การต่อเซลล์ไฟฟ้าในแบตเตอรี่โน๊ตบุ๊ค มีหลักการอย่างไร ?

การต่อขั้วเซลล์ของแบตเตอรี่ในโน๊ตบุ๊ค

การต่อแบบอนุกรม (แรงไฟเพิ่ม กระแสเท่าเดิม) ใช้เซลล์แบต 3 ก้อน  แรงไฟ 10 โวลท์ 2 แอมป์

  • การต่อเซลล์ของแบตโน๊ตบุ๊ค ก็จะพิจารณาดูจาก  ว่าเครื่องรุ่นนั้นๆกินกำลังไฟขนาดไหน  หากเป็นเครื่องรุ่นเล็กๆ กินกำลังไฟไม่มาก ออกแบบมาให้มีน้ำหนักเบา  ก็จะทำการต่อเซลล์แบตเป็นแบบอนุกรม  นั่นหมายถึงการนำเอาก้อนแบตเตอรี่จำนวน 3 เซลล์ (เซลล์ละ 3 โวลท์ 2 แอมป์) มาทำต่อแบบอนุกรม   นั่นคือการนำเอาขั้วบวกของก้อนที่หนึ่ง ไปต่อกับขั้วลบของก้อนที่สอง และขั้วบวกของก้อนที่สอง ก็ไปต่อเข้ากับขั้วลบของก้อนที่สาม    ซึ่งจะมีผลทำให้ได้แรงไฟรวมทั้งสามก้อน(ประมาณ 10 V.)  แต่กระแสไฟจะเท่ากับเซลล์แบตหนึ่งก้อนนั่นคือ 2 Amp. ครับ

การ ต่อแบบขนาน ก่อน แล้วจึงนำมาอนุกรมกันอีกที 6 cell (แรงไฟเพิ่ม กระแสเพิ่มเป็นสองเท่า) แรงไฟ 10 โวลท์ 4 แอมป์

  • การต่อ แบตเตอรี่แบบนี้ จะทำให้มีการเพิ่มของกระแสไฟเป็นสองเท่า  ทำให้ระยะเวลาในการให้พลังงานมากขึ้น  หมายความว่าคุณจะสามารถใช้โน๊ตบุ๊คของคุณได้นานขึ้นกว่าปรกติ (แต่นั่นก็เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นเท่านั้นนะครับ  เพราะในความเป็นจริงแล้ว  เมื่อแบตมีความสามารถในด้านการจ่ายกระแสที่เพิ่มขึ้น  แต่วงจรก็นำกระแสจากแบตไปใช้มากขึ้นเช่นกัน  )
    • ต่อแบบขนานเพื่อ ให้กระแสเพิ่ม โดยการนำเซลล์แบบสองเซลล์มาประกบข้างกัน จากนั้นก็ทำการเชื่อมขั้วบวก เข้ากับขั้วบวกของอีกก้อน  และเชื่อมขั้วลบเข้ากับขั้วลบของอีกก้อนครับ  ซึ่งจะทำให้เซลล์แบตคู่


รูปการต่อเซลแบตแบบ 6 Cell ได้กระแสเพิ่มขึ้นเท่าตัว

    • นี้มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าเท่ากับ 3 V. และกระแสไฟจะเพิ่มจากเดิมคือ 2 แอมป์  ไปเป็น 4  Amp ครับ)   ให้ทำการต่อเซลล์แบตแบบขนานนี้รวมสามชุดนะครับ  (จะใช้แบตรวม 6 ก้อน)
    • ต่อ แบบอนุกรมเพื่อให้แรงไฟเพิ่ม หลังจากที่เราต่อแบบขนานครบสามชุดแล้ว เราก็จะทำเซลล์แบตตามที่ต่อแบบขนาน มาทำการต่อเป็นแบบอนุกรม เพื่อให้โวลท์เพิ่มขึ้น  โดยนำเซลล์คู่ที่หนึ่งขั้วบวกต่อกับขั้วลบของเซลล์คู่ที่สอง และขั้วบวกของเซลล์ชุดที่สอง ให้ต่อเข้ากับขั้วลบของเซลล์คู่ที่สาม  ครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published.