ซ่อมโน๊ตบุ๊ค เห็นภาพลาง ตอนที่ 2 (การตรวจเช็ค Inverter)

  • สวัสดีกันอีกครั้งครับเพื่อนๆสมาชิกทุกท่าน  สำหรับ คำแนะนำการซ่อมในอาการเสีย ที่โน๊ตบุ๊คตัวเก่งของเรา เปิดติดมีภาพ แต่ภาพมันเห็นเป็นลางๆ  ดำๆ  (แต่มีภาพแล้วครับ) ซึ่งเราต่อออกจากจอมอนิเตอร์ภายนอกทาง Port DB-15 ได้ภาพตามปรกติ  เพียงแต่ในจอโน๊ตบุ๊คของเรามันมืดไปนั่นเองครับ   ในลักษณะนี้ผมได้กล่าวไว้ในบทความก่อนหน้านี้ถึงแนวทางความเป็นไปได้ต่างๆ แล้วนะครับ  แต่ในครั้งนี้ เราจะมาพูดถึงวิธีการวิเคราะห์อาการเสียนี้  โดยการเข้าไปตรวจซ่อมอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งก็คือ Inverter กันครับ

รูป Conneter ด้านทางเข้าบนตัว Inverter

  • จากรูปที่ผมนำเสนอนั้น ให้เพื่อนๆถือเป็นตัวอย่างหนึ่งนะครับสำหรับเป็นแนวทางในการตรวจซ่อม เพราะที่เราเห็นๆกันนั้น  ในการทำงานของอินเวอร์ตัวทุกตัวนั้น  ไม่ว่าจะเป็นของจอ LCD จอโน๊ตบุ๊ค (notebook) ต่างก็ใช้หลักการเดียวกันทั้งสิ้นดังนี้
  • มีไฟเลี้ยงวงจรหลัก เท่ากับแหล่งจ่ายของเครื่อง เช่น 15,18,19 โวลท์
  • มีไฟสำหรับไปทำให้อินเวอร์นั้นๆ เริ่มทำงานเรามันว่า On
  • มีไฟสำหรับไปทำให้อินเวอร์นั้นสามารถปรับเร่งลดแสงสว่างได้ เราเรียกว่า Bright ครับ
  • ส่วนขาที่เหลือสำหรับทั่วๆไป จะต้องเป็นขา ground ของวงจรก่อนครับ
  • ขาที่เหลืออื่นๆ (อาจไม่เหมือน connetter ตามรูปนี้ ก็อาจจะเป็นรุ่นที่อินเวอร์นั้นมี หลอด LED แสดงสถานะาการทำงานของส่วนต่างๆ ฝังมาไว้ด้วย เพื่อเวลาที่ประกอบเข้ากับจอโน๊ตบุ๊คแล้ว จะได้มีไฟสถานะแสดงที่บริเวณด้านล่างของตัวกรอบจอโน๊ตบุ๊คนั้นๆ  อันนี้ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งครับ)

**ไม่ว่าจะมีขากีขาก็ตามครับ  เพื่อนๆอย่าไปให้ความสนใจกับมันมากนัก  เอาเป็นว่า เราจะหาขาสำคัญต่างๆ ซึ่งได้แก่ ขาขั้วไฟหลักของวงจร  , ขากราวด์ของวงจร  , ขาตำแหน่ง On , และขาตำแหน่ง Bright ได้กันอย่างไร  เรามาดูวิธีการในแบบของ repair-notebook กันเลยนะครับ

รูปวงจรของ Inveter

การตรวจเช็ค Inveter

ก่อนการตรวจซ่อม ให้เพื่อนๆทำการแกะฝาครอบจอด้านด้านออกให้หมดก่อน  แล้วดึง inverter ออกมาวางไว้เพื่อความสะดวกในการตรวจวัดไฟ  แต่ยังคงต่อสายทางเข้าของอินเวอร์เตอร์ และสาย ของหลอดภาพ CCFL ไว้ให้พร้อมด้วยนะครับ

