รูปแบบขั้วไฟจากอะแดปเตอร์ ของ Notebook Toshiba


กาวแดง,กาวดำ,กาวใส,กาวขุ่น,กาวขาว ก็แล้วแต่ รอบตัวชิพ มีไว้ทำไม ?

  • สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ผมมาอัพเดรทข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องของกาวสีแดงๆที่อยู่รอบตัวชิพ  โดยเฉพาะแบบ BGA ดังตัวอย่างในรูปด้านล่างนี้  เขาเรียกกันว่าอะไร  ทำไว้เพื่ออะไร และเราจะเอาออกได้ด้วยวิธีใด

กาวแดง,กาวดำ,กาวใส,กาวขุ่น,กาวขาว

  • กาวแดงหรือที่จะเรียกให้ถูกต้องหน่อยก็จะถูกเรียกว่าเป็น อีพร๊อกซี่ (Epoxy) นั่นเอง  แน่นอนว่า กาวในตระกูลของอีพร๊อกซี่ทั้งหลายนั้น คุณสมบัติในเรื่องความแข็งแรงนั้นเป็นที่แน่นอนที่สุด มีความแข็งแกร่ง

Continue reading

ROM BIOS ของ Notebook เราอาจจะหาได้จากที่ไหนบ้าง ?

  • สวัสดีครับเพื่อนๆ ชาว repair-notebook.com วันนี้ผมเข้ามาอัพเดรทข้อมูลสัก 1 บทความ ซึ่งเป็นเรื่องของ ROM BIOS ที่เราใช้ๆ กัน ทั้งที่อยู่ในเครื่อง PC , Notebook และอื่นๆครับ

ขึ้นหัวข้อว่า ROM BIOS เราจะหาได้จากที่ไหนบ้างนั้น…

  • ผมได้ทำบทความนี้เพื่อให้เพื่อนๆ ช่าง ได้ไอเดีย ไหวพริบ และหรืออาจจะเป็นการแนะนำ เพื่อในโอกาสที่เพื่อนๆได้เจออุปกรณ์ต่างๆ นั้น แต่เราไม่ได้ใช้ประโยชน์จากมัน และจะทิ้งไป  ซึ่งหากว่าเราจะทิ้งมันไปนั้นให้พิจารณาดูว่า อุปกรณ์นั้น มีชิ้นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ตัวไหนบ้างที่เราอาจจะจำเป็นต้องใช้ในอนาคต  หรือคิดว่ามันน่าจะเป็นตัวตายตัวแทนกันได้นะครับ
  • ROM BIOS มีพัฒนากันมาหลายชนิด จนในปัจจุบันตกอยู่ ROM ชนิด SPI Flash ที่มีตัวถัง แบบ DIP-8 และ SO-IC8 ซึ่งเราสามารถที่ลองหารอมเหล่านี้ได้จากอุปกรณ์ต่างๆ ดังตัวอย่างด้านล่างนี้

ROM ที่อยู่ในแผงเมนบอร์ดของ DVD RW

  • ROM ที่อยู่ในเครื่องอ่าน Optical Drive ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น CD,DVD,DVD-RW  อุปกรณ์เหล่ามีมีรอมควบคุมอยู่ทั้งสิ้น  ลองแกะออกมาดูเล่นๆสิครับ (ถือว่าถอดออกมาทำความสะอาดก็ได้) รอมจะมีอยู่ที่เมนบอร์ดของอุปกรณ์เหล่านั้น ดังรูป

 

Continue reading

เมื่อ Mosfet ในเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คช้อตจะเกิดอะไรขึ้น?

