เมื่อวงจรภาคไฟแหล่งจ่ายมีการช้อตเกิดขึ้น

  • สวัสดีครับเพื่อนๆสมาชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่า   วันนี้ผมได้ update ความรู้ในเรื่องของการใช้เครื่องมือสักเรื่องนะครับ  อุปกรณ์ชิ้นนี้คือ Regulator Atten APS3005S
  • ในฐานะที่เราเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊ค  เมื่อเราต้องการจะจ่ายกระแสไฟเข้าสู่เมนบอร์ดของโน๊ตบุ๊คเพื่อทดสอบการทำงาน  แต่ปรากฏว่าเมื่อทำการเสียบสายของ อะแดปเตอร์เข้าไปแล้ว  ตัวอะแดปเตอร์ที่มีไฟสถานะอยู่จะเกิดการกระพริบ หรือหรี่ หรือดับหายไป เลยก็มีครับ  และถ้าเราได้ถอดหัวเสียบออกจากบอร์ดของโน๊ตบุ๊ค  สถานะไฟเหล่านั้นก็จะกลับสว่างเหมือนเดิม
  • กรณีที่เราเป็นช่าง ที่มีการใช้ Regurator เราก็จะต้องตั้งแรงดันไฟประมาณ 19V. ส่วนกระแสปรับไว้ที่สูงสุดของรุ่นนี้คือ 5 Amp ครับ แล้วทำการเสียบแหล่งจ่ายไฟจาก Regurator เข้าสู่เมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ผลที่ได้ปรากฏดังรูปครับ คือ ด้านซ้ายกระแสจะอยู่ที่ 5.4 Amp ส่วนด้านขวา แรงดันนั้นจะตกลงอยู่แค่เพียง 0.39 V. เท่านั้นเองครับ   นั่นแสดงให้เห็นชัดเจนเลยว่ามีการช้อตในภาคไฟแหล่งจ่ายอย่างแน่นอน…อาการเหล่านี้ ทางช่างที่ซ่อมๆกัน เขาจะเรียกว่าอาการ“กินหมู” จบได้ไม่น่าเกิน ห้านาทีนะครับ

  • ที่ผมนำมาเสนอวันนี้ คงพูดถึงเพียงแค่การใช้ Regurator จ่ายไฟให้แก่เมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คแทนการใช้อะแดปเตอร์ และเราจะเห็นสถานะการทำงานของเมนบอร์ด ว่าเป็นไปในทิศทางที่ดี หรือแย่นะครับ เพราะฉะนั้น กระแสจะเป็นตัวบอกเราได้ว่า ขณะนั้น บอร์ด หรือวงจรภาคไฟ ได้มีการทำงานแล้ว และได้ดึงกระแสไปเป็นปริมาณมากน้อยเท่าไหร่กันนะครับ   “ถ้าดึงน้อย ก็แสดงว่า วงจรชุดเล็กๆเริ่มทำงาน เพราะกินกระแสไม่ค่อยมาก แต่ถ้าดึงมาก เช่น สอง หรือสามแอมป์นั้นแสดงว่าวงจรภาคไฟในชุดต่างๆ เริ่มทำงานกันทั้งหมดแล้ว  จึงมีการดึงกระแสไฟจากแหล่งจ่ายไปใช้อย่างเต็มที่นั่นเองครับ

มีปัญหาสอบถามได้ที่ www.repair-notebooks.com ขอบคุณครับ