Author's posts

ไดโอด (Diode)

สวัสดีครับเพื่อนๆ  สำหรับในวันนี้ผมได้นำความรู้ของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ชิ้นเล็กๆที่มีความสำคัญอีกชิ้นหนึ่ง  ที่มีบทบาทในการทำงานต่อวงจรอิเล็คทรอนิคส์อย่างมากเช่นกัน  และเป็นต้นฉบับในการนำมาสร้างเป็นสร้างกึ่งตัวนำประเภทต่างๆ เช่นทรานซิสเตอร์ แบบต่างๆ เป็นต้น ไดโอด(Diode) ถือเป็นอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ที่จำกัดทิศทางการไหลของประจุไฟฟ้า มันจะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลในทิศทางเดียว และกั้นการไหลในทิศทางตรงกันข้าม ดังนั้นจึงอาจถือว่าไดโอดเป็นวาล์วตรวจสอบแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ซึ่งนับเป็นประโยชน์อย่างมากในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ใช้เป็นเรียงกระแสไฟฟ้าในวงจรภาคจ่ายไฟ เป็นต้น ไดโอดตัวแรกเป็นอุปกรณ์หลอดสูญญากาศ (vacuum tube หรือ valves) แต่ทุกวันนี้ไดโอดที่ใช้ทั่วไปส่วนใหญ่ผลิตจากสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิกอน หรือ เจอร์เมเนียม ไดโอดเป็นอุปกรณ์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำ p-n สามารถควบคุมให้กระแสไฟฟ้าจากภายนอกไหลผ่านตัวมันได้ทิศทางเดียว ไดโอดประกอบด้วยขั้ว 2 ขั้ว คือ แอโนด (Anode; A) ซึ่งต่ออยู่กับสารกึ่งตัวนำชนิด p และ แคโธด (Cathode; K) ซึ่งต่ออยู่กับสารกึ่งตัวนำชนิด n ประเภทของไดโอด ซีเนอร์ไดโอด (Zener Diode) ซี เนอร์ไดโอดเป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่นำกระแสได้เมื่อได้รับไบอัสกลับ และระดับแรงดันไบอัสกลับที่นำซีเนอร์ไดโอดไปใช้งานได้เรียกว่า ระดับแรงดันพังทลายซีเนอร์ (Zener Breakdown …

Continue reading

เรียนซ่อมโน๊ตบุ๊คกันยังไงดี ถึงจะเป็น(How Do you Repair Notebook)

สวัสดีครับเืพื่อนๆ สำหรับวันนี้ผมขอทำบทความเกี่ยวกับเรื่องของการทีเ่ราจะเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊คในส่วนของชิ้นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์กันนะครับ? ว่าเราจะมีแนวทางกันยังไงกันบ้าง สำหรับเืพื่อนที่เป็นมือใหม่หัดขับ สำหรับการเป็นช่างซ่อมโน๊ตบุ๊คนั้น ในแนวความคิดของผมนั้น ผมมองว่า เพื่อนๆ จะต้องศึกษาด้านไฟฟ้า อิเล็คทรอนิคส์?? และเคยซ่อมเครือง พีซีมาก่อนด้วยหละก้อจะดีเลยทีเดียว แล้วจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ถึงจะเข้าใจและทำได้หละ? ครับผม..สำหรับคำถามนี้ผมตอบได้ว่า? กรณีที่เราไม่มีความรู้ด้านไฟฟ้า และอิเล็คทรอนิคส์ที่ดีพอ? ก็จะทำให้เราไม่สามารถที่จะเข้าใจในส่วนอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ต่างๆ ที่อยู่บนตัวของ Parts อุปกรณ์ฺนั้นๆนะครับ??? สิ่งที่ผมมองก็คือว่า? เพื่อนๆ ต้องสามารถที่จะรู้จักอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ ต่างให้ดีโดยชิ้นอิเล็คทรอนิคส์นั้นเพื่อนๆจะต้องสามารถตอบได้ว่า คืออะไร จะวัดอย่างไร ว่าเป็นอุปกรณ์อะไร? และจะรู้ได้อย่างไรว่าดีหรือเสียในเวลานั้น? หรืออาจต้องตอบได้ว่า ถ้าไฟที่ก่อนผ่านมีเท่าไหร่ และผ่านตัวอุปกรณ์เหลือเท่าไหร่ และวัดได้ไม๊ ถ้าวัดไม่ได้ มันหมายความว่าอย่างไร?? หรือหากอุปกรณ์อิเล็คชิ้นหนึ่งมีการวัดที่ขึ้นทั้งสองครั้งในการวัด(สลับสายวัดของมิเตอร์)เพื่อนๆจะตอบได้อย่างไรว่าอุปกรณืนั้นดีหรือเสีย? เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผมให้ความสำคัุญมากนะครับ? เวลาเพื่อนๆมีปัญหา? ผมจะต้องถามไปเสมอว่า? เป็นนักอิเล็คทรอนิคส์หรือไม่่? เรพาะถ้าไม่เป็น เพื่อนๆ อาจจะไม่สามารถกระทำได้อย่างปลอดภัย หรืออาจเสีียหายมากกว่าเดิมนะครับ อันนี้ต้องทำความเข้าใจกัน

