Author's posts

รูปแบบขั้วไฟจากอะแดปเตอร์ ของ Notebook Toshiba

กาวแดง,กาวดำ,กาวใส,กาวขุ่น,กาวขาว ก็แล้วแต่ รอบตัวชิพ มีไว้ทำไม ?

สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ผมมาอัพเดรทข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องของกาวสีแดงๆที่อยู่รอบตัวชิพ  โดยเฉพาะแบบ BGA ดังตัวอย่างในรูปด้านล่างนี้  เขาเรียกกันว่าอะไร  ทำไว้เพื่ออะไร และเราจะเอาออกได้ด้วยวิธีใด กาวแดง,กาวดำ,กาวใส,กาวขุ่น,กาวขาว กาวแดงหรือที่จะเรียกให้ถูกต้องหน่อยก็จะถูกเรียกว่าเป็น อีพร๊อกซี่ (Epoxy) นั่นเอง  แน่นอนว่า กาวในตระกูลของอีพร๊อกซี่ทั้งหลายนั้น คุณสมบัติในเรื่องความแข็งแรงนั้นเป็นที่แน่นอนที่สุด มีความแข็งแกร่ง

Continue reading

ROM BIOS ของ Notebook เราอาจจะหาได้จากที่ไหนบ้าง ?

สวัสดีครับเพื่อนๆ ชาว repair-notebook.com วันนี้ผมเข้ามาอัพเดรทข้อมูลสัก 1 บทความ ซึ่งเป็นเรื่องของ ROM BIOS ที่เราใช้ๆ กัน ทั้งที่อยู่ในเครื่อง PC , Notebook และอื่นๆครับ ขึ้นหัวข้อว่า ROM BIOS เราจะหาได้จากที่ไหนบ้างนั้น… ผมได้ทำบทความนี้เพื่อให้เพื่อนๆ ช่าง ได้ไอเดีย ไหวพริบ และหรืออาจจะเป็นการแนะนำ เพื่อในโอกาสที่เพื่อนๆได้เจออุปกรณ์ต่างๆ นั้น แต่เราไม่ได้ใช้ประโยชน์จากมัน และจะทิ้งไป  ซึ่งหากว่าเราจะทิ้งมันไปนั้นให้พิจารณาดูว่า อุปกรณ์นั้น มีชิ้นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ตัวไหนบ้างที่เราอาจจะจำเป็นต้องใช้ในอนาคต  หรือคิดว่ามันน่าจะเป็นตัวตายตัวแทนกันได้นะครับ ผมกำลังจะเข้าเรื่องตรงนี้ว่า  ROM BIOS โน๊ตบุ๊ค นั้น ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน ก็มีวิวัฒนาการเปลี่ยนไปหลายๆแบบ  ซึ่งเพื่อนๆหลายท่านยังงงๆ หรือยังไม่รู้จักเลยด้วยซ้ำ  เคยเข้าไปอ่านบทความที่ผมเขียนไว้ก่อนหน้านี้กันบ้างหรือเปล่าครับ ลองคลิ๊กอ่านได้จากที่นี่ ROM BIOS มีพัฒนากันมาหลายชนิด จนในปัจจุบันตกอยู่ ROM ชนิด SPI Flash ที่มีตัวถัง แบบ …

Continue reading

เมื่อ Mosfet ในเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คช้อตจะเกิดอะไรขึ้น?