  • การตรวจเช็คในวงจร
    • ให้เพื่อนๆทำการเปิดเครื่องโน๊ตบุ๊คให้ทำงานตามปรกติก่อนครับ
    • เพื่อนๆจะเห็นภาพบนจอภาพเป็นพื้นสีดำ  ไม่มีแสงสว่าง  อาจมีรูปโลโก้ windows หรืออาจเป็นหน้าจอของ windows  อยู่ก็ได้นะครับ  ไม่ต้องสนใจในรายละเอียดตรงนั้น

วัดไฟเลี้ยงหลักของวงจร เช่น 15,18 V.

  • โดยการนำมิเตอร์บิดไปที่ตำแหน่ง 50 V.DC  นำสายวัดสีดำจับที่ตำแหน่ง ground ของตัวอุปกรณ์นั้น เช่นที่ตำแหน่งทองแดงของรูสกรู เป็นต้น  จากนั้น นำสายสีแดงแตะวัดไฟไปที่ตำแหน่ง VCC+ ตามรูปที่ 1  ควรจะได้แรงไฟที่อ่านได้ เป็นแรงไฟเดียวกับแรงไฟของแหล่งจ่ายหลัก เช่น 15,18 V.เป็นต้นครับ  วัดก่อนและหลังฟิวส์ เปรียบเทียบกัน ครับ
  • ก่อนเข้าฟิวส์ มีแรงไฟ  แสดงว่า ไฟแหล่งจ่ายมาเลี้ยงแล้ว และต้องผ่าน ฟิวส์ไปได้  แ
  • แต่ถ้าวัดไฟตรงตำแหน่งนี้ หลังจากผ่านฟิวส์วงจรไปแล้ว ไม่มีแรงไฟ  ก็แสดงว่า ฟิวส์ขาด (นั่นหมายถึงว่า เพื่อนๆ วัดเป็นฟิวส์นะ  ไม่ใช่ C)

วัดไฟสำหรับ สั่งให้ Inveter ทำงาน (ผมเรียกมันว่า ไฟ on ครับ)

  • โดยการนำมิเตอร์บิดไปที่ตำแหน่ง 50 V.DC  นำสายวัดสีดำจับที่ตำแหน่ง ground ของตัวอุปกรณ์นั้น เช่นที่ตำแหน่งทองแดงของรูสกรู เป็นต้น  จากนั้น นำสายสีแดงแตะวัดไฟไปที่ตำแหน่ง VCC+ ตามรูปที่ 1 ควรได้แรงไฟที่อ่านได้ เป็นแรงไฟประมาณ 3.3 V.DC ครับ

มีไฟเลี้ยง  มี ไฟ On แต่ Inverter ยังไม่ทำงาน CCFL จอภาพยังมืดเหมือนเดิม (อาจเป็นได้ว่า ไฟ Bright ยังไม่มีนะครับ)

วัดไฟสำหรับ สั่งให้ Inverter ปรับเร่งลดแสงสว่างของหลอด CCFL ได้ (ผมเรียกมันว่า ไฟ Bright นะครับ)

  • โดยการนำมิเตอร์บิดไปที่ตำแหน่ง 50 V.DC  นำสายวัดสีดำจับที่ตำแหน่ง ground ของตัวอุปกรณ์นั้น เช่นที่ตำแหน่งทองแดงของรูสกรู เป็นต้น  จากนั้น นำสายสีแดงแตะวัดไฟไปที่ตำแหน่ง VCC+ ตามรูปที่ 1 ควรได้แรงไฟที่อ่านได้ เป็นแรงไฟประมาณ 3.3 V.DC ครับ

ข้อสันนิษฐานในการที่ยังไม่มีแสง

  • ไฟแหล่งจ่ายไม่มีเลี้ยงวงจร Inverter
  • ไฟ On ยังไม่มีมา
  • ไฟ Bright มีค่าเป็น Low (ศูนย์โวลท์)