Continue reading

ไบออส คืออะไร ? Notebook BIOS

สวัสดีครับเืพื่อนๆ? วันนี้ผมได้นำเรื่องเกี่ยวกับไบออสมาพูดกันอีกแล้วครับ คราวนี้เรามารู้จักความหมายของไบออสกันอีกครั้ง และเรามาดูกันว่า เจ้าตัวไบออสในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรามันอยู่ตรงไหนกันบ้าง.. และหน้าตาเป็นอย่างไรกัน ไบออส (ฺBIOS ) คืออะไร ไบออส คือ โปรแกรมชุดแรกที่ CPU เรียกใช้ในการประมวลผลนะครับ ซึ่งจะมีหน้าที่ในตรวจความสมบูรณ์ของฮาร์ดแวร์ต่างๆ ของเครื่อง? เช่น CPU,RAM ,VGA ,HDD,Optica Drive และอื่นๆ? ซึ่งโดยทั่วไปของความสำคัญแล้ว? ไบออสจะทำการตรวจ CPU,RAM,VGA หากครบถ้วนสมบูรณ์ ก็จะทำให้เกิดภาพที่หน้าจอได้นะครับ?? หาก? แต่หากไม่คบถ้วนสมบูรณ์และเกิดปัญหาในอุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่ง ก็จะทำให้ไม่เกิดภาพ? ซึ่งในส่วนของช่างนั้น? หากได้ทำการเปลี่ยน CPU,RAM,VGA แล้วยังไม่เกิดภาพอีก? ช่างก็จะมองที่ส่วนของฮาร์ดแวร์? ซึ่งก็จะต้องมองที่ ไบออสก่อน โดยการนำไบออสยี่ห้อ,รุ่นเดียวกันมาทำการเปลี่ยน เพื่อดูผล? หากยังไม่เกิด และได้ทำการทดสอบ CPU,RAM,VGA เรียบร้อยแล้ว ว่าใช้งานได้ดีไม่เสียแล้ว? ช่างก็จะต้องมองที่ เมนบอร์ดครับ? ซึ่งครวนี้ก้จะต้องมองในส่วนของชิ้นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์? โดยการต้องเปลี่ยนชิพที่มีปัญหานั้นๆ ครับ

Continue reading

SMD อิเล็คทรอนิคส์ขนาดเล็ก (Surface Mount Device)

สวัสดีครับเพื่อนๆ? สำหรับในวันนี้ผมได้นำเรื่องของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ชิ้นจิ๋ว ที่อยู่บนชิ้นงานอิเล็คทรอนิคส์ในปัจจุบัน มาแนะนำ ความรู้ตรงนี้ให้เพื่อนๆ ได้อ่านทำความเข้าใจกัน เพราะในการซ่อมโน๊ตบุ๊คนั้น อุปกรณ์เหล่านี้จัดเป็นสาระสำคัญบนแผ่นวงจรอย่างมากนะครับ SMD ย่อมาจาก Surface Mount Device หมายถึงอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ขนาดเล็ก เวลาจะนำไปใช้จะไม่มีขาที่จะเสียบลงไปในรูของแผ่นวงจร? แต่จะใช้การวางบนลงแผ่นวงจร ซึ่งมีตำแหน่งของตะกั่วรอรับไว้แล้ว และใช้เครื่องเป่าลมร้อน หรือ หัวแร้ง หรือเครื่องกลทางอุตสาหกรรมในการเชื่อมต่อขาเข้ากลับวงจร SMT ย่อมาจาก Surface Mount Technology ซึ่งหมายถึงเทคนิคการยึดอุปกรณ์บนผิว