เมื่อ Mosfet transistor ที่อยู่บนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คที่เราซ่อมๆกันอยู่ เกิดการช้อตเกิดขึ้น  เป็นผลทำให้ระบบไฟในวงจรหยุดการทำงาน  ถ้ามอสเฟทตัวนั้นเป็นตัวที่รับไฟจากแหล่งจ่ายแล้วเกิดช้อตขึ้นมา มันเป็นผลทำให้ไฟจากแหล่งจ่ายหลัก เช่น 18 V.หายไป นั่นหมายถึงมันจะไม่มีการจ่ายไฟ 18 V.ไปเลี้ยงยังส่วนของวงจรภาคต่างๆ นั่นเอง แต่หากว่า mosfet ตัวนั้นเป็นตัวที่ต่ออยู่กับชุดไฟทางออกโวลท์ต่ำ  ก็จะเป็นผลทำให้ไฟโวลท์ต่ำชุดต่างๆนั้นไม่มีจ่ายเลี้ยงส่วนวงจรนั้นๆ แต่ไฟ 18V.แหล่งจ่ายยังคงมีเลี้ยงไปยังส่วนวงจรอื่นๆ ได้อยู่นะครับ  อันนี้ก็ต้องแล้วแต่ว่า Mosfet ตัวนั้นๆ ได้ไฟชุดใดจ่ายเข้าในตัวมันอยู่นะครับ คราวนี้เรามาดู clips นี้ เพื่อให้ได้รู้จักว่า เวลาวงจรมีการช้อต และตัวช้อตนั้นเกิดกับมอสเฟทหละก้อ  หากการช้อตเกิดขึ้นและเราปล่อยไว้นานๆ ก็อาจได้ผลดังรูปใน clips นั่นเองครับ แต่เพื่อนๆ เชื่อไม๋ครับ  ถ้าโชคดี  เมื่อเราถอด Fet ตัวที่ช้อตออก และใส่ตัวใหม่เข้าไป  วงจรในส่วนต่างๆ ทำงานได้ตามปรกติทันทีเลยก็มีนะครับ (กรณีนี้เจอมากด้วย)  

เรียนรู้การวัดแรงไฟ Stand by 3.3 และ 5 V. บนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค

สวัสดีครับเพื่อนๆ ชาว Repair-notebook.com เฉพาะคลิ๊ปในการสอนซ่อมทางเมนบอร์ดต่างๆ ที่ผมได้จัดขึ้นโดยตรงนี้ ผมขออนุญาติ ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวไว้ก่อนนะครับ เดี๋ยวปรับเปลี่ยนรายละเอียดเรียบร้อยแล้ว จะเปิดให้ชมกันนะครับ ส่วนรายละเอียดการอธิบาย  คงมอบให้แก่ทางคลิป เป็นผู้แจงรายละเอียดทั้งหมดก็แล้วกัน  เพื่อนสมาชิกท่านใด  ที่มีสิทธิ์เข้าชม มีอะไรจะติชม ก็แจ้งเพิ่มเข้ามาได้ครับ ต้องขออภัย เพื่อนๆสมาชิก หลายๆท่านครับ เฉพาะ Clip การเรียนนี้ ขอสงวนสิทธิ์ เฉพาะผู้ที่สมัครเข้าเรียนซ่อมเชิงลึกทางไกล กับทางทีมงาน Repair-Notebook ผ่านสื่อ Online นะครับ