  • เมื่อ Mosfet transistor ที่อยู่บนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คที่เราซ่อมๆกันอยู่ เกิดการช้อตเกิดขึ้น  เป็นผลทำให้ระบบไฟในวงจรหยุดการทำงาน  ถ้ามอสเฟทตัวนั้นเป็นตัวที่รับไฟจากแหล่งจ่ายแล้วเกิดช้อตขึ้นมา มันเป็นผลทำให้ไฟจากแหล่งจ่ายหลัก เช่น 18 V.หายไป นั่นหมายถึงมันจะไม่มีการจ่ายไฟ 18 V.ไปเลี้ยงยังส่วนของวงจรภาคต่างๆ นั่นเอง
  • แต่หากว่า mosfet ตัวนั้นเป็นตัวที่ต่ออยู่กับชุดไฟทางออกโวลท์ต่ำ  ก็จะเป็นผลทำให้ไฟโวลท์ต่ำชุดต่างๆนั้นไม่มีจ่ายเลี้ยงส่วนวงจรนั้นๆ แต่ไฟ 18V.แหล่งจ่ายยังคงมีเลี้ยงไปยังส่วนวงจรอื่นๆ ได้อยู่นะครับ  อันนี้ก็ต้องแล้วแต่ว่า Mosfet ตัวนั้นๆ ได้ไฟชุดใดจ่ายเข้าในตัวมันอยู่นะครับ
  • คราวนี้เรามาดู clips นี้ เพื่อให้ได้รู้จักว่า เวลาวงจรมีการช้อต และตัวช้อตนั้นเกิดกับมอสเฟทหละก้อ  หากการช้อตเกิดขึ้นและเราปล่อยไว้นานๆ ก็อาจได้ผลดังรูปใน clips นั่นเองครับ
  • แต่เพื่อนๆ เชื่อไม๋ครับ  ถ้าโชคดี  เมื่อเราถอด Fet ตัวที่ช้อตออก และใส่ตัวใหม่เข้าไป  วงจรในส่วนต่างๆ ทำงานได้ตามปรกติทันทีเลยก็มีนะครับ (กรณีนี้เจอมากด้วย)


 

เรียนรู้การวัดแรงไฟ Stand by 3.3 และ 5 V. บนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค

  • สวัสดีครับเพื่อนๆ ชาว Repair-notebook.com เฉพาะคลิ๊ปในการสอนซ่อมทางเมนบอร์ดต่างๆ ที่ผมได้จัดขึ้นโดยตรงนี้ ผมขออนุญาติ ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวไว้ก่อนนะครับ เดี๋ยวปรับเปลี่ยนรายละเอียดเรียบร้อยแล้ว จะเปิดให้ชมกันนะครับ
  • ส่วนรายละเอียดการอธิบาย  คงมอบให้แก่ทางคลิป เป็นผู้แจงรายละเอียดทั้งหมดก็แล้วกัน  เพื่อนสมาชิกท่านใด  ที่มีสิทธิ์เข้าชม มีอะไรจะติชม ก็แจ้งเพิ่มเข้ามาได้ครับ

ต้องขออภัย เพื่อนๆสมาชิก หลายๆท่านครับ เฉพาะ Clip การเรียนนี้ ขอสงวนสิทธิ์ เฉพาะผู้ที่สมัครเข้าเรียนซ่อมเชิงลึกทางไกล กับทางทีมงาน Repair-Notebook ผ่านสื่อ Online นะครับ

วัด Pluse (พลั้นส์) ที่ขา 2 ของ BIOS เพื่อตรวจสอบการทำงาน

  • เพื่อนๆชาว repair-notebook ทุกท่าน ผมได้นำคลิป ที่ได้จัดทำขึ้น เพื่อให้เพื่อนๆที่เข้ามาอ่าน มาทำความเข้าใจกันว่า ในการซ่อมโน๊ตบุ๊คนั้น หากลงลึกถึงการซ่อมเมนบอร์ดกันแล้ว สิ่งที่เราต้องทำการตรวจวัด ที่ไม่ควรพลาดก็คือเรื่องของความถี่ หรือหลายๆท่านอาจเรียกกันว่าพลั้นส์ (Pluse)
  • จากคลิปที่ได้ทำให้ดูนี้ ทำขึ้นเพื่อให้เพื่อนๆทราบว่า ในการที่เราจะบอกว่าโน๊ตบุ๊ค เครื่องทำงานหรือยัง หรือติดขัดอยู่ตรงขั้นตอนไหนของการทำงาน เราสามารถที่จะวิเคราะห์ได้โดยดูจากรูปการทำงานที่สโคป ถึงแม้เราอาจจะใช้สโคปกันแบบในระดับไม่เต็มคุณภาพ 100% แต่เราก็ได้ประโยชน์จากการใช้สโคป มากกว่าการใช้ Debug card อีกหลายๆกรณีนะครับ