Continue reading

IO Controller Notebook หัวใจการควบคุมภาคไฟและอื่นๆ

สวัสดีครับเพื่อนๆทุกท่าน   สำหรับในบทความวันนี้ ผมได้นำ Chip Interface ตัวหนึ่งมาพูดถึงกัน เพื่อให้ทราบถึงคุณสมบัติ และรู้จักหน้าตาของ Chipนี้กันนะครับ เพราะจะมีความสำคัญต่อการทำงานต่างๆ ในคอมพิวเตอร์เรา ทั้ง พีซี และโน๊ตบุ๊คเลยหละครับ I/O Multicontroller เป็นชุดควบคุมอุปกรณ์หลายส่วนงานด้วยกัน เช่น Port DB25, COM1, Floppy, และรวมถึงยังเป็นตัวสั่งออนไฟของเครื่องด้วยครับ  ถ้าตัวนี้พัง เราคงดูลักษณะอาการที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ในส่วนที่เชื่อมต่อกับ I/O สิครับ  เช่น  Floppy Driv ใช้ไม่ได้ , ปริ้นเตอร์ พรอต ใช้ไม่ได้ ฯลฯ อะไรประมาณนี้ครับ  เราก็ต้องดูอุปกรณ์พื้นฐานรอบข้างก่อนครับ เพื่อจะได้ทราบว่า มีการช้อต , ขาด  ,รั่ว อย่างไรบ้าง เช่น ทรานซิสเตอร์ , ไดโอด ,คอนเดนเซอร์ , เฟท นะครับ  ถ้าพื้นฐานไม่ปรากฏตัวเสีย ก็คงต้องมองที่ …

Continue reading

ผ่า ..ฮาร์ดดิสก์โน๊ตบุ๊ค ชำแหละดูโครงสร้างภายใน

สวัสครับเพื่อนๆ สำหรับวันนี้ผมได้นำเรื่องที่เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างภายในตัวของฮาร์ดดิสก์โน๊ตบุ๊คมาโชว์ภายในกันครับ? เพราะว่าเพื่อนๆ หลายท่านอาจยังไม่เคยได้แกะฮาร์ดดิสก์เล่นกัน เนื่องจากอาจยังไม่มีฮาร์ดดิสก์ที่ไม่ได้ใช้งาน หรือมีความเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้กัน? ผมก็เลยขออาสา? ทำงานนี้แทนเพื่อนๆ นะครับ สำหรับฮาร์ดดิสก์โน๊ตบุ๊คนั้น ก็ไม่มีความแตกต่างกับฮาร์ดดิสก์แบบของ PC กันแต่อย่างใดมากนัก? เท่าที่เห็นๆ ก็คงจะเป็นขนาดที่ฮาร์ดดิสก์ของโน๊ตบุ๊คมีขนาดเล็กกว่า ฮาร์ดดิสก์แบบ PC ทั่วๆ ไป?? ในความเหมือนนั้นก็จะมีในเรื่องของ Interface (ตำแหน่งเชื่อมต่อสายสัญญาณ)? ที่ถูกเรียกเป็น แบบ P-ATA? และ อีกชนิดจะเรียกว่า S-ATA ซึ่งแบบหลังนี้จะได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนะครับ? เพราะจะมีความเร็วรอบที่สูงกว่า และอีกเรื่องที่สำคัญ? ก็คือเรื่องของอัตราการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างฮาร์ดดิสก์ กับชุดควบคุม? ซึ่งฮาร์ดดิสก์แบบ S-ATA จะมีอัตราสูงถึง 300 MB/Sec?? แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์แบบ P-ATA แบบเก่าที่กำลังค่อยๆหมดจากท้งตลาดนั้นจะมีอัตรความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่สูงสุดที่ 133 MB/Sec

Continue reading

Crystal (แร่ผลึกคริสตัล)

สวัสดีครับเพื่อนๆที่น่ารักทุกๆท่าน? สำหรับบทความครั้งนี้ผมขอนำอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ชิ้นเล็กบนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค หรือบนพีซี ที่มีความสำคัญต่อการทำงานของอุปกรณ์ชิ้นใหญ่ๆ หลายๆส่วนในเมนบอร์ดเลยก็ว่าได้นะครับ? อุปกรณ์ชิ้นนี้มีชื่อเรียกว่า crystal หรือ คริสดัล ?

Continue reading

Invalid system disk Replace the disk,and then press any key แก้ยังไง ?

