จะเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊ค เพื่อนๆรู้จักอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ดีแล้วหรือยัง ?
- สวัสดีครับเพื่อนๆ สำหรับบทความวันนี้ ผมได้รวบรวมชิ้นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์(component) ชิ้นเล็กๆ หลายๆตัวที่อยู่บนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค มาแนะนำกับเพื่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นที่เิริ่มเข้ามาเยี่ยมเยี่ยมและกำลังจะค้นคว้าหาข้อมูล เพื่อประกอบความรู้ สำหรับก้าวไปเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊คแบบเจาะลึก นะครับ ส่วนเพื่อนๆช่างอิเล็คทรอนิคส์มืออาชีพที่แวะเข้ามา ก็ช่วยเพิ่มเติมเนื้อหา และความรู้ให้กับเพื่อนๆท่านอื่นด้วยนะครับ เขียน comment ไว้เลยครับ
- อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ที่อยู่ในรูปที่ผมนำมาโชว์นี้ ผมได้เก็บมาเรียงแล้วถ่ายภาพให้ดูกัน แต่ก็ยังไม่ครบทุกชิ้นหรอกนะครับ อะไรเป็นอะไรนั้น เพื่อนๆต้องไปอ่านในหัวข้อการเรียนรู้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ ในบทความที่ผมได้เขียนไว้ด้วยนะครับ เพราะตรงนั้นจะแบ่งกลุ่มเป็นหมวดหมู่ว่า อุปกรณ์อิเล็คฯชิ้นไหนที่เพื่อนๆควรต้องรู้จัก เพื่อจะได้ตอบได้ว่าบนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คนั้น ตรงนั้นๆ เป็นตัวอะไร มีหน้าที่อย่างไร และมันจะดี จะเสียหรือเปล่า
จะหาซื้ออุปกรณ์อิเล็คฯที่อยู่บนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คได้ที่ไหน…
- ที่นำมาให้ดูก็เพราะว่าต้องการจะบอกเพื่อนๆว่า ถึงเราจะรู้ว่าอุปกรณ์ชิ้นไหนเป็นตัวทำให้เกิดปัญหาในวงจร และเพื่อนๆต้องการที่จะถอด เปลี่ยน อุปกรณ์เหล่านั้น ผมก็เลยอยากแนะนำให้เพื่อนๆได้รับรู้ไว้ว่า ถึงเราจะรู้ว่าอุปกรณ์ไหนเป็นตัวปัญหา แต่ปัญหาของเราก็คือ จะหาอุปกรณ์ชิ้นนั้นได้ที่ไหน… คงต้องตอบว่า ต้องหาจากบอร์ดเก่าๆ ที่ดีที่สุดก็คือ ถ้าได้เป็นบอร์ดของยี่ห้อ รุ่นที่ตรงกันก็จะดีที่สุด เราสามารถที่จะหยิบอุปกรณ์บางชิ้นมาใช้ได้ ดังนั้นช่างเรา จึงชอบที่จะสะสมเมนบอร์ดเก่าๆ ที่เสียในอาการต่างๆ กัน
ยกเปลี่ยนใหม่แล้วก็ยังไม่ทำงานอีก…ทั้งๆที่เป็นชิพตัวนั้นอย่างแน่นอน
- สำหรับกรณีนี้ ผมขอนำมากล่าวให้เพื่อนๆฟังก็เพราะว่า จากประสบการณ์ที่ผมได้ทำในเรื่องของการยกชิพ และวางชิพชนิดต่างๆ ที่อยู่ในรูป และที่ไม่ได้อยู่ในรุปนะครับ ว่า ถึงเพื่อนๆที่ทำการถอดเปลี่ยนเองเป็น แต่มันอาจไม่ทำงาาน หรือเสียหายไปเลยนั้น ก็เพราะว่า เราต้องมี เทคนิค ในเรื่องของการบัดกรี และการใช้เครื่องเป่าลมร้อนอย่างดีเลยนะครับ