ให้ควมเข้าใจใน Clip Video

  • จากรูปในคลิป จะเห็นว่า รูปคลื่นความถี่ที่ปรากฎบนสโคป จะมีการฟูประมาณ 5 ครั้ง ซึ่งในจังหวะนี้ผมได้หันกล้องไปทางจอ LCD เพื่อสื่อให้เพื่อนๆเห็นว่า การทำงานที่ครบประมาณ 5 -6 ครั้ง แล้วแต่ยี่ห้อ นั้นจะสามารถบอกเราได้ว่า ตอนนี้ภาพปรากฎแล้วนะ แต่หากภาพยังไม่ปรากฏอีก เราก็อาจต้องไปตรวจสอบด้านสัญญาณภาพ หรือตรวจสอบทาง Output จอภาพกันต่อไปอีกสเต็ปครับ
    ผมจะเรียกมันว่า “Pluse วิ่งแล้ว” และไม่ควรวิ่งอยู่แค่ 1หรือ 2 แต่ควรจะวิ่งหลายๆ ครั้ง ซึ่งหากเรายังไม่มีการต่อจอภายใน หรือภายนอก การทำการวัดเช่นนี้ ก็ทำให้เรารู้สึกว่า โน๊ตบุ๊คของเรามันมีชีวิตมีวา แล้วนะ…ไม่ใช่ว่า  พอกด Power Sw ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของ Pluse ใดๆ เลยอย่างนี้เป็นต้น
  • สำหรับตรงนี้ ก็ให้เพื่อนๆ ดูคลิปนะครับ มีอะไรสงสัย หรืออยากแนะนำติชม ก็เขียนเข้ามาได้ครับ

 

 

เริ่มต้นเรียนรู้ การซ่อมเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค กับ Clips การสอนซ่อม

  • สำหรับบทความรู้ในวันนี้ ผมได้ทำคลิปความรู้ทั่วๆไปบนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊คให้กับเพื่อนๆได้รับชมกัน โดยเฉพาะเพื่อนๆทีเป็น user ผู้ใช้ทั่วไป ได้รับรู้กันโดยในระดับที่ว่า บนเมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค มีองค์ประกอบใดบ้าง เพื่อจะได้เข้าใจและไขข้อสงสัยในระดับหนึ่งกับการที่เพื่อนๆยังอาจไม่เคยได้เห็นกับ เมนบอร์ดโน๊ตบุ๊ค รวมถึง รายละเอียดต่างๆ ที่ควรทราบ
  • จากคลิปที่ผมได้ทำนี้ เพื่อเป็นพื้นฐานเท่านั้นครับ เพราะฉะนั้น เพื่อนๆ ชาวช่างซ่อมโน๊ตบุ๊ค ระดับมืออาชีพ อาจจะไม่โดนใจ..มากนัก แต่เดี๋ยวทางผมจะจัดหนักให้นะครับ ตอนนี้กำลังทำคลิปหลายส่วนออกมาโดยตรง แล้วครับ
  • ส่วนในเรื่องที่เพื่อนๆให้ความสนใจในการสอบถามเรื่องการสอนซ่อมโน๊ตบุ๊ค ที่ทางทีมงาน repair-notebook จัดสอนอยู่นั้น ถ้ายังมีความสนใจอยู่ ก็เมล์ หรือโทรสอบถามกันเข้ามาได้นะครับ สำหรับช่วง ณ เวลานี้ ก็ดูจากคลิปไปพลางๆก่อน และอย่าลืมอ่านบทความต่างๆ ของทาง repair ให้หมดนะครับ จะได้คุยกันรู้เรื่องมากขึ้น ขอบคุณครับ

 

การถอด NEC-TOKIN ที่อยู่ใต้ Socket CPU โดยให้ความร้อนจากทางด้านใต้ของบอร์ด

  • คำเตือน..เครื่องมือที่ใช้ถอดตามวีดีโอนี้ เป็นเครื่องรุ่น R5860 หัวลมร้อน ล่าง บน  หากเป็นเครื่องมืออื่นที่ไม่ใช่หัวลมร้อน ล่างบน อาจเกิดความเสียหายตาม Socket CPU ได้ จึงแจ้งมาเพื่อทราบนะครับ

