December 2011 archive

วิธีการตรวจสอบไฟจากอะแดปเตอร์โน๊ตบุ๊ค

สวัสดีครับเพื่อนๆและท่านผู้สนใจทุกท่าน  วันนี้เป็นวันที่ 28 ธันวาคม 2554 ใกล้จะสิ้นปี พ.ศ.นี้กันแล้วครับ   ก็ขออัพเดรทความรู้ให้เป็นวิทยาทานแก่ทุกท่านอีกเรื่องหนึ่งครับ  นั่นคือวิธีการวัดค่าแรงไฟที่แจ๊คหัวเสียบของอะแดปเตอร์ที่ใช้กับโน๊ตบุ๊คตัวเก่งของเราครับ…เพื่อวัตถุประสงค์ในการสรุปว่า ขณะนี้มีแรงไฟได้รออยู่ที่แจ๊คหัวเสียบของอะแดปเตอร์แล้ว  พร้อมที่จะเสียบเข้าสู่ตัวเครื่องโน๊ตบุ๊คของเราให้พร้อมทำงานกันต่อไปทันทีก รูปภาพแสดงการใช้ Digital Meter เพื่อวัดขั้วไฟจากอะแดปเตอร์ รูปด้านล่างนี้เป็นการแนะนำการใช้ Multi Meter ชนิดเข็ม ทำการวัดขั้วไฟอะแดปเตอร์ของโน๊ตบุ๊ค เครื่องมือที่ใช้ Multi Meter แบบเข็ม หรือ แบบ ดิจิตอลก็ได้ อะแดปเตอร์สำหรับใช้กับโน๊ตบุ๊คตัวเก่งของเราครับ วิธีการวัด เริ่มด้วยการบิดย่านการวัดของมิเตอร์ไปที่การวัดไฟกระแสตรง (DC V.)  จากนั้นใช้สายวัดสีแดง เสียบเข้าไปในรูตรงกลางของแจ๊คหัวเสียบตามรูป  ส่วนสายวัดสีดำ ก็ให้แตะไปที่ตัวโครงสร้างด้านนอก(ตรงที่ตำแหน่งของปากคีบตามรูปนะครับ) จากนั้นเราก็จะสามารถอ่านค่าแรงไฟของอะแดปเตอร์ที่เราใช้อยู่ได้ค่า (ถ้าตามรูป เป็นมิเตอร์ดิจิตอล และแบบเข็ม จะอ่านค่าได้ 19V. ครับ) แค่นี้เพื่อสมาชิก และท่านผู้สนใจในการเรียนรู้ด้านช่าง ก็จะทราบแล้วครับว่า  แรงไฟของอะแดปเตอร์ของเรามีแน่นอน พร้อมจะจ่ายให้แก่โน๊ตบุ๊คตัวเก่งได้แล้ว…. แต่ถ้าการวัดตามข้อ 1  ไม่สามารถอ่านค่าแรงไฟได้  ..ให้สัญนิฐานไว้ว่า ขั้วสายไฟทางด้านไฟบ้านของเราได้เสียบแล้วหรือยัง เสียบแล้วแน่นหรือเปล่า หรือ …

Continue reading

ซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ควรอ่านวงจร (schematic) ให้เป็นนะครับ..

สวัสดีครับเพื่อนๆชาว repair-notebook.com ทุกท่าน ห่างเหินกันไปนานมากเลย ที่ทางผมไม่ค่อยได้มาเขียนบทความให้เพื่อนๆและผู้สนใจได้รับทราบกัน แต่ในวันนี้ผมได้มีบทความดีๆอีกเช่นเคยที่จะนำเสนอต่อเพื่อนสมาชิกทุกท่านให้รับทราบเป็นความรู้และแนวทางกัน ดังหัวเรื่อง “ซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ควรอ่านวงจร (schematic) ให้เป็นนะครับ” มีเรื่องเปรียบเปยให้ฟังเล่นๆ อย่าซีเรียสกันนะครับ…”เขาบอกว่า ช่างที่อยู่ในแหล่งการซ่อมที่มีเครื่องเข้ามาจำนวนมากๆ เขาจะไม่ค่อยจะสนใจในเรื่องของการอ่าน หรือไล่ทางไฟ ทางสัญญาณกันในวงจรกันหรอกครับ เพราะเขาจะถือว่าไร้สาระ… มัวแต่มานั่งไล่ทางไฟ ก็วันหนึ่งคงได้ไม่ถึงสองเครื่องหรอก    ท่านเหล่านั้น เมื่อได้รับเครื่องเข้ามา  เขาก็จะดูจากอาการ แล้วก็ตีสรุปวัดดวงด้วยประสบการณ์ที่สะสมมาอย่างโชคโชนในชีวิตการซ่อม  …เช่น อาการไฟจ่ายปรกติ  แต่ภาพไม่ขึ้น  เขาก็ไม่สนใจจะไล่ดูว่าไฟมาครบหรือไม่ครบหรอก…เขาก็นำไปอบ Southbridge พออบแล้วไม่เกิด…เขาก็ถอดออกไป Reball ตะกั่วกันใหม่  …พอไม่เกิด …เขาก็เอาชิพตัวนั้นอกไปลองวางที่เครื่องอื่น(คือเขาอาจมีเครื่องต้นแบบเยอะ) แล้วปรากฏว่าวางเครื่องอื่นผ่าน  ก็ทำให้ท่านเหล่านั้น หันเหความสนใจ ไปมุ่งที่ชิพตัวอื่นแทน แล้วก็ทำแบบเดิมอีก…ไปเรื่อยๆ  พอไม่ผ่านจริงๆ แล้ว ก็บอกว่าซ่อมไม่ได้ ส่งคืนลูกค้า” ซึ่งในความเป็นจริงของหลักการซ่อมแล้วนั้น  เมื่อเครื่องที่ได้รับซ่อมเข้ามา ลูกค้าจะแจ้งอาการเสีย ผู้ซ่อมก็จะต้องทำการเปิดทดลองดูว่าเป็นจริงตามแจ้งหรือไม่  และควรดูเรื่องการแตกหักเสียหาย ไหม้ ฯลฯ มีการวัดแรงไฟในจุดต่างๆ ของบอร์ด เพื่อดูความพร้อมของระบบไฟ จะได้ไม่ผิดพลาด …

Continue reading