Category: Hard Disk Drive

ผ่า ..ฮาร์ดดิสก์โน๊ตบุ๊ค ชำแหละดูโครงสร้างภายใน

สวัสครับเพื่อนๆ สำหรับวันนี้ผมได้นำเรื่องที่เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างภายในตัวของฮาร์ดดิสก์โน๊ตบุ๊คมาโชว์ภายในกันครับ? เพราะว่าเพื่อนๆ หลายท่านอาจยังไม่เคยได้แกะฮาร์ดดิสก์เล่นกัน เนื่องจากอาจยังไม่มีฮาร์ดดิสก์ที่ไม่ได้ใช้งาน หรือมีความเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้กัน? ผมก็เลยขออาสา? ทำงานนี้แทนเพื่อนๆ นะครับ สำหรับฮาร์ดดิสก์โน๊ตบุ๊คนั้น ก็ไม่มีความแตกต่างกับฮาร์ดดิสก์แบบของ PC กันแต่อย่างใดมากนัก? เท่าที่เห็นๆ ก็คงจะเป็นขนาดที่ฮาร์ดดิสก์ของโน๊ตบุ๊คมีขนาดเล็กกว่า ฮาร์ดดิสก์แบบ PC ทั่วๆ ไป?? ในความเหมือนนั้นก็จะมีในเรื่องของ Interface (ตำแหน่งเชื่อมต่อสายสัญญาณ)? ที่ถูกเรียกเป็น แบบ P-ATA? และ อีกชนิดจะเรียกว่า S-ATA ซึ่งแบบหลังนี้จะได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนะครับ? เพราะจะมีความเร็วรอบที่สูงกว่า และอีกเรื่องที่สำคัญ? ก็คือเรื่องของอัตราการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างฮาร์ดดิสก์ กับชุดควบคุม? ซึ่งฮาร์ดดิสก์แบบ S-ATA จะมีอัตราสูงถึง 300 MB/Sec?? แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์แบบ P-ATA แบบเก่าที่กำลังค่อยๆหมดจากท้งตลาดนั้นจะมีอัตรความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่สูงสุดที่ 133 MB/Sec

Continue reading

เรื่องของฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk Drive)

สวัสดีครับเพื่อนๆ สำหรับในวันนี้ ผมจะขอนำเสนอเกี่ยวกับเรื่องของฮาร์ดดิสก์นะครับ? ซึ่งเป็นเรื่องที่จะพูดเกี่ยวกับชนิด รายละเอียดต่างๆ ที่ควรทราบ? และที่พลาดไม่ได้สำหรับสิ่งที่ผมชอบทำก็คือ การผ่าให้เห็นโครงสร้างแบบชัดๆ ในฮาร์ดดิสก์กันครับ ดู HardDisk กันยังไง เพื่อนๆครับ? การที่เราได้ฮาร์ดดิสก์มา 1 ตัว หรือเราได้ทำการเปิดเครื่องโน๊ตบุ๊คหรือ พีซี ออกมาดูตรงตำแหน่งของฮาร์ดดิสก์? เราจะบอกรายละเอียดอะไรได้บ้างหละครับ? มาตรงนี้…ผมจะแนะนำวิธีการให้ทราบครับ รูปแบบการเชื่อมต่อ?จะแบบ P-ATA? หรือ? S-ATA แบบ P-ATA รูปแบบการเชื่อมต่อนี้ จะเป็นฮาร์ดดิสก์ที่ใช้กันมาตั้งแต่ดั้งเดิมเลยนะครับ มีการรับส่งข้อมูลแบบขนาน? มีอัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ในระดับ 33 ,66,100 และ 133 MB./sec ซึ่งตั้งแต่ปี 2552 ก็ค่อยๆจางลงในในตลาดคอมพิวเตอร์ เนื่องจากมีรุ่นการเชื่อมต่อแบบใหม่เข้ามาแทน สำหรับในโน๊ตบุ๊ควันนี้ยังพอมีใช้กันอยู่ครับ

Continue reading

การกู้ข้อมูลฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk Recovery)