  • สวัสดีครับเพื่อนๆที่รักทุกท่าน  หายกันไปนานครับสำหรับการเพิ่มบทความดีๆมีความรู้เข้าสู่เว๊ป repair-notebook  อาจจะไม่ค่อยจะมีเวลาเตรียมเอกสารในการเขียนมากนัก  เลยทำให้ช่วงหลังๆนี้ บทความรู้ต่างๆไม่ค่อยจะมีเพิ่ม  ซึ่งตรงนี้ในส่วนตัวผมเองก็ทราบดี   แต่ผมก็คงไม่ทิ้งเว๊ป repair-notebook นี้ไปหรอกครับ  ยังไงแล้ว ก็จะต้องมีบทความอัพเดรทกันใหม่ๆ ให้ตลอดไปเรื่อยๆ นั่นแหละครั
  •  

     

  • สำหรับในวันนี้  หากผมไม่พูดก็คงจะไม่ได้แล้วหละครับสำหรับเรื่องของ NEC-TOKIN ซึ่งเป็นชื่อที่ปรากฎอยู่บนตัวอุปกรณ์ที่ถูกเรียกว่า Condensor ชนิด Poardlizer ผลิตโดยบริษัท nec-tokin ครับ ตัวนี้ทำหน้าที่ในการกรองกระแสไฟให้แก่ CPU ให้เรียบที่สด  มีองค์ประกอบของ Condensor ชนิดต่างๆ อยู่ภายในตัว  ทั้งประเภท Fast speed  low speed ก็นั่นแหละครับ  เขาออกแบบมาเพื่อให้เป็น Packetes เดียวเพื่อสะดวกต่อการซ่อมแซม (เอ้อ…แล้วทำไมออกแบบมาแล้วต้องให้มานั่งซ่อมกันอีกนะ..) ปรกติที่ใต้ฐานซีพียูนั้น ในเมนบอร์ดหลายๆยี่ห้อที่ไม่ได้ใช้ NEC-TOKIN เราจะเห็น C ตัวเล็กวางเรียงกันอยู่มากว่า 30 ตัว  ซึ่งนั่นแหละครับ  มันต่อขนานกันอยู่  เพื่อให้ได้ความจุสูง (แต่ละตัวของ C ที่อยู่ใต้ฐาน CPU นั้น ความจุต่อตัว ประมาณ 10 uF และก็มี C ตัวความจุสูงอีกประมาณ 3-4 ตัว ที่วางอยู่ อาจจะด้านใน และหรือด้านนอก)
  • การออกแบบนั้นเพื่อให้ C ตัวใหญ่ที่มีความจุสูง แล้วนำมาขนานกันจะได้ความจุสูงขึ้น เช่น C ตัวใหญ่ 1 ตัวความจุ 330 uF ขนานกัน 4 ตัว จะได้ความจุ 1200 uF และ ขนานกับ C ตัวเล็ก ความจุตัวละ 10 uF อีก 30 ตัว จะได้ความจุรวมของ C ตัวเล็กเท่ากับ 300uF ก็จะทำให้มีความจุของ C ใต้ฐาน CPU รวมเท่ากับ ความจุรวมของ C ตัวใหญ่ บวก กับ ความจุรวมของ C ตัวเล็ก ซึ่งจะได้เท่ากับ 1200 + 300 uF = 1500 uF  นั่นเองครับ
  • เมื่อความจุ หรือคุณภาพของ C มีความบกพร่องลง เช่น เสื่อมค่า ความจุ ลด  หรือช้อต  ก็จะมีผลต่อการทำงานในด้านการกรองกระแสไฟที่จะไปเลี้ยง CPU ซึ่งจะมีผลต่างๆ นาๆ ที่เราอาจจะได้เคย ได้ยิน เช่น เข้าวินโดว์แล้ว ค้าง   เข้าวินโดว์แล้วเครื่องดับ  เข้า วินโดว์แล้ว Restart ตัวเอง หรือที่เจอกันในโน๊ตบุ๊ค ก็จะเป็นเครื่องในยี่ห้อ Toshiba ที่นิยมใช้ NEC-TOKIN กันมากที่สุด  อาการสุดฮิตของเขาก็คือ  ใช้งานด้วยแบตเตอรี่ ก็ราบรื่นดีตลอด  แต่พอเสียบ Adaptor จ่ายไฟให้โน๊ตบุ๊ค เครื่องอาจจะเกิด จอลาย หรือดับไปเลยก็มีให้เจอกันบ่อยๆนะครับ
  • รายละเอียดเกี่ยวกับ NEC-TOKIN หาอ่านได้จากที่นี่เพิ่มเติมครับ