วัด Pluse (พลั้นส์) ที่ขา 2 ของ BIOS เพื่อตรวจสอบการทำงาน

เพื่อนๆชาว repair-notebook ทุกท่าน ผมได้นำคลิป ที่ได้จัดทำขึ้น เพื่อให้เพื่อนๆที่เข้ามาอ่าน มาทำความเข้าใจกันว่า ในการซ่อมโน๊ตบุ๊คนั้น หากลงลึกถึงการซ่อมเมนบอร์ดกันแล้ว สิ่งที่เราต้องทำการตรวจวัด ที่ไม่ควรพลาดก็คือเรื่องของความถี่ หรือหลายๆท่านอาจเรียกกันว่าพลั้นส์ (Pluse) จากคลิปที่ได้ทำให้ดูนี้ ทำขึ้นเพื่อให้เพื่อนๆทราบว่า ในการที่เราจะบอกว่าโน๊ตบุ๊ค เครื่องทำงานหรือยัง หรือติดขัดอยู่ตรงขั้นตอนไหนของการทำงาน เราสามารถที่จะวิเคราะห์ได้โดยดูจากรูปการทำงานที่สโคป ถึงแม้เราอาจจะใช้สโคปกันแบบในระดับไม่เต็มคุณภาพ 100% แต่เราก็ได้ประโยชน์จากการใช้สโคป มากกว่าการใช้ Debug card อีกหลายๆกรณีนะครับ ให้ควมเข้าใจใน Clip Video จากรูปในคลิป จะเห็นว่า รูปคลื่นความถี่ที่ปรากฎบนสโคป จะมีการฟูประมาณ 5 ครั้ง ซึ่งในจังหวะนี้ผมได้หันกล้องไปทางจอ LCD เพื่อสื่อให้เพื่อนๆเห็นว่า การทำงานที่ครบประมาณ 5 -6 ครั้ง แล้วแต่ยี่ห้อ นั้นจะสามารถบอกเราได้ว่า ตอนนี้ภาพปรากฎแล้วนะ แต่หากภาพยังไม่ปรากฏอีก เราก็อาจต้องไปตรวจสอบด้านสัญญาณภาพ หรือตรวจสอบทาง Output จอภาพกันต่อไปอีกสเต็ปครับ ผมจะเรียกมันว่า “Pluse วิ่งแล้ว” และไม่ควรวิ่งอยู่แค่ 1หรือ …

Continue reading

เริ่มต้นเรียนรู้ การซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค กับ Clips การสอนซ่อม

สำหรับบทความรู้ในวันนี้ ผมได้ทำคลิปความรู้ทั่วๆไปบนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คให้กับเพื่อนๆได้รับชมกัน โดยเฉพาะเพื่อนๆทีเป็น user ผู้ใช้ทั่วไป ได้รับรู้กันโดยในระดับที่ว่า บนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค มีองค์ประกอบใดบ้าง เพื่อจะได้เข้าใจและไขข้อสงสัยในระดับหนึ่งกับการที่เพื่อนๆยังอาจไม่เคยได้เห็นกับ เมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค รวมถึง รายละเอียดต่างๆ ที่ควรทราบ จากคลิปที่ผมได้ทำนี้ เพื่อเป็นพื้นฐานเท่านั้นครับ เพราะฉะนั้น เพื่อนๆ ชาวช่างซ่อมโน๊ตบุ๊ค ระดับมืออาชีพ อาจจะไม่โดนใจ..มากนัก แต่เดี๋ยวทางผมจะจัดหนักให้นะครับ ตอนนี้กำลังทำคลิปหลายส่วนออกมาโดยตรง แล้วครับ ส่วนในเรื่องที่เพื่อนๆให้ความสนใจในการสอบถามเรื่องการสอนซ่อมโน๊ตบุ๊ค ที่ทางทีมงาน repair-notebook จัดสอนอยู่นั้น ถ้ายังมีความสนใจอยู่ ก็เมล์ หรือโทรสอบถามกันเข้ามาได้นะครับ สำหรับช่วง ณ เวลานี้ ก็ดูจากคลิปไปพลางๆก่อน และอย่าลืมอ่านบทความต่างๆ ของทาง repair ให้หมดนะครับ จะได้คุยกันรู้เรื่องมากขึ้น ขอบคุณครับ  

