Category: อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์

ฟิวส์ (Fuse) ในคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค

ฟิวส์ (fuse) เป็นอุปกรณ์นิรภัยชนิดหนึ่งที่อยู่ในเครื่องใช้ไฟฟ้าโดย จะป้องกันการลัดวงจร และการใช้กระแสเกินในวงจรไฟฟ้า โดยจะหลอมละลาย และตัดกระแสไฟออกจากวงจรเพื่อป้องการอุปกรณ์เสียหาย โดยฟิวล์จะเป็นเส้นลวดเล็ก ๆ ทำจากตะกั่วผสมดีบุก มีจุดหลอมเหลวที่ต่ำ มีหลายชนิดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของการใช้งาน ฟิวส์สนวงจร  จะต่อแบบอนุกรมเพื่อให้กระแสไฟไหลผ่านตัวของฟิวส์ได้โดยต้องไม่เกินความสามารถในตัวฟิวส์นั้นๆ เช่น ในวงจรภาคไฟ ต้องการให้กระแสไหลไม่เกิน 5 แอมเปร์ ก็เลือกใช้ฟิวส์ที่สามารถทนกระแสได้ 5 Amp เป็นต้น   หากว่าในวงจรมีการดึงกระแสไปใช้มากกว่าที่ตัวฟิวส์จสะทนได้  ฟิวส์ในวงจรก็จะขาด  นั่นย่อมส่งผลให้วงจรที่ต่อหลังฟิวส์ไม่สามารถทำงานได้นั่นเองครับ การตรวจเช็ค การตรวจเช็คดูว่า ฟิวส์ขาดหรือไม่ขาดนั้น ให้ทำในขณะที่เครื่องไม่ได้ถูกเสียบด้วยอะแดปเตอร์ หรือ แบตเตอรี่อยู่นะครับ   จากนั้น ตั้งมิเตอร์ไปที่ Rx1 วัดระหว่างหัวและท้ายของตัวฟิวห์นั้นๆ  หากไม่ขึ้น  นั่นแสดงว่าฟิวส์ขาดนะครั  ให้เพื่อนๆหามาเปลี่ยโดยสเป็คต้องไม่ตำ และหรือสูงเกินกว่าเดิมมากจนเกินไปครับ  หากตรวจเช็คได้เช่นนี้ เพือนๆก็จะสามารถซ่อมเครื่องในอาการไฟไม่จ่ายได้แล้วนะครับ

BIOS ตัวถังแบบต่างๆ

สวัสดีครับ  วันนี้ ขอนำภาพตัวถังของ IC Memory ที่เราเรียกกันว่ EEPROM มาให้ดูรูปแบบตัวถังกันนะครับ ว่ามันมีหลายลักษณะด้วยกัน  เวลาเพื่อนๆ เห็นมันในวงจรอิเล็คทรอนิคส์ เราจะได้เรียกมันถูกว่าเป็นแบบตัวถังแบบใด นะครับ  คงไม่ขอพูดอะไรมากกว่านี้  เอาเป็นรูปนำเสนอ ก็น่าจะ OK แล้วหละครับ  มีอะไรสงสัยก็เมล์สอบถามได้นะครับ

Continue reading

การดูตำแหน่งขาเริ่มต้นของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์

สวัสดีครับเพื่อนๆ สำหรับบทความในวันนี้ ผมขอนำวิธีการสังเกตุตำแหน่งของ IC Chip มาแนะนำกันนะครับ เพราะว่า แม้กระทั่งผมทำอยู่กับอุปกรณ์เหล่านี้ทุกๆวัน ก็ยังมีพลาดๆ หลงๆ(อาจอายุมากแล้วก็ได้นะ) ก็เลยคิดหัวข้อนี้มาแนะนำเพื่อนๆน้องใหม่ๆกัน(น้องเก่าๆเก่งกันแล้ว) ทำไมต้องนำมาพูดกัน ก็เพราะว่า ความเข้าใจและความคุ้นเคยของเพื่อนๆช่างน้องใหม่อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับการที่จะบอกได้ว่า จะต้องวางชิพอย่างไรให้ถูกมุมในตำแหน่งขาเริ่มต้น  ทั้งตัวของชิพและที่เมนบอร์ด  ซึ่งในส่วนผมแล้ว ก็เลยพยายามหารูปของชิพทีี่อยู่บนบอร์ดให้ได้มากที่สุด มาแนะนำกันไงครับ จากรูปในตำแหน่ง กรอบสี่เลี่ยมสีแดงเล็ก จะเป็นตำแหน่งขาเริ่มต้นของ Chip เมนบอร์ด  วางให้ตรงตำแหน่งนะครับจะได้ไม่พลาด

