ซ่อมโน๊ตบุ๊ค อาการเปิดไม่ติด เปิดไม่ได้ (ตอนที่1) ไฟไม่จ่ายเข้าเครื่อง

สวัสดีครับเพื่อนๆทุกท่าน  สำหรับในวันนี้  ผมได้นำความรู้เกี่ยวกับการตรวจซ่อมคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค Notebook มาเล่าสู่กันฟังกันต่อนะครับ

อาการ ที่ว่านี้ก็คือ ไฟไม่จ่ายเข้าเครื่อง

การสังเกตุ จากไฟสแตนบาย (Stand by) ถ้าติดอยู่ในขณะที่เสียบอะแดปเตอร์ แสดงว่าไฟจ่ายแล้ว

  • ในเครื่องที่มีไฟสถานะ Standby อยู่ ก็จะไม่มีสถานะไฟติดให้เห็นนะครับ
  • และสำหรับเครื่องที่ไม่มีไฟ Standby ก็จะยิ่งไม่ทราบใหญ่

การสังเกตุ จากไฟชาร์จแบตเตอรี่ ถ้าติด แสดงว่า ไฟจากอะแดปเตอร์จ่ายแล้ว

  • ถ้าเพื่อนๆได้เสียบแบตเตอรีเข้าเครื่องไว้  โดยไม่ได้เสียบไฟจากอะแดปเตอร์ ก็จะไม่เห็นสถานการทำงานของการชาร์จเกิดขึ้นครับ  จนกว่าจะมีการเสียบไฟจากอะแดปเตอร์เข้าไปยังตัวโน๊ตบุ๊ค  ไฟสถานะชาร์จก็จะติดสว่างขึ้น  ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นเราก็จะได้ทราบว่า ไฟจ่ายเข้าเครื่องแล้วนั่นเองครับ

การสังเกตุ จากไฟสถานะของอะแดปเตอร์ ถ้ากระพริบ ก็แสดงว่า โหลด(load)ของวงจรมีการดึงกระแสไฟลงกราวด์แบบเต็มๆนะครับ หรืออาจเรียกได้ว่า วงจรช้อตนั่นเอง

  • ตามปรกติไฟสถานะของอะแดปเตอร์(หากมี) จะติดสว่างนิ่งอยู่  แต่ถ้าเห็นว่ามีการกระพริบเกิดขึ้นในขณะที่เราได้เสียบขั้ว DC Jack เข้าสู่โน๊ตบุ๊ค  นั่นย่อมทำให้เราได้ทราบว่า มีการช้อตไฟจากแหล่งจ่ายลงกราด์ทั้งหมด  ทำให้ไฟไม่สามารถไปเลี้ยงยังส่วนวงจรต่างๆ บนเมนบอร์ดได้ครับ  เราก็ต้องหาตัวช้อตในวงจรให้เจอ และยกออก เปลี่ยนใหม่ ก็จะกลับสู่สภาพเดิมครับ  เพียงแต่ว่า เราจะเจอตัวเสียตรงไหนหละครับ

วิธีการตรวจซ่อมอาการไฟไม่จ่ายเข้าเครื่องกันครับ

กาตรวจเช็คกรณีที่ไฟไม่จ่ายเข้าเครื่อง แต่ไฟสถานะของอะแดปเตอร์กระพริบ

  • เราทราบดีแล้วจากบทความที่ได้กล่าวๆกันไว้  ว่ากรณีที่ไฟสถานะของอะแดปเตอร์กระพริบนั้น  ส่วนใหญ่จะเกิดจากไฟจากแหล่งจ่ายช้อตลงกราวด์ของวงจร  ไฟจากแหล่งจ่ายก็คือไฟจากอะแดปเตอร์นั่นเอง  กรณีนี้  จะว่าง่ายก็ได้  จะว่ายากก็ได้ เพราะถ้าไม่เจอตัวช้อตตรงๆตามที่เราตรวจเห็น  ก็จะทำให้เราหามันไม่เจอ  ซึ่งยากแก่การซ่อมมากๆครับ

จุดในการตรวจสอบเบื้องต้น

  • กลุ่มของ C อิเล็คโตรไลท์ ในส่วน Filter ไฟแหล่งจ่ายหลัก ซึ่งเพื่อนๆจะมองหาได้ง่ายๆ ก็อยู่แถวด้านหลังของ DC Jack ประมาณนั้นใน  ซึ่งตรงนี้ผมคงได้เพียงแต่พูดได้ประมาณนี้  เพราะในแต่ละรุ่นนั้น ก็จะมีการวางวงจรไว้แตกต่างกัน  แต่ในหลักการออกแบบวงจร ก็จะคล้ายๆ กัน ก็คือ ต้องมีกลุ่ม C Filter อย่างแน่นอนครับ  ไม่ว่าจะเป็น C ตัวใหญ่ หรือตัวเล็ก SMD ก็ต้องตั้งมิเตอร์  RX1 วัดสลับขั้วสาย  และถ้าจะให้ดูชัดเจนขึ้น เมื่อพบว่าตัวใด วัดแล้วเข็มมิเตอร์ขึ้นสุดสเกลทั้งสองครั้งในการวัด  ก็ให้เพื่อนๆ ทำการถอด หรือลอยขาของชิ้นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ชิ้นนั้นครับ  แล้ว  เอาสายมิเตอร์วัดที่จุดบัดกรีบนเมนบอร์ดว่า เข็มมิเตอร์ยังตีสุดสเกลทั้งสองครั้งอยู่อีกหรือเปล่า  ถ้าไม่แล้ว  ก็ให้เพื่อนๆ วัดที่ตัวอุปกรณ์ที่ถอดลอยไว้ ว่าเข็มมิเตอร์ขึ้นสุดสเกลหรือไม่  ถ้าขึ้นทั้งสองครั้งก็แสดงว่า อุปกรณ์ชิ้นนั้นช้อตแน่นอน (ถ้าเป็น C ,D,Tr,MosFet) แต่ก้าการวัดที่จุดบัดกรีบนเมนบอร์ดยั้งทำให้เข็มของมิเตอร์ขึ้นสุดสเกลอยู่เหมือนเดิม  เพื่อนๆ ก็ต้องวัดหาตัวเสีย ช้อต กันต่อไปให้เจอนะครับ   (อันนี้เป็นวิธีการแบบแรก)

อ่านต่อการซ่อม ตอนที่สอง คลิ๊กที่นี่ครับ

การสังเกตุ จากไฟสถานะของอะแดปเตอร์ ถ้ากระพริบ ก็แสดงว่า โหลดของวงจรมีการดึงกระแสไฟลงกราวด์แบบเต็มๆ