วัด Pluse (พลั้นส์) ที่ขา 2 ของ BIOS เพื่อตรวจสอบการทำงาน

  • เพื่อนๆชาว repair-notebook ทุกท่าน ผมได้นำคลิป ที่ได้จัดทำขึ้น เพื่อให้เพื่อนๆที่เข้ามาอ่าน มาทำความเข้าใจกันว่า ในการซ่อมโน๊ตบุ๊คนั้น หากลงลึกถึงการซ่อมเมนบอร์ดกันแล้ว สิ่งที่เราต้องทำการตรวจวัด ที่ไม่ควรพลาดก็คือเรื่องของความถี่ หรือหลายๆท่านอาจเรียกกันว่าพลั้นส์ (Pluse)
  • จากคลิปที่ได้ทำให้ดูนี้ ทำขึ้นเพื่อให้เพื่อนๆทราบว่า ในการที่เราจะบอกว่าโน๊ตบุ๊ค เครื่องทำงานหรือยัง หรือติดขัดอยู่ตรงขั้นตอนไหนของการทำงาน เราสามารถที่จะวิเคราะห์ได้โดยดูจากรูปการทำงานที่สโคป ถึงแม้เราอาจจะใช้สโคปกันแบบในระดับไม่เต็มคุณภาพ 100% แต่เราก็ได้ประโยชน์จากการใช้สโคป มากกว่าการใช้ Debug card อีกหลายๆกรณีนะครับ

ให้ควมเข้าใจใน Clip Video

  • จากรูปในคลิป จะเห็นว่า รูปคลื่นความถี่ที่ปรากฎบนสโคป จะมีการฟูประมาณ 5 ครั้ง ซึ่งในจังหวะนี้ผมได้หันกล้องไปทางจอ LCD เพื่อสื่อให้เพื่อนๆเห็นว่า การทำงานที่ครบประมาณ 5 -6 ครั้ง แล้วแต่ยี่ห้อ นั้นจะสามารถบอกเราได้ว่า ตอนนี้ภาพปรากฎแล้วนะ แต่หากภาพยังไม่ปรากฏอีก เราก็อาจต้องไปตรวจสอบด้านสัญญาณภาพ หรือตรวจสอบทาง Output จอภาพกันต่อไปอีกสเต็ปครับ
    ผมจะเรียกมันว่า “Pluse วิ่งแล้ว” และไม่ควรวิ่งอยู่แค่ 1หรือ 2 แต่ควรจะวิ่งหลายๆ ครั้ง ซึ่งหากเรายังไม่มีการต่อจอภายใน หรือภายนอก การทำการวัดเช่นนี้ ก็ทำให้เรารู้สึกว่า โน๊ตบุ๊คของเรามันมีชีวิตมีวา แล้วนะ…ไม่ใช่ว่า  พอกด Power Sw ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของ Pluse ใดๆ เลยอย่างนี้เป็นต้น
  • สำหรับตรงนี้ ก็ให้เพื่อนๆ ดูคลิปนะครับ มีอะไรสงสัย หรืออยากแนะนำติชม ก็เขียนเข้ามาได้ครับ

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published.