Continue reading

Clock Generator ตัวไอซีกำหนดสัญญาณนาฬิกา

สวัสดีครับเพื่อนๆ บทความงวดนี้ ผมนำเรื่อง IC Clock generator มาแนะนำให้รู้จักกันนะครับว่ามันคืออะไร  มีบทบาทอย่างไรบนเมนบอร์ดกันครับ   เริ่มต้น ต้องให้เพื่อนๆ รู้จักรูปหน้าตาของเจ้าไอซีตัวนี้กันก่อนครับ ว่าเราจะสังเกตุได้อย่างไรว่ามันเป็น  IC Clock gen การสังเกตุหา Clock Generator IC Clock Gen นี้ เพื่อนๆจะหามันได้บนเมนบอร์ดทั้งพีซี และโน๊ตบุ๊ค  โดยสังเกตุจากในรูปนะครับว่าจะมีอุปกรณ์อยู่ 2 ตัว  ซึ่งได้แก่ ตัวที่อยู่ด้านบนนะครับเป็น Cystal ที่ความถี่ 14.3 MHz และจากนั้นจะมีไอซี  64 ขา อยู่ข้างๆ  นั่นแหละครับเป็น IC Clock gen ที่เราต้องการหานั่นเอง  ยี่ห้อส่วนใหญ่ จะเป็นยี่ห้อ ICS , ยี่ห้อของ Realtek ก็มีนะครับเป็นเบอร์ที่ขึ้นต้นด้วย RTMxxx

Continue reading

จะเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊ค เพื่อนๆรู้จักอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ดีแล้วหรือยัง ?

สวัสดีครับเพื่อนๆ สำหรับบทความวันนี้ ผมได้รวบรวมชิ้นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์(component) ชิ้นเล็กๆ หลายๆตัวที่อยู่บนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค มาแนะนำกับเพื่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นที่เิริ่มเข้ามาเยี่ยมเยี่ยมและกำลังจะค้นคว้าหาข้อมูล เพื่อประกอบความรู้ สำหรับก้าวไปเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊คแบบเจาะลึก นะครับ  ส่วนเพื่อนๆช่างอิเล็คทรอนิคส์มืออาชีพที่แวะเข้ามา  ก็ช่วยเพิ่มเติมเนื้อหา และความรู้ให้กับเพื่อนๆท่านอื่นด้วยนะครับ เขียน comment ไว้เลยครับ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ที่อยู่ในรูปที่ผมนำมาโชว์นี้ ผมได้เก็บมาเรียงแล้วถ่ายภาพให้ดูกัน  แต่ก็ยังไม่ครบทุกชิ้นหรอกนะครับ  อะไรเป็นอะไรนั้น  เพื่อนๆต้องไปอ่านในหัวข้อการเรียนรู้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ ในบทความที่ผมได้เขียนไว้ด้วยนะครับ  เพราะตรงนั้นจะแบ่งกลุ่มเป็นหมวดหมู่ว่า อุปกรณ์อิเล็คฯชิ้นไหนที่เพื่อนๆควรต้องรู้จัก  เพื่อจะได้ตอบได้ว่าบนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คนั้น ตรงนั้นๆ เป็นตัวอะไร  มีหน้าที่อย่างไร  และมันจะดี จะเสียหรือเปล่า

Continue reading

ไดโอด (Diode)