การถอด NEC-TOKIN ที่อยู่ใต้ Socket CPU โดยให้ความร้อนจากทางด้านใต้ของบอร์ด

คำเตือน..เครื่องมือที่ใช้ถอดตามวีดีโอนี้ เป็นเครื่องรุ่น R5860 หัวลมร้อน ล่าง บน  หากเป็นเครื่องมืออื่นที่ไม่ใช่หัวลมร้อน ล่างบน อาจเกิดความเสียหายตาม Socket CPU ได้ จึงแจ้งมาเพื่อทราบนะครับ สวัสดีครับเพื่อนๆที่รักทุกท่าน  หายกันไปนานครับสำหรับการเพิ่มบทความดีๆมีความรู้เข้าสู่เว๊ป repair-notebook  อาจจะไม่ค่อยจะมีเวลาเตรียมเอกสารในการเขียนมากนัก  เลยทำให้ช่วงหลังๆนี้ บทความรู้ต่างๆไม่ค่อยจะมีเพิ่ม  ซึ่งตรงนี้ในส่วนตัวผมเองก็ทราบดี   แต่ผมก็คงไม่ทิ้งเว๊ป repair-notebook นี้ไปหรอกครับ  ยังไงแล้ว ก็จะต้องมีบทความอัพเดรทกันใหม่ๆ ให้ตลอดไปเรื่อยๆ นั่นแหละครั     สำหรับในวันนี้  หากผมไม่พูดก็คงจะไม่ได้แล้วหละครับสำหรับเรื่องของ NEC-TOKIN ซึ่งเป็นชื่อที่ปรากฎอยู่บนตัวอุปกรณ์ที่ถูกเรียกว่า Condensor ชนิด Poardlizer ผลิตโดยบริษัท nec-tokin ครับ ตัวนี้ทำหน้าที่ในการกรองกระแสไฟให้แก่ CPU ให้เรียบที่สด  มีองค์ประกอบของ Condensor ชนิดต่างๆ อยู่ภายในตัว  ทั้งประเภท Fast speed  low speed ก็นั่นแหละครับ  เขาออกแบบมาเพื่อให้เป็น Packetes เดียวเพื่อสะดวกต่อการซ่อมแซม …

Continue reading

รูปคลื่นความถี่ของ Cystal 14.3 MHz

cystal 14.3 MHz จะสร้างความถี่จ่ายให้แก่ IC Clock gererator เพื่อกระจายความถี่ที่แยกย่อยออกไปเลี้ยงยังตัววงจรในส่วนต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้ cystal ป้อนโดยตรง  ในตัว cystal จะเป็นแค่ตัวสังเคราะห์ความถี่ตามระบุที่ตัวมันออกไปป้อนให้แก่ IC ต่างๆที่จำเป็นต้องใช้  เช่น clock generator ที่จะใช้ cystal 14.3 MHz. (ดูเรื่อง cystal,clockgenerator ในบทความที่ผมได้เขียนๆไว้เพิ่มเติมนะครับ) IO controller ใช้ cystal 32.768 MHz ,เป็นต้น ดูกันไว้ว่า การตรวจวัดความถี่ของcystal นั้นจะทำให้เราได้ข้อสรุปว่า ขณะนั้น cystal ได้ทำงานแล้ว  และได้ความถี่ตรงตามที่ระบุ  เอาง่ายๆว่า อุปกรณ์ทุกๆชนิดนั้น ต้องอาศัยสัญญาณนาฬิกาในการทำงานแทบทั้งสิ้น  การนำภาพของการวัดความถี่ของ cystal 14.3 MHz มาแสดงนี้ ไม่ใช่ว่าจะทำให้ให้เพื่อนๆไม่ได้รับความรู้ใดๆ   แต่ผมอาจถามกลับไปยังเพื่อนๆว่า ทราบได้ว่าไรว่า cystal 14.3 MHz ทำงานแล้ว …

Continue reading

BootMGR is missing windows7

สวัสดีครับเพื่อนๆสมชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่าน วันนี้ผมขอแทรกบทความเป็นทางด้านระบบปฏิบัติการสักเรื่องนะครับ เรื่องมันมีอยู่เกิดขึ้นเพราะว่าเครื่องคอมของเราเองที่ลงวินโดว์7 ไว้ เกิด บูตไม่เข้าและขึ้นตัวหนังสือ”ว่า BOOTMGR is missing”ตรงนี้แหละครับที่ต้องขอแทรกความรู้นี้เข้ามาเพื่อสมาชิกบางท่านที่กำลังเจอกับปัญหานี้พอดี  จะได้ทำการแก้ปัญหาเหล่านี้โดยไม่ต้องลงวินโดว์กันใหม่ครับ

Continue reading