รูปนี้ให้ทาฟลั๊กครีม รอบๆตัวของ NEC-TOKIN

Continue reading

รูปคลื่นความถี่ของ Cystal 14.3 MHz

  • cystal 14.3 MHz จะสร้างความถี่จ่ายให้แก่ IC Clock gererator เพื่อกระจายความถี่ที่แยกย่อยออกไปเลี้ยงยังตัววงจรในส่วนต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้ cystal ป้อนโดยตรง  ในตัว cystal จะเป็นแค่ตัวสังเคราะห์ความถี่ตามระบุที่ตัวมันออกไปป้อนให้แก่ IC ต่างๆที่จำเป็นต้องใช้  เช่น clock generator ที่จะใช้ cystal 14.3 MHz. (ดูเรื่อง cystal,clockgenerator ในบทความที่ผมได้เขียนๆไว้เพิ่มเติมนะครับ) IO controller ใช้ cystal 32.768 MHz ,เป็นต้น

  • ดูกันไว้ว่า การตรวจวัดความถี่ของcystal นั้นจะทำให้เราได้ข้อสรุปว่า ขณะนั้น cystal ได้ทำงานแล้ว  และได้ความถี่ตรงตามที่ระบุ  เอาง่ายๆว่า อุปกรณ์ทุกๆชนิดนั้น ต้องอาศัยสัญญาณนาฬิกาในการทำงานแทบทั้งสิ้น  การนำภาพของการวัดความถี่ของ cystal 14.3 MHz มาแสดงนี้ ไม่ใช่ว่าจะทำให้ให้เพื่อนๆไม่ได้รับความรู้ใดๆ   แต่ผมอาจถามกลับไปยังเพื่อนๆว่า ทราบได้ว่าไรว่า cystal 14.3 MHz ทำงานแล้ว วิธีการที่ดีที่สุดที่จะทราบได้อย่างชัดเจนเลยก็คือต้องใช้ออสซิลโลสโคปเป็นตัวตัววัดไงครับ   ดังนั้น  การซ่อมโน๊ตบุ๊ค หรืออุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์อื่นๆ ที่อาศัยความถี่ในการทำงานนั้น   เพื่อนๆจะต้องมีออสซิลโลสโคป  หรือ เจ้า สโคป นี้แหละไว้ใช้งานอีกเครื่องหนึ่งไงครับ…

ที่นี้ใครที่เคยพูดไว้ว่ามันไม่มีความจำเป็น  มันไม่สำคัญ ต้องไปวัดทำไม มันไม่ใช่ตำแหน่งวัด ตำแหน่งตรวจเช็ค เอามาเขียนไว้ทำไม  …คุณก็พิจารณาเอาเอง ว่า วันนี้คุณได้นำสิ่งที่ผมพูดไปพูดต่อด้วยหรือเปล่า…ผมฝากไว้เท่านี้ นะครับเพื่อนๆ

BootMGR is missing windows7

  • สวัสดีครับเพื่อนๆสมชิกชาว repair-notebook.com ทุกท่าน วันนี้ผมขอแทรกบทความเป็นทางด้านระบบปฏิบัติการสักเรื่องนะครับ เรื่องมันมีอยู่เกิดขึ้นเพราะว่าเครื่องคอมของเราเองที่ลงวินโดว์7 ไว้ เกิด บูตไม่เข้าและขึ้นตัวหนังสือ”ว่า BOOTMGR is missing”ตรงนี้แหละครับที่ต้องขอแทรกความรู้นี้เข้ามาเพื่อสมาชิกบางท่านที่กำลังเจอกับปัญหานี้พอดี  จะได้ทำการแก้ปัญหาเหล่านี้โดยไม่ต้องลงวินโดว์กันใหม่ครับ

Continue reading