สวัสดีครับเพื่อนๆ  สำหรับในวันนี้ผมได้นำความรู้ของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ชิ้นเล็กๆที่มีความสำคัญอีกชิ้นหนึ่ง  ที่มีบทบาทในการทำงานต่อวงจรอิเล็คทรอนิคส์อย่างมากเช่นกัน  และเป็นต้นฉบับในการนำมาสร้างเป็นสร้างกึ่งตัวนำประเภทต่างๆ เช่นทรานซิสเตอร์ แบบต่างๆ เป็นต้น ไดโอด(Diode) ถือเป็นอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ที่จำกัดทิศทางการไหลของประจุไฟฟ้า มันจะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลในทิศทางเดียว และกั้นการไหลในทิศทางตรงกันข้าม ดังนั้นจึงอาจถือว่าไดโอดเป็นวาล์วตรวจสอบแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ซึ่งนับเป็นประโยชน์อย่างมากในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ใช้เป็นเรียงกระแสไฟฟ้าในวงจรภาคจ่ายไฟ เป็นต้น ไดโอดตัวแรกเป็นอุปกรณ์หลอดสูญญากาศ (vacuum tube หรือ valves) แต่ทุกวันนี้ไดโอดที่ใช้ทั่วไปส่วนใหญ่ผลิตจากสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิกอน หรือ เจอร์เมเนียม ไดโอดเป็นอุปกรณ์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำ p-n สามารถควบคุมให้กระแสไฟฟ้าจากภายนอกไหลผ่านตัวมันได้ทิศทางเดียว ไดโอดประกอบด้วยขั้ว 2 ขั้ว คือ แอโนด (Anode; A) ซึ่งต่ออยู่กับสารกึ่งตัวนำชนิด p และ แคโธด (Cathode; K) ซึ่งต่ออยู่กับสารกึ่งตัวนำชนิด n ประเภทของไดโอด ซีเนอร์ไดโอด (Zener Diode) ซี เนอร์ไดโอดเป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่นำกระแสได้เมื่อได้รับไบอัสกลับ และระดับแรงดันไบอัสกลับที่นำซีเนอร์ไดโอดไปใช้งานได้เรียกว่า ระดับแรงดันพังทลายซีเนอร์ (Zener Breakdown …

Continue reading

SMD อิเล็คทรอนิคส์ขนาดเล็ก (Surface Mount Device)

สวัสดีครับเพื่อนๆ? สำหรับในวันนี้ผมได้นำเรื่องของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ชิ้นจิ๋ว ที่อยู่บนชิ้นงานอิเล็คทรอนิคส์ในปัจจุบัน มาแนะนำ ความรู้ตรงนี้ให้เพื่อนๆ ได้อ่านทำความเข้าใจกัน เพราะในการซ่อมโน๊ตบุ๊คนั้น อุปกรณ์เหล่านี้จัดเป็นสาระสำคัญบนแผ่นวงจรอย่างมากนะครับ SMD ย่อมาจาก Surface Mount Device หมายถึงอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ขนาดเล็ก เวลาจะนำไปใช้จะไม่มีขาที่จะเสียบลงไปในรูของแผ่นวงจร? แต่จะใช้การวางบนลงแผ่นวงจร ซึ่งมีตำแหน่งของตะกั่วรอรับไว้แล้ว และใช้เครื่องเป่าลมร้อน หรือ หัวแร้ง หรือเครื่องกลทางอุตสาหกรรมในการเชื่อมต่อขาเข้ากลับวงจร SMT ย่อมาจาก Surface Mount Technology ซึ่งหมายถึงเทคนิคการยึดอุปกรณ์บนผิว

Continue reading

Crystal (แร่ผลึกคริสตัล)

สวัสดีครับเพื่อนๆที่น่ารักทุกๆท่าน? สำหรับบทความครั้งนี้ผมขอนำอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ชิ้นเล็กบนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค หรือบนพีซี ที่มีความสำคัญต่อการทำงานของอุปกรณ์ชิ้นใหญ่ๆ หลายๆส่วนในเมนบอร์ดเลยก็ว่าได้นะครับ? อุปกรณ์ชิ้นนี้มีชื่อเรียกว่า crystal หรือ คริสดัล ?