สวัสดีครับเพื่อนๆ? วันนี้ผมได้นำบทความเกี่ยวกับ ฮาร์ดดิสก์มาเสริมขั้นรายการ? ซึ่งจะว่าไปแล้ว ว่าเกี่ยวกับการซ่อมโน๊ตบุ๊คไม๊เนี่ยะ…ก็ต้องขอตอบตรงนี้ครับว่า เกี่ยวแน่นอน …ความต้องการของเพื่อนๆ และทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ผมเข้าใจเจตนาและความต้องการว่า น่าจะมองไปที่การซ่อมในส่วนเมนบอร์ด และส่วนองค์ประกอบลึกๆ ซึ่งตรงนั้นก็ถือว่าถูกต้องครับ? แต่องค์ประกอบอื่นๆ โดยเฉพาะฮาร์ดิสก์ ก็ต้องควรรรับรู้ด้วยครับ ฮาร์ดดิสก์ไหม้ กรณีที่ 1 Chip บน Control Board ไหม้ สามารถกู้ข้อมูลได้ โดยการซ่อมแซม Control Board ให้ใช้งานได้ กรณีที่ 2 ฮาร์ดดิสก์ถูกเผาไหม้ จะสามารถทำการกู้ข้อมูลได้ หากจานเก็บข้อมูล (Platter) ยังไม่บิดงอ การกู้ข้อมูลกลับได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับ ความเสียหายบนจานเก็บข้อมูล บอร์ดเสีย ความหมายของคำว่าบอร์ดเสียก็หมายถึง แผงวงจรด้านใต้ของตัวฮาร์ดดิกส์ อาจมีการช้อต ไหม้? ดังนั้น? หากเราทำการนำแผงวงจร ชองยี่ห้อ , รุ่น เดียวกัน ใส่แทน ก็จะสามารถกู้คืนได้ หรืออาจต้องทำการซ่อมแซม ซึ่งอาจต้องใช้เครื่องมือและความรู้เฉพาะด้าน

Continue reading

เทคนิคการกู้ข้อมูล

สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ผมขออนุญาตนำบทความที่มีประโยชน์ จากแหล่งข้อมูลอื่นมาแนะนำนะครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฮาร์ดดิสก์ซึ่งถือเป็นขุมข้อมูลในเครื่องคอมเราเลย เป็นอะไรที่มีความสำคัญในเรื่องของข้อมูลกับเรามากๆ เรื่องที่นำมานี้เป็นเรื่อง เทคนิค และวิธีการ หรือเรียกว่า Tipsเคล็ดลับเกี่ยวกับการดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์ครับ ทิป 1. ระวังฮาร์ดดิสก์ของท่าน เมื่อเกิดกรณีดังนี้ เปิดเครื่องแล้ว เข้า Windows ช้ามาก ๆ (ค้างอยู่หน้าต่าง Windows นาน/เหมือนเช็คอะไรบางอย่างอยู่นาน) ฮาร์ดดิสก์มีเสียง เช่น เสียงแก๊ก ๆ เสียงหมุนเร็ว ๆ ฟิ้วส์ ๆ ย้ายเครื่องไปทำงานที่อื่นโดยไม่มีอะไรซับแรงกระแทกเครื่อง ฮาร์ดดิสก์จะมีการสั่น/โยกสูง (โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์ที่ขันน็อตยึดไม่แน่น บ่อยครั้งที่ช่างคอมพิวเตอร์ขันน๊อตให้ท่านเพียงตัวเดียวหรือสองตัว ทั้ง ๆ ที่ควรขันให้ครบ 4 ตัว) เมื่อเปิดเครื่องทำงานให้ตั้งใจฟังเสียงฮาร์ดดิสก์ตามข้อ 2 ให้ดี ฮาร์ดดิสก์หล่น หรือกระแทก หากท่านประสบกรณีดังกล่าวนี้ อย่าฝืนใช้ต่อไป ให้รีบสำรองหรือย้ายข้อมูลทันที เพราะเสี่ยงมาก ๆที่ฮาร์ดดิสก์ท่านจะเสียและอาจเอาข้อมูลออกไม่ทัน

Continue reading