สวัสดีครับเืพื่อนๆที่น่ารักทุกๆท่าน? สำหรับในวันนี้ ผมได้นำบทความเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาทางซอฟแวร์ระบบของวินโดว์มาแนะนำ? เนื่องจากมีเพื่อนๆ หลายๆ ท่านได้เขียนเมล์มาถาม เพื่อเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจพร้อมๆกันโดยทีเดียว? เพื่อนๆหลายๆ ท่านก็จะได้รับความรู้ตรงนี้ด้วยนะครับ?? อาการและปัญหาที่เพื่อนถามมาก็คือ พอเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมา ก็จะไม่สามารถเข้าสู่การบูตเ้ข้าสู่ระบบปฏิบัติการวินโดว์ได้? โดยมีข้อความสีขาวๆ ในหน้าจอพื้นดำ ว่า Invalid system disk Replace the disk,and then press any key การวิเคราะห์ปัญหา อาจเกิดจากไบออสยังไม่สามารถ Detect Harddisk ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องได้ อาจเกิดจากกรณีที่ไบออส ได้ Detect Harddisk ได้แล้ว แต่ในตัวฮาร์ดดิสก์ไม่มีระบบปฏิบัติการ หรือระบบปฏิบัติการล่ม (เสียหาย) ก็เป็นไปได้ อาจเกิดจากฮาร์ดดิสก์ ยังไม่ได้ Set Active (กรณีที่อาจใช้ Utility อื่น สร้าง Partition)

Continue reading

ตัวต้านทาน ที่ใช้ในโน๊ตบุ๊ค (Resistor)

สวัสดีครับเพื่อนๆ สำหรับในวันนี้ ผมจะขอนำไปรู้จักอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ชิ้นเ็ล็กๆที่ใช้ในเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค และวงจรอิเล็คทรอนิคส์ต่าง ๆ นะครับ? ชิ้นอุปกรณ์นี้ถูกเรียกแบบไทยๆ ว่า ตัวต้านทาน หรือชื่อที่เรียกอย่างเป็นทางการก็คือ? Resistor ซึ่งหมายถึงอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ที่ใช้ในวงจร เพื่อทำการต้านการไหลของกระแสไฟฟ้า เพื่อให้ลดแทอนแรงเคลื่อน และกระแสไฟในวงจรได้นะครับ   ชนิดของตัวต้านทาน   ตัวต้านทานชนิดต่าง ๆ อาจจำแนกชนิดของตัวต้านทานได้หลายวิธี อาทิ แบ่งตามความสามารถในการปรับค่า จำแนกได้ออกเป็น ตัวต้านทานที่มีค่าคงที่ ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ (อาจจำแนกย่อยลงไปอีกว่า ปรับค่าได้โดยผู้ปรับ หรือ ปรับค่าได้ตามแสงสว่าง อุณหภูมิ ฯลฯ) แบ่งตามชนิดของวัสดุที่นำมาใช้ผลิตตัวต้านทาน เช่น ตัวต้านทานประเภทเซรามิก

Continue reading

ตัวเก็บประจุไฟฟ้า ในโน๊ตบุ๊ค (Capacitor)

สวัสดีครับเพื่อนๆ สำหรับในเดือนสิงหาคมนี้ ผมพยายามจะเขียนบทความเกี่ยวชิ้นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ต่างๆทั้งหมดที่อยู่ในเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค เพื่อเพื่อนๆ จะได้รู้จักและทราบวิธีการตรวจวัด หรือแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องนะครับ ตัวเก็บประจุทางไฟฟ้า ตัวเก็บประจุทางไฟฟ้า หรือ คาปาซิเตอร์ (Capacitor) หรือ คอนเดนเซอร์ (Condenser) แต่มักจะถูกเรียกแบบสั้นๆ ว่า ซี (C) เป็น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่พบกันมากในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ใช้ทำหน้าที่เก็บประจุไฟฟ้า (Charge) และคายประจุไฟฟ้า (Discharge) ถ้าเป็นทางระบบไฟฟ้าแล้วละก้อ ตัวเก็บประจุจะทำหน้าที่ให้กระแสไฟฟ้าเรียบ ไม่มี Ribble ไปรบกวนในวงจรทางไฟฟ้า? ทำให้วงจรทางไฟฟ้ามีความเสถียรในการทำงานอย่างมากนะครับ โครงสร้างของตัวเก็บประจุ ตัวเก็บประจุ มีคุณสมบัติทางประจุไฟฟ้า เกิดขึ้นได้จากการนำแผ่นโลหะ หรือ แผ่นสารตัวนำสองแผ่นวางอยู่ใกล้ ๆ กันแต่ไม่แตะถึงกัน โดยมีแผ่นไดอิเล็กตริกซึ่งมีลักษณะเป็นฉนวนกั้นอยู่ระหว่างแผ่นโลหะทั้งสอง ค่าความจุที่ได้จะขึ้นอยู่กับ พื้นที่ของแผ่นตัวนำและ ระยะห่างระหว่างแผ่นโลหะทั้งสอง ค่าความจุของตัวเก็บประจุ มีหน่วยเรียกเป็น ฟารัด (Farad) ไมโครฟารัด (m F) นาโนฟารัด (nF) ฟิกโกฟารัด (pF)  

Continue reading