ชนิดของแบตเตอรี่โน๊ตบุ๊ค

  • สำหรับแบตเตอรี่นี่จะเป็นแบตเตอรี่ที่เรียกว่า Lithium นะคับซึ่งโน๊ตบุคส่วนใหญ่ก็จะใช้แบตเตอรี่ชนิดนี้ทังนั้นคับ รวมทั้งอุปกรณ์พกพาอย่างอื่นๆด้วยคับ เช่น มือถือ กล้องดิจิตอล เป็นต้นซึ่งแบตเตอรี่แบบ lithium นั้นถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่ายน้ำหนักเบา และไม่ต้องดูแลรักษามากนัก ซึ่งจะต่างจากแบตเตอรี่แบบชาร์ตไฟใหม่ได้ในสมัยก่อนๆอย่างสิ้นเชิงทั้งในด้านวิธีใช้งาน และการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง

แบตเตอรี่แบบ lithium ที่พบเห็นบ่อยๆ ในปัจจุบันมีด้วยกัน 2 แบบ คือ

1. lithium-ion หรือตัวย่อว่า Li-ion เป็นแบตเตอรี่ที่พบเห็นมากที่สุดถือว่าเป็นแบตเตอรี่มาตรฐานสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในทุกวันนี้

2. lithium-ion polymer หรือตัวย่อว่า Li-Poly เป็นแบตเตอรี่ที่พัฒนาต่อยอดมาจาก

  • Li-ion โดยจะมีความจุไฟฟ้ามากว่า Li-ion ถึง 20% ในขนาดแบตเตอรี่ที่เท่ากันแบตเตอรี่แบบนี้มีจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งคือมีข้อจำกัดเรื่องรูปร่างของเบตเต อรี่น้อยมากจึงทำให้สามารถสร้างแบตเตอรี่แบบ Li-Poly ให้มีขนาดเล็กและบางได้ รวมทั้งสามารถสร้างให้มีรูปทรงแปลกๆ ที่ไม่ใช่ทรงกระบอกหรือทรงสี่เหลื่ยมเหมือนแบตเตอรี่แบบเดิมๆได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามต้นทุนการผลิตของ Li-Poly ยังจัดว่ามีต้นทุนสูง   ดังนั้นความนิยมจึงยังมีไม่มากเท่าแบตเตอรี่แบบ Li-ion

ทีนี้ลองพลิกดูแบตเตอรี่ของคุณๆ ดูว่าใช่แบตเตอรี่แบบ lithium กันรึเปล่า ถ้าใช่แล้ว เรามาไขข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแบตเตอรี่ lithium กันเลยดีกว่าครับ

