จากไฟชาร์จแบตเตอรี่ ถ้าติด แสดงว่า ไฟจากอะแดปเตอร์จ่ายแล้ว ถ้าเพื่อนๆได้เสียบแบตเตอรีเข้าเครื่องไว้  โดยไม่ได้เสียบไฟจากอะแดปเตอร์ ก็จะไม่เห็นสถานการทำงานของการชาร์จเกิดขึ้นครับ  จนกว่าจะมีการเสียบไฟจากอะแดปเตอร์เข้าไปยังตัวโน๊ตบุ๊ค  ไฟสถานะชาร์จก็จะติดสว่างขึ้น  ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นเราก็จะได้ทราบว่า ไฟจ่ายเข้าเครื่องแล้วนั่นเองครับ การสังเกตุ จากไฟสถานะของอะแดปเตอร์ ถ้ากระพริบ ก็แสดงว่า โหลด(load)ของวงจรมีการดึงกระแสไฟลงกราวด์แบบเต็มๆนะครับ หรืออาจเรียกได้ว่า วงจรช้อตนั่นเอง ตามปรกติไฟสถานะของอะแดปเตอร์(หากมี) จะติดสว่างนิ่งอยู่  แต่ถ้าเห็นว่ามีการกระพริบเกิดขึ้นในขณะที่เราได้เสียบขั้ว DC Jack เข้าสู่โน๊ตบุ๊ค  นั่นย่อมทำให้เราได้ทราบว่า มีการช้อตไฟจากแหล่งจ่ายลงกราด์ทั้งหมด  ทำให้ไฟไม่สามารถไปเลี้ยงยังส่วนวงจรต่างๆ บนเมนบอร์ดได้ครับ  เราก็ต้องหาตัวช้อตในวงจรให้เจอ และยกออก เปลี่ยนใหม่ ก็จะกลับสู่สภาพเดิมครับ  เพียงแต่ว่า …

Continue reading

ซ่อมโน๊ตบุ๊ค อาการเปิดไม่ติด เปิดไม่ได้ (ตอนที่2) กดปุ่ม Power On แล้วไม่ทำงาน

สวัสดีครับเพื่อนๆที่รักทุกท่าน  คงต้องขอกล่าวขอโทษเพื่อนๆไว้ ณ ที่นี้นะครับที่ช่วงเดือนสองเดือนนี้ไม่ค่อยได้มีบทความใหม่ๆเข้ามาให้เพื่อนๆรับทราบกันเป็นความรู้เลย  ด้วยเหตุที่ผมต้องทำงานในหลายๆหน้าที่ รวมถึงงานในร้านซ่อม ก็มากขึ้นเป็นลำดับ  แต่ก็ไม่ลืมหรอกครับที่จะคอยนำความรู้ที่พอจะแนะนำให้เป็นแนวทางมานำเสนอต่อเพื่อนๆกันอย่างต่อเนื่องครับ สำหรับในวันนี้ ผมจะพาเพื่อนๆ ทุกท่านเข้ามารับรู้ถึงสเต็ปขั้นตอนในการวิเคราะห์อาการเสีย ต่อจาก ตอนที่ 1 และการนำไปสู่การตรวจเช็คในส่วนวงจรกันในระดับหนึ่ง  ซึ่งต้องถือว่ามีหลากหลายวิธีที่จะใช้  แต่ก็จะพูดไปทั้งหมดก็ยังคงไม่สะดวก  เลยขอแบ่่งเป็นตอนๆ เพื่อให้เพื่อนๆลองปฏิบัติตามและหาวิธีแก้ไขปัญหา  อาจทำให้ประสบความสำเร็จในงานซ่อม และเป็นแนวทางได้นะครับ อาการที่ผมนำมากล่าวในครั้งนี้ ก็คงจะต่อเนื่องกับอาการนี้ที่ได้พูดไว้ใน(ตอนที่1) ซึ่งต้องถือว่าเป็นแบบผู้ใช้ทั่วๆไปที่จะดูแล และแก้ไขได้ด้วยตนเองครับ  แต่สำหรับในวันนี้ (ตอนที่2) ผมได้หมายถึงวิธีการที่เพื่อนๆ ที่ชอบถอดตัวเครื่องออกมาแล้ว (เอาเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คออกมาแล้ว)  และเราก็จะเริ่มต้นการตรวจเช็คกันเลยนะครับ อาการไฟจ่ายแต่ไม่ขึ้นภาพ (ตรวจเช็คในส่วนเมนบอร์ด) ขั้นตอนปฏิบัติ นำแผงเมนบอร์ดของโน๊ตบุ๊คที่เราแกะออกจากตัวเครื่องแล้ว  ออกมาหาที่วางนุ่มๆ  อาทิเช่นฟองน้ำ หนาๆ ติดตั้ง CPU,RAM และแผงควบคุมการสั่งเปิดปิดเครื่องลงไป เชื่อมต่อสายสัญญาณ DB-15 จากจอภาพภายนอก (เช่น จอ CRT หรือ LCD ที่ใช้กับเครื่องแบบตั้งโต๊ะ นอกจากจากที่ได้กล่าวถึงนี้นะครับ เพื่อนๆ ไม่ควรจะเสียบอุปกรณ์ใดเข้าไปยุ่งเกี่ยวเพิ่มเติมอีก เช่น HardDisk,DVD-RW …

Continue reading