การเป็นคนใจเย็น มือไม่สั่น วางชิพแบบ 100 ขา ก็ยังตรงทุกตำแหน่ง
- เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญครับ เพราะการวางชิพแบบขามากๆ เช่น ชิพตามเบอร์ 1 , เบอร์ 6 นั้น มีขา อยู่ถึง 4 ด้าน การวางชิพ จะต้องมีการยึดขาของแต่ละมุมของตัวชิพ เข้ากับลายปริ้นบนเมนบอร์ดให้ดีก่อนแล้ว จึงค่อยนำฟลั๊ก ทาที่ขาของอุปกรณ์ทั้งสี่ด้าน จากนั้น ให้ใช้หัวแร้ง และตะกั่วบัดกรีไล้ไปตามขาทีละด้านให้ทั่วถึง และ หากดูแล้วว่า มีขาช้อตกันด้วยตะกั่วบัดกรี เราจะต้องใช้ ลวดซับตะกั่ว ทำการดูตะกั่วในตำแหน่งที่ขาช้อตกัน ในทุกๆครั้งที่ใช้หัวแร้งแยกตะกั่ว หรือบัดกรีตะกั่ว ควรทาฟลั๊กบ่อยๆนะครับ งานบัดกรีจะเป็นไปได้อย่างง่าย และมีความสวยงามครับ
การวางชิพแบบมีกราวด์ใต้ตัวถังของชิพนั้นๆ วางยากนะครับ
- เรื่องของการวางชิพแบบนี้ (ชิพหมายเลข 4 หมายเลข 7) เป็นชิพแบบมีกราวด์ด้านใต้ของตัวถังชิพนั้นๆ ดูเหมือนจะง่ายเหมือนกัน แต่ก็ยากนะครับ เมื่อเพื่อนๆวางขาทุกด้านตรงตำแหน่งแล้ว จากนั้นไล้ตะกั่วลงที่ตำแหน่งขาทุกด้าน จากนั้นใช้ลมร้อนที่อุณหภูมิพอเหมาะ เป่าที่ตำแหน่งขาในแต่ละด้านของตัวชิพ และที่ตัวถังด้านบนของชิพ ซึ่งพอจะทำให้ตะกั่วที่อยู่ใต้ชิพหลอมละลาย ก็จะสามารถทำให้ตัวถังกราวด์ติดกับแผ่นปริ้นได้นะครับ ไม่ต้องกลัวว่าชิพจะร้อนมาก เพราะชิพเหล่านี้ทนความร้อนที่อุณหภูมิสูงๆ จริงๆ
การวาง C, TR,FET,Diode,IC,FET Chip และอุปกรณ์ที่มีขั้ว และตำแหน่งเริ่มต้น ซึ่งต้องวางให้ถูกขั้ว และตำแหน่งขาด้วยนะครับ ไม่งั้นมีสิทธิควันขึ้น หรือไม่ก็ ปุ่….Chip ระเบิดครับ
เป็นไงบ้างครับ พอจะได้รับความรู้ไม่มากก็น้อยนะครับ สำหรับในวันนี้ผมขอจบไว้แค่นี้นะครับ ไว้มีบทความดีๆ จะนำมานำเสนกันใหม่ครับ
8 comments
Skip to comment form
ดีมากๆ
ขอบคุณมากครับ
ขอยคุณครับ
สำหรับความรู้มากมายเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์
ไม่ทราบว่าพอจะรู้แหล่งของอุปกรณืตัวเล็กๆเหล่านี้บ้างมั้ยครับ
อยากได้สถานที่ๆขายครบวงจรน่ะครับ
ขอบคุณมากครับ
ในภาพ 1-16 คืออะไรบ้างครับ เเล้วเเต่ละตัวทำหน้าที่อะไร จะรู้ได้ยังไง ว่าเสีย
เป็นภาพที่ให้สามารถเข้าใจได้ว่า รูปตัวถังแบต่างๆ ของชิพที่อยู่บนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค ที่มีใช้กันครับ เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยครับ
ดีมากครับ
ขอคุณครับ
ความรู้ใหม่ๆครับ ขอบคุณครับ
ดีครับ
ไม่ทราบว่าพอจะมีงานเกียวกับช่างคอมฯ ให้ผมฝึกงานไหมครับ??