1. ตารางเจ้าปัญหา ความจริงที่ถูกบิดเบือน

  • หลายๆคนอาจจะเคยเห็นตารางอย่างในรูปข้างบนมาแล้วใช่ไหมครับ ต้นฉบับที่แท้จริงของตารางข้างบนมาจากเว็บhttp://www.batteryuniversity.com/parttwo-34.htm ครับ ซึ่งในเว็บ และบนหัวตารางก็ระบุไว้อย่างชัดเจนมันคือตารางcharge/discharge rateซึ่งคำว่า charge rate ไม่ได้หมายความว่าใช้แบตไปหมดไปกี่เปอร์เซ็นต์แล้วค่อยชาร์ตไฟกลับคืนเป็น 100%แต่ charge rate หมายถึงอัตราของกระแสไฟฟ้าที่ใช้ชาร์ตแบตเตอรี่ในช่วงเวลา เช่นถ้าเรามีแบตเตอรี่ขนาด 10 Ah(ampere-hour) แต่เราชาร์ตไฟด้วยแท่นชาร์ตที่ปล่อยไฟชั่วโมงละ 2 แอมแปร์(ampare) ก็จะต้องใช้เวลาชาร์ตไฟเข้าไปในแบตเตอรี่ที่ว่างเปล่าจนไฟเต็มด้วยเวลา 5 ชั่วโมง อัตราการชาร์ตระดับนี้เราเรียกว่าอัตรา C/5  หรือ 0.2C ส่วนอัตรา 1C ก็คือ ถ้าชาร์ตแบตเตอรี่ขนาด 10Ah ก็ต้องใช้แท่นชาร์ตที่ปล่อยไฟชั่วโมงละ 10 แอมแปร์ก็จะชาร์ดไฟได้เสร็จใน 1 ชั่วโมงเช่นเดียวกับอัตรา 2C ก็คือ ชาร์ตแบตเตอรี่ขนาด 10Ah ด้วยแท่นชาร์ตที่ปล่อยไฟชั่วโมงละ 20 แอมแปร์ก็จะชาร์ตไฟได้เสร็จใน 30 นาที และคำว่า discharge rate ก็จะคล้ายๆกับ charge rate ครับแต่เป็นในทางกลับกันคือเป็นอัตราการใช้ไฟ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าตารางข้างต้นแสดงถึงว่าถ้าเรา ชาร์ตไฟด้วยกระแสไฟสูงใน เวลาสั้นหรือใช้ไฟจากแบตในปริมาณมากในระยะเวลาอันสั้นจะทำให้แบตเตอรี่แบบ lithium เสื่อมเร็วขึ้น (จำนวน cycle ลดลง) ส่วนกรณีที่ยกมาอ้างว่า การชาร์ตไฟบ่อยๆหรือการใช้ไฟจากแบตเตอรี่เพียงเล็กน้อยแล้วรีบชาร์ตกลับให้ เต็ม 100% เป็นการช่วยเพิ่มจำนวน cycle นั้นไม่เป็นความจริงแม้แต่น้อย เพราะการเพิ่มลดของจำนวน cycle ไม่เกี่ยวกับรูปแบบการใช้งานว่าใช้มากใช้น้อยแล้วค่อยชาร์ตไฟ แต่จำนวน cycle เกี่ยวข้องโดยตรงกับรูปเครื่องชาร์ตว่าชาร์ตเร็วหรือช้า ถ้ายิ่งชาร์ตเร็วแบตฯก็จะเสี่ยมเร็ว ถ้าเครื่องชาร์ตค่อยๆชาร์ตแบตก็จะเสื่อมช้า

2. นับจำนวน Cycle อย่างไร

  • จำนวน Cycle คือตัวเลขที่บ่งบอกอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ว่าแบตฯจะเริ่มเสื่อมเมื่อผ่าน การชาร์ตไปนานแค่ไหน ถ้าแปลตรงๆตัวคำว่า cycle ก็คือรอบ คำว่ารอบไม่ได้เท่ากับคำว่าครั้ง ดังนั้นการชาร์ต 1 ครั้งจึงไม่เท่ากับ 1 cycle ซะทีเดียวจำนวน 1 Cycle จะวัดจากปริมาณการชาร์ตไฟที่รวมๆแล้ว เท่ากับปริมาณการชาร์ตไฟจากแบตเตอรี่ที่ไม่มีไฟ(0%) จนแบตเตอรี่มีไฟเต็ม(100%) 1 ครั้ง  เช่นถ้าเราชาร์ตครั้งแรกจากแบตเตอรี่ 50%=>100% การชาร์ตครั้งนี้ก็จะนับเท่ากับ 0.5 cycle

4 comments

Skip to comment form

    • wuttichai on April 22, 2010 at 3:00 pm
    • Reply

    ผมเข้ามาครั้งแรก….บทความเป็นประโยชน์มากเลยครับ….เป็นสิ่งที่ดีมากๆเลยครับ….ช่วยกันให้ความรู้…เท่ากับช่วยกันพัฒนาชาติเราไปด้วยครับ….จะได้พึ่งพาตัวเองกันได้….เงินทองไม่รั่วไหลไปต่างชาติ.

  1. อยากได้ m/b ของ L200 ของ notebook Toshiba มีปัญหาไม่สามารถลง anti virus ตัวใหนได้เลย ขึ้นจอฟ้าทุกตัว หรือมีวิธีแก้อย่างไร กรูณาเสนอแนะด้วยครับ

  2. ขอบคุณครับ มีเรื่องดีๆมาเล่าอีกนะครับ..

  3. Great content I’ll be back again 🙂

Leave a Reply

Your email address will not be published.