Continue reading

ตัวต้านทาน ที่ใช้ในโน๊ตบุ๊ค (Resistor)

สวัสดีครับเพื่อนๆ สำหรับในวันนี้ ผมจะขอนำไปรู้จักอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ชิ้นเ็ล็กๆที่ใช้ในเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค และวงจรอิเล็คทรอนิคส์ต่าง ๆ นะครับ? ชิ้นอุปกรณ์นี้ถูกเรียกแบบไทยๆ ว่า ตัวต้านทาน หรือชื่อที่เรียกอย่างเป็นทางการก็คือ? Resistor ซึ่งหมายถึงอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ที่ใช้ในวงจร เพื่อทำการต้านการไหลของกระแสไฟฟ้า เพื่อให้ลดแทอนแรงเคลื่อน และกระแสไฟในวงจรได้นะครับ   ชนิดของตัวต้านทาน   ตัวต้านทานชนิดต่าง ๆ อาจจำแนกชนิดของตัวต้านทานได้หลายวิธี อาทิ แบ่งตามความสามารถในการปรับค่า จำแนกได้ออกเป็น ตัวต้านทานที่มีค่าคงที่ ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ (อาจจำแนกย่อยลงไปอีกว่า ปรับค่าได้โดยผู้ปรับ หรือ ปรับค่าได้ตามแสงสว่าง อุณหภูมิ ฯลฯ) แบ่งตามชนิดของวัสดุที่นำมาใช้ผลิตตัวต้านทาน เช่น ตัวต้านทานประเภทเซรามิก

Continue reading

ตัวเก็บประจุไฟฟ้า ในโน๊ตบุ๊ค (Capacitor)

สวัสดีครับเพื่อนๆ สำหรับในเดือนสิงหาคมนี้ ผมพยายามจะเขียนบทความเกี่ยวชิ้นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ต่างๆทั้งหมดที่อยู่ในเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค เพื่อเพื่อนๆ จะได้รู้จักและทราบวิธีการตรวจวัด หรือแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องนะครับ ตัวเก็บประจุทางไฟฟ้า ตัวเก็บประจุทางไฟฟ้า หรือ คาปาซิเตอร์ (Capacitor) หรือ คอนเดนเซอร์ (Condenser) แต่มักจะถูกเรียกแบบสั้นๆ ว่า ซี (C) เป็น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่พบกันมากในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ใช้ทำหน้าที่เก็บประจุไฟฟ้า (Charge) และคายประจุไฟฟ้า (Discharge) ถ้าเป็นทางระบบไฟฟ้าแล้วละก้อ ตัวเก็บประจุจะทำหน้าที่ให้กระแสไฟฟ้าเรียบ ไม่มี Ribble ไปรบกวนในวงจรทางไฟฟ้า? ทำให้วงจรทางไฟฟ้ามีความเสถียรในการทำงานอย่างมากนะครับ โครงสร้างของตัวเก็บประจุ ตัวเก็บประจุ มีคุณสมบัติทางประจุไฟฟ้า เกิดขึ้นได้จากการนำแผ่นโลหะ หรือ แผ่นสารตัวนำสองแผ่นวางอยู่ใกล้ ๆ กันแต่ไม่แตะถึงกัน โดยมีแผ่นไดอิเล็กตริกซึ่งมีลักษณะเป็นฉนวนกั้นอยู่ระหว่างแผ่นโลหะทั้งสอง ค่าความจุที่ได้จะขึ้นอยู่กับ พื้นที่ของแผ่นตัวนำและ ระยะห่างระหว่างแผ่นโลหะทั้งสอง ค่าความจุของตัวเก็บประจุ มีหน่วยเรียกเป็น ฟารัด (Farad) ไมโครฟารัด (m F) นาโนฟารัด (nF) ฟิกโกฟารัด (pF